Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กรกฎาคม 2539








 
นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2539
"เมย์เดย์..เมย์เดย์..เมย์เดย์!"             
โดย อภิชาติ ชอบชื่นชม
 


   
search resources

ธนาคารกรุงเทพพาณิชยการ




เมื่อตอนต้นเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาได้มีโอกาสโทรศัพท์คุยกับเอกชัย อธิคมนันทะ อดีตผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ (บีบีซี) ก็ให้แปลกใจเป็นกำลัง เพราะลำพังการปฏิเสธที่จะพูดคุยด้วยนั้นพอเข้าใจอยู่เนื่องจากข่าวคราวของธนาคารแห่งนี้กำลังอยู่ในช่วงหน้าสิ่วหน้าขวาน

แต่ที่ไม่เข้าใจจนต้องมาบ่นสนทนากับเพื่อนร่วมงานก็คือ เหตุใดน้ำเสียงที่พูดจึงละล่ำละลักเหมือนปลาสำลักน้ำ คุยกันกว่าสิบนาทีจับใจความได้แต่เพียงว่าไม่อยากพูด จรุง หนูขวัญผู้ช่วยผู้ว่าการอาวุโสธนาคารแห่งประเทศไทยให้เงียบเอาไว้

"เห็นมั้ยตอนนี้ไม่มีใครพูด เรื่องก็เลยเงียบแล้วก็จะดีเอง"

ใช่..แล้วก็มีข่าวว่าเกริกเกียรติ ชาลีจันทร์ กรรมการผู้จัดการใหญ่บีบีซีควงแขนราเกซ สักเสนา ท่านราชครูประจำตัวเดินทางออกนอกประเทศไปแล้ว

เช้าตรู่วันที่ 7 มิถุนายน 2539 เอกชัย อธิคมนันทะนักเรียนทุนแบงก์ชาติที่จบ MBA จากฮาร์วาร์ดก็ถูกจับกุมในหลายข้อหาที่เกี่ยวพันกับการทุจริตในบีบีซี

อีกไม่กี่วันต่อมาเกริกเกียรติ ชาลีจันทร์เดินทางกลับประเทศไทย และเข้ามอบตัวกับตำรวจกองบังคับการสืบสวน และสอบสวนคดีเศรษฐกิจ (สศก.) โดยแถลงข่าวกับสื่อมวลชนว่าจะให้ความร่วมมือทุกประการในการแก้ไขปัญหาของบีบีซี

เหตุการณ์ในบีบีซีตอนนี้ถือว่าเดินทางมาถึงจุดจบของภาคแรกเปรียบไปก็เหมือนเรือสินค้าที่ล่มแล้ว ภาคต่อไปก็เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการควบคุมธนาคารแห่งนี้ ว่าจะทำการนำสินค้าที่ยังไม่เสียหายออกจากเรือได้เท่าไหร่ จากนั้นคงเป็นงานของผู้รับผิดชอบประเทศว่าจะระเบิดซากเรือลำนี้ทิ้งหรือกู้ขึ้นมาซ่อมแซมใหม่..ซึ่งก็ยากพอ ๆ กัน

ข้อสังเกตหนึ่งที่อยากให้มองกันมากกว่านี้ก็คือ การเติบใหญ่ของทุนนิยมที่ไม่อยากเรียกว่าเป็นการพัฒนา ที่แปรเปลี่ยนไปตลอดเวลาในการใช้เงินเพื่อจะได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.

จากสมัยเมื่อ 30-40 ปีก่อนแจกข้าวสาร ปลาทูเค็ม รองเท้าฟองน้ำ สัญญาจิปาถะฯลฯ มาเป็นซองเงินเย็บติดชื่อ หมายเลขผู้สมัครรับเลือกตั้งใจกว้างคนนั้น

ที่น่าสนใจแกมสะพรึงกลัวก็คือแหล่งที่มาของเงินที่ใช้ซื้อสิทธิ์ ซื้อเสียง จากเดิมยังพอมีคุณธรรมอยู่บ้างรู้ว่าเล่นการเมืองต้องใช้เงินก็ขายที่ขายทาง ขายสมบัติเก่ามาใช้ในการซื้อเสียงรูปแบบต่าง ๆ

เมื่อ 10 ก่อนยังมีนักการเมืองบางคนกล้าออกมาพูดว่าไหน..ใครบอกว่าเล่นการเมืองแล้วรวย? ดูอย่างผมนี่ไงเล่นการเมืองไม่กี่ปีจนเสียกระทั่งบ้านจะไม่มีอยู่

เดี๋ยวนี้หรือครับ ส.ส. หน้าใหม่ได้รับเลือกตั้งไม่กี่ครั้ง อาศัยเวลาเพียงแค่ปีกว่า ๆ ในตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการบางกระทรวงถอยเบนซ์ 2-3 คันมาขับเล่น ไม่นับบ้านและที่ดินอีกทั้งเงินในบัญชีเลข 7 หลักขึ้นไปอีกต่างหาก

และท้ายสุดในประวัติศาสตร์การเมืองไทยหน้าปัจจุบัน ส.ส. ต้องสังกัดพรรคการเมือง ซึ่งนำไปสู่ความจำเป็นต้องมีถุงเงินประจำพรรค และใช้อำนาจเงินอันนั้นบงการให้ ส.ส. ในสังกัดพุ่งตะลุยไปข้างหน้าเหมือนรถแบ็คโฮ ขุด ตักตวงผลประโยชน์ใส่ตัวให้มากเท่าที่โอกาสอำนวย

เรื่องราวเหล่านี้เป็นเรื่องที่คนไทยส่วนใหญ่รู้กัน ที่ทำใจได้ก็เงียบไปที่ยังทำใจลำบากก็ทำได้แต่เพียงก่นโคตรเง่าด่าในวงเหล้าแล้วลืมกันไปปล่อยให้พวกทากของประเทศชูคอกันสลอนในรัฐสภา เพราะจะอย่างไรเสียก็เถียงพวกมันไม่ได้ว่ามันมาจากการเลือกตั้ง

แต่ในกรณีบีบีซีนี้ดูให้ดีจะเห็นเงาแห่งความหายนะ ที่เกิดจากระบบการเมืองแบบทุนนิยมน้ำเน่าคืบคลานเข้าสู่ทั้งระบบตลาดเงินและตลาดทุนของประเทศอย่างชัดเจน

ในอดีตมีข่าวกระเส็นกระสายออกมาบ้างว่าแบงก์พาณิชย์บางแห่งฟ้องนักการเมืองที่มากู้เงินแบงก์ไปทำธุรกิจ หรือเอาไปหาเสียงก็ไม่รู้ แต่ที่แน่ ๆ เป็นการกู้แบบ CLEAN LOAN ที่ไม่จำเป็นต้องมีหลักทรัพย์ค้ำประกันแค่เซ็นรับสภาพหนี้ก็หอบเงินไปเลย ซึ่งเป็นเงินไม่กี่สิบล้านบาท…นี่คือเรื่องราวในอดีต

ปัจจุบันข่าวที่ทางการแถลงมาเกี่ยวกับบีบีซีอันเป็นสถาบันในตลาดเงินโยงไปถึงตลาดทุนหรือตลาดหุ้น โดยนักการเมืองกลุ่มหนึ่งและผู้บริหารธนาคารบางคน

นักการเมืองกลุ่มนี้ถูกเรียกขานว่ากลุ่ม 16 ทั้งหมดเป็นนักการเมืองจากภูมิภาค มีความรู้ด้านธุรกิจอยู่บ้างจากธุรกิจที่ตัวเองทำอยู่และธุรกิจของครอบครัว เผลอ ๆ เมื่อสองสามปีก่อนไม่รู้เสียด้วยซ้ำว่าตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยคืออะไร

วันร้ายคืนร้ายก็พากันตบเท้าไปกู้เงินจากบีบีซีรวมกันแล้วเป็นหมื่นล้านโดยกู้แบบ CLEAN LOAN บ้าง กู้โดยมีที่ดินหรือหุ้นค้ำบ้าง เพื่อนำไปซื้อกิจการในตลาดหุ้นเพื่อทำกำไรเข้ากระเป๋าตัวเอง เท่าที่ทางการเข้าไปตรวจสอบหลักประกันไม่ว่าที่ดินหรือหุ้นนั้นต่ำกว่ามูลหนี้ที่แท้จริง และแน่นอนเมื่อมีการจัดชั้นหนี้เหล่านี้ เกรดดีที่สุดที่กล้ำกลืนให้ได้ก็คือหนี้สงสัยว่าจะสูญ และส่วนใหญ่ก็จะกลายเป็นหนี้สูญในบั้นปลาย

ตอนนี้อย่าไปลุ้นกันเลยว่าราเกซ สักเสนาจะกลับเมืองไทยหรือไม่ อย่าไปใส่ใจว่าเกริกเกียรติ ชาลีจันทร์ เอกชัย อธิคมนันทะ ฯลฯ จะติดคุกหรือไม่ เพราะต่อให้ติดเป็นร้อยปีก็ไม่ได้ช่วยสถานการณ์ในบีบีซีเลยแม้แต่น้อย มาคอยดูว่าทางการจะแก้ปัญหาบีบีซีอย่างไร

ที่สำคัญที่สุดก็คือจำกัดวงความเสียหายไม่ให้ลุกลามไปมากกว่านี้ได้อย่างไร เพราะใครหน้าไหนจะรับประกันว่าเหตุการณ์อย่างที่เกิดขึ้นในบีบีซีจะไม่มีในแบงก์พาณิชย์อื่น

พักหลังนี้คนไทยจำนวนมากฝันไม่ค่อยดีและฝันตรงกันโดยไม่ได้นัดหมาย ฝันว่ากำลังโดยสารเครื่องบินขนาดใหญ่อยู่ท่ามกลางลมฟ้าแปรปรวน จู่ ๆ ก็มีเสียงดังมาจากลำโพงว่า

"ท่านผู้โดยสารโปรดทราบ ผมกัปตันบรรหารพูด ขณะนี้เครื่องบินเจอกับสภาