หากไม่มีอะไรผิดพลาด ในวันที่ 11 เดือน 11 (พฤศจิกายน)
เวลา 11.00 น. บริการฟรีอินเทอร์เน็ต ของบริษัทฟรีไอเน็ตจะเปิดให้บริการ
อย่างเป็นทางการ ท่ามกลางกระแสของความไม่เชื่อว่า บริการฟรีอิน เทอร์เน็ตจะเกิดขึ้นได้ในเมืองไทย
เพราะ ยังมีข้อจำกัดออยู่มากในเรื่องของโฆษณาบนอินเทอร์เน็ต และต้นทุนค่าเช่าวงจรต่างประเทศ
แต่สำหรับบริษัทฟรีไอเน็ตแล้ว สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่เงื่อนไขสำคัญ "เราเชื่อว่า
มีความเป็นไปได้ เพราะทุกคนอยากใช้อินเทอร์เน็ต" กอบศักดิ์ ชินวงศ์วัฒนา
ประธานกรรมการบริหาร บริษัทฟรีไอเน็ต
ความเชื่อของผู้บริหารฟรีไอเน็ต มาจากเงื่อนไขของการเป็นผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตขององค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย
ที่เปิดให้บริการเอกชนเข้าร่วมดำเนินการ เพื่อให้บริการอินเทอร์เน็ต ผ่านโครงข่าย
IP network (Internet Protocal Nework) ที่สามารถรองรับกับการให้บริการโทรศัพท์ทางไกลราคาประหยัด
และบริการอินเทอร์เน็ต ที่คิดบริการ อัตราเดียวกันได้ทั่วประเทศ
การใช้ประโยชน์จากโครงข่าย IP network จะเป็นใบเบิกทางชั้นดี ในการทำธุรกิจฟรีอินเทอร์เน็ต
ด้วย โครงข่าย ที่จะให้ลูกค้าสามารถโทรติดต่อกับศูนย์อินเทอร์เน็ต ในอัตรา
3 บาทต่อครั้ง ไม่ว่าจะออยู่จังหวัดใด ก็ตาม ไม่ต้องเสียค่าโทรศัพท์ทางไกล
ผู้ให้บริการไม่ต้องลงทุนติดตั้ง Node ตามต่างจังหวัด เหมือนกับไอเอสพีในค่ายของการสื่อสารแห่งประเทศไทย
(กสท.) ที่ต้องลงทุนสร้าง Node ในต่างจังหวัด เพื่อ ให้ลูกค้าสามารถโทรเข้ามาใช้บริการได้ในอัตราครั้งละ
3 บาท
อย่างที่รู้ว่า โครงสร้างการลงทุนของไอเอสพีในฟากของกสท. จะมี 2 ส่วนหลัก
คือ การสร้าง node ในต่างจังหวัด และต้นทุนมากกว่าครึ่งของไอเอสพีเหล่านี้ถูกใช้ไปกับ
ค่าเช่าวงจรต่างประเทศ ไอเอสพีจึงต้องใช้วิธีเพิ่มวงจรไปตามจำนวนผู้ใช้ ไม่สามารถลงทุนล่วงหน้าได้
แต่ข้อจำกัดเหล่านี้ กลับไม่ได้เป็นอุปสรรคของไอเอสพีในฟากของ ทศท. ที่มีต้นทุนเพียงแค่การเช่า
โครงข่าย IP network ที่จะครอบคลุมบริการทั่วประเทศ และยังถูกเชื่อมต่อไป
ยังประเทศมาเลเซีย เพื่อเป็นประตูในการ เชื่อมโยงกับเครือข่ายในสหรัฐอเมริกา
ทำให้ต้นทุนในการเช่าโครงข่าย IP net-work จะมีอัตราถูกกว่าการเช่าวงจรต่างประเทศจาก
กสท. และนี่คือ สาเหตุที่ ทำให้มีผู้ยื่นขอสัมปทาน 26 ราย ในจำนวนไอเอสพีรายเดิมในฟากของกสท.
