|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
สศค.มิงโลกในแง่ดี มองค่าเงินบาทยังอยู่ในกรอบที่ปนะเมินไว้ 38.8-40.4 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ยังไม่กระทบส่งออก เตรียมลุยศึกษาผลกระทบต่ออุตสาหกรรมรายตัว เผยผลศึกษากรณีค่าเงินแข็งค่าหลุดกรอบที่ตั้งไว้ ถ้าแข็งเกินกรอบ 1 บาท ฉุดจีดีพีลด 0.29% ส่งออกฮวบ0.2% ดันนำเข้าพุ่ง0.38%แต่เงินเฟ้อลดลง0.5% ครึ่งปีหลังคาดอัตราเฟ้อลดลง
นายนริศ ชัยสูตร ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า จากสถานการณ์ค่าเงินบาทที่ปรับตัวแข็งค่าขึ้นอยู่ในขณะนี้นั้น ยังอยู่ในกรอบที่กระทรวงการคลังได้ประเมินไว้ที่ 38.8-40.4 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ จึงยังคงเชื่อมั่นว่า สถานการณ์ดังกล่าวจะไม่ส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทยในขณะนี้ อย่างไรก็ดี สศค. อยู่ระหว่างการศึกษาถึงผลกระทบค่าเงินบาทที่ปรับค่าแข็งขึ้น ว่ามีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมใดบ้าง โดยอาจจะศึกษาเป็นรายตัว เพื่อให้ทราบได้ว่าควรจะดูแลอุตสาหกรรมใดเป็นพิเศษ
นอกจากนี้ จากผลการศึกษาในเบื้องต้นเกี่ยวกับผลกระทบจากการแข็งค่าของเงินบาท โดยพบว่าหากเงินบาทปรับตัวแข็งค่ากว่าที่ได้วางสมมติฐานไว้ จะมีผลกระทบทำให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ปรับตัวลดลง ซึ่งพบว่าหากเงินบาทแข็งค่าขึ้นทุก 1 บาท จะทำให้จีดีพี ลดลง 0.29% และทำให้อัตราการส่งออกขยายตัวลดลงประมาณ 0.2% แต่จะส่งผลให้อัตราการนำเข้าเพิ่มขึ้นประมาณ 0.38% และส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อลดลงประมาณ 0.5%
นายนริศ กล่าวว่า สำหรับการปรับประมาณการจีดีพีปี 2549 ใหม่ที่จะมีอีกครั้งในเดือน พ.ค.นี้นั้น สศค. ไม่ได้มีการปรับตัวเลขสมมติฐานราคาน้ำมันใหม่ แม้ว่าในช่วงที่ผ่านมาราคาน้ำมันจะสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องก็ตาม โดยจะใช้สมมติฐานเดิมที่เคยตั้งไว้ คือ น้ำมันดิบดูไบอยู่ที่ระดับ 56.4-60.4 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล เพราะเห็นว่าราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นอยู่ในขณะนี้ ยังคงอยู่ในช่วงของสมมติฐานที่ตั้งไว้ ทั้งนี้ ตั้งแต่ต้นปี 2549 เป็นต้นมากระทั่งปัจจุบัน ราคาน้ำมันโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 58.9 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ซึ่งยังอยู่ในสมมติฐานที่ สศค.คาดการณ์ไว้
ส่วนแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อในปีนี้นั้น เชื่อว่าในครึ่งปีหลังของปี 2549 อัตราเงินเฟ้อจะปรับตัวลดลงจากครึ่งปีแรก แม้ว่าราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกจะปรับตัวสูงขึ้นอยู่ในขณะนี้ แต่ยังอยู่ในสมมติฐานที่คาดการณ์ไว้ รวมทั้งราคาน้ำมันที่แม้ว่าจะสูงขึ้น แต่ก็ยังสูงขึ้นในระดับที่ต่ำกว่าปี 2548 ที่ผ่านมา
“เรามองว่าอัตราเงินเฟ้อที่ปรับตัวลดลงนั้น เป็นเพราะอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงเพิ่มขึ้น ซึ่งจะทำให้การใช้จ่ายของประชาชนลดลง และจะส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อภายในประเทศลดลงตามไปด้วย ประกอบกับฐานอัตราเงินเฟ้อของปีที่แล้ว อยู่ในระดับที่สูงแล้วเพราะฉะนั้นครึ่งปีหลังนี้ เชื่อว่าอัตราเงินเฟ้อก็จะลดลงได้" นายนริศกล่าว