เงินลงทุนประมาณ 200 ล้านบาท ของฟรีไอเน็ต จะใช้ไปกับการติดตั้งอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์
และซอฟต์แวร์ เพื่อใช้ สร้าง network operation center เพื่อ รองรับลูกค้าประมาณ
2.4 ล้านรายที่เหลือจะจ่ายเป็นการเช่ารายเดือนโครงข่าย IP network
ความยากในการทำธุรกิจฟรีอินเทอร์เน็ต สำหรับผู้บริหารของบริษัทฟรีไอเน็ต
ไม่ใช่เรื่องของสัมปทาน แต่ออยู่ ที่การขอซื้อลิขสิทธิ์มาจากบริษัทฟรีไอ
เน็ต สหรัฐอเมริกา ที่กอบศักดิ์บอกว่าต้องเจรจากันหลายรอบ เพื่อสร้างความมั่นใจว่า
บริษัทตั้งใจลงทุนจริง เพราะนี่คือ know how ของการทำธุรกิจ ที่จะครอบคลุมการทำธุรกิจซอฟต์แวร์
และสิทธิในการเปิดให้บริการใน 5 ประเทศ คือ ไทย มาเลเซีย บรูไน อินโดนีเซีย
และ สิงคโปร์
บริษัทฟรีไอเน็ต เป็นผู้ให้บริการ อันดับ 2 ของสหรัฐอเมริกา มีลูกค้า 4
ล้านราย และออยู่ระหว่างรวมกิจการกับบริษัท netzero อันดับ 1 ซึ่งทำให้เงื่อน
ไขการเจรจาขอลิขสิทธิ์ของบริษัทฟรีไอเน็ตแบบมีระยะเวลา กลายเป็นการซื้อสิทธิขาด
"ไอเอสพีไม่ใช่คู่แข่งของเรา" คำกล่าวของกอบศักดิ์ เพื่อบอกว่าโครงสร้างรายได้ของธุรกิจฟรีอินเทอร์เน็ตไม่ได้มาจากค่าบริการ
access เหมือนกับไอเอสพีทั่วไป มีลักษณะเดียวกับธุรกิจ "สื่อ" ที่จะมีรายได้มาจาก
3 ทาง คือ ค่าโฆษณา การขาย content และ อี-คอมเมิร์ซ
ตามแผนที่ฟรีไอเน็ตวางไว้ ก็คือ การแจกซีดีให้ลูกค้าใช้อินเทอร์เน็ต 1
ล้านราย ภายในปี 2544 เพื่อเป็นการ ปูพรมสร้างฐานลูกค้าก่อนเป็นอันดับ แรก
ด้วยยอดผู้ใช้บริการ 1 ล้านราย บวกกับข้อได้เปรียบในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายเฉพาะเจาะจงได้ดีกว่า
เป็นสิ่งที่กอบชัยเชื่อว่า จะสามารถแข่งขันกับสื่อเก่าอย่างทีวี
ฟรีไอเน็ตจะไม่ใช้วิธีให้ลูกค้ากรอกประวัติส่วนตัว ชื่อ ที่ออยู่ เบอร์โทรศัพท์เหมือนกับเว็บไซต์อื่นๆ
แต่จะให้ลูกค้าตอบคำถามเกี่ยวกับงานอดิเรก ที่ชอบ ซึ่งเขาเชื่อว่า จะทำให้ลูกค้าร่วมมือดีกว่า
และจะใช้ประโยชน์ทางการตลาดที่จะเข้าถึงพฤติกรรมของลูกค้าได้มากกว่า
รายได้จากโฆษณา ส่วนแรกจะมาจากโฆษณาบนหน้าเว็บไซต์ freinet. co.th เพราะทุกครั้ง
ที่ลูกค้าจะใช้บริการฟรีไอเน็ตจะต้องเปิดเข้าไป ที่หน้าเว็บไซต์ ก่อน
แผ่นซีดี 1 ล้านแผ่น จะถูกใช้เป็น "สื่อ" สำหรับโฆษณาในอีกรูปแบบหนึ่ง บริษัท
ที่ต้องการโฆษณาสินค้า และบริการบนแผ่นซีดี รวมถึงรับโปรโมตเพลง ด้วยการบรรจุเพลงตัวอย่างลงในแผ่นซีดี
ที่ใช้แจกลูกค้า
การเปิดตัวบริษัทฟรีไอ เพื่อผลิต และจำหน่ายเทป ซีดี วีซีดี ดีวีดี เพลง
ไปเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม จึงเป็นส่วนของธุรกิจ content จะนำมาเสริมธุรกิจฟรีอินเทอร์เน็ต
ขณะเดียวกันธุรกิจฟรีอินเทอร์เน็ตจะถูกนำมาใช้ประโยชน์กับธุรกิจขาย เทป ซีดี
และวีซีดีในอีกทางหนึ่ง
วิธีหารายได้ของธุรกิจฟรีไอเน็ตจึงเป็นเรื่องของการตลาด การหา แง่มุมใหม่ๆ
จากบริการนำมาสร้างรายได้ เช่น บริการอีเมล chat room แต่นั่นยังเป็นเรื่องธรรมดา
เพราะฟรีไอเน็ตสามารถให้บริการ private label เป็นบริการสำหรับลูกค้าองค์กรธุรกิจ
ที่ต้องการมีบริการอินเทอร์เน็ตให้กับลูกค้าเป็นของตัวเองเปรียบเสมือนเป็นไอเอสพีรายหนึ่ง
โดยสามารถ มาเช่าใช้ระบบของฟรีไอเน็ตในการให้บริการ
ถึงแม้จะยังไม่สามารถบอกได้ว่า ฟรีไอเน็ต จะสามารถมีรายได้จากโฆษณา และรูปแบบบริการเหล่านี้หรือเตรียมความพร้อมในเรื่องบริการได้พอเพียงกับบริการ
พอ ที่จะทำให้ธุรกิจไปถึงจุดคุ้มทุน ที่วางไว้ ภายใน 3 ปีหรือไม่
แต่ ที่แน่ๆ การใช้ประโยชน์จากโครงข่าย IP network ที่สามารถให้บริการ IP
Telephony บริการโทรศัพท์ ภายในประเทศราคาประหยัด ที่ ทศท. เพิ่งเปิดตัวไปในชื่อบริการ
Y-tel 1234 และยังให้บริการ Internet Telephony เป็นบริการใช้โทรศัพท์ หรือโทรสารผ่าน
โครงข่ายบริการอินเทอร์เน็ต แต่จะต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ต่อร่วมเข้ากับสาย
โทรศัพท์ และมีโมเด็ม
ธุรกิจ ที่ต่อเนื่องของฟรีไอเน็ต ก็คือ การนำเข้าเครื่องลูกข่าย internet
telephony เครื่องลูกข่ายยี่ห้ออัลคาเทล มาให้บริการเป็น Internet telephony
ในราคา 18,000-30,000 บาท การใช้งาน จะเหมือนกับการใช้เครื่องพีซี มีแป้นคีย์บอร์ด
และหน้าจอ แต่ตัวเครื่องจะไม่ มีฮาร์ดดิสก์ หรือหน่วยความจำ เวลาใช้ งานระบบจะเชื่อมโยงมา
ที่ server ของฟรีไอเน็ตทุกครั้ง ลูกค้ากลุ่มหลัก คือ โรงแรม คอนโดมิเนียม
และโรงพยาบาล
และนี่ก็คือ สาเหตุที่การสื่อสารฯ ถึงคัดค้านเต็มที่กับการที่ ทศท.จะเปิดให้บริการอินเทอร์เน็ต
เพราะมันหมายถึง รายได้ ที่จะสูญเสียในอนาคต
แต่สำหรับในโลกของอินเทอร์เน็ตแล้ว อะไรก็เกิดขึ้นได้เสมอ และฟรีอินเทอร์เน็ต