พล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์ รองนายกรัฐมนตรี รักษาการนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ปัญหาเรื่องเงินเฟ้อ ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น รวมทั้งอัตราดอกเบี้ย ก็มีการหารือในที่ประชุม ครม.เมื่อในที่ 18 เม.ย.ที่ผ่านมา ต้องยอมรับว่าขณะนี้เงินตราต่างประเทศไหลเข้ามาในประเทศค่อนข้างมาก ทำให้ค่าเงินแข็งขึ้น โดยเฉพาะ 3 ประเทศในแถบเอเชีย คือ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย ซึ่งทาง รมว.คลังและ ธปท.มองว่าปัญหาดังกล่าวเกิดจากเงินที่ไหลเข้ามาในลักษณะการหากำไร หากอัตราดอกเบี้ยนิ่งไม่สูงขึ้นไปกว่านี้ เงินบาทก็คงจะไม่แข็งค่าไปมากกว่านี้เช่นกัน
**ชี้ธปท.ปล่อยบาทแข็งช่วยสกัดเงินเฟ้อ**
ด้านนายศุภวุฒิ สายเชื้อ กรรมการผู้จัดการสายงานวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ภัทร จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นนั้น เมื่อพิจารณาปัจจัยแวดล้อมจะพบว่าธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)มีเหตุผลที่จะปล่อยให้เงินบาทแข็งค่าตามกลไกตลาด เพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม เนื่องจากเมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว อัตราเงินเฟ้อของไทยกับประเทศคู่ค้ารวมทั้งสิ้น 21 ประเทศ เงินเฟ้อเฉลี่ยของไทยสูงกว่า ดังนั้น จึงเป็นไปได้ที่ ธปท.จะปล่อยให้เงินบาทแข็งไปตามเงินสกุลภูมิภาค แม้จะกระทบต่อการส่งออกบ้าง แต่ก็ไม่น่าวิตกกังวล เพราะในช่วงที่ผ่านมาการส่งออกมีอัตราการเติบโตที่สูงอยู่แล้ว
"หาก ธปท.สามารถควบคุมอัตราเงินเฟ้อไว้ในระดับที่เหมาะสมได้ ธปท. ก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องขึ้นอัตราดอกเบี้ยในอัตราสูง ขณะที่เงินทุนที่ไหลเข้าในประเทศเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น ซึ่งเป็นไปได้ที่อาจจะเป็นเงินลงทุนระยะสั้นในตลาดหลักทรัพย์ และอาจมีการเทขายทำกำไรเพื่อเก็บส่วนต่างราคาหุ้น"นายศุภวุฒิกล่าว
ส่วนแนวโน้มของเศรษฐกิจไทยปีนี้นั้น เชื่อว่าแรงส่งสำคัญในช่วงครึ่งหลังของปีจะมาจากการส่งออกเป็นหลัก ซึ่งก็จะอยู่กับการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทเป็นสำคัญด้วย ดังนั้น หากการส่งออกขยายตัวลดลง เศรษฐกิจก็อาจจะไม่เติบโตได้ตามเป้าหมาย เนื่องจากปัจจัยภายในประเทศทั้งอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับสูง จะทำให้ประชาชน ผู้บริโภคลดการใช้จ่ายและหันมาออมเงินมากขึ้น ซึ่งจะทำให้การบริโภคลดลงตามไปด้วย แต่อย่างไรก็ตาม บล.ภัทรยังคงอัตราการเติบโตเศรษฐกิจไทยไว้ที่ 4.5%
สำหรับแนวโน้มดอกเบี้ยสหรัฐที่มีการประเมินว่าจะอยู่ในจุดสูงสุดที่ 6% นั้น นายศุภวุฒิ กล่าวว่า ยังไม่เป็นที่ชัดเจน เนื่องจากยังต้องรอดูตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐว่า จะยังมีแรงกดดันต่อเงินเฟ้อของสหรัฐอยู่หรือไม่ ขณะที่แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยไทยในขณะนี้ ไม่ได้ผูกติดไปกับแนวโน้มดอกเบี้ยสหรัฐเหมือนที่ผ่านมา เนื่องจากโครงสร้างทางเศรษฐกิจของไทยเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมแล้ว
ด้านนักค้าเงินจากธนาคารพาณิชย์ กล่าวว่า ค่าเงินบาทยังมีโอกาสที่จะแข็งค่าได้ เนื่องจากเงินดอลลาร์สหรัฐยังมีทิศทางอ่อนค่า เพราะนักลงทุนกำลังรอผลการหารือระหว่างประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช ของสหรัฐ กับประธานาธิบดีหู จิ่นเทา ของจีน ในวันที่ 20 เมษายนนี้ โดยเงินบาทมีแนวต้านสำคัญที่ 37.50 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ค่าเงินบาทในตลาดต่างประเทศวันนี้ (19 เม.ย.) เงินบาทยังคงแข็งค่าขึ้น ซื้อขายกันที่ระดับ 37.82 - 37.74 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
|
|
|
|
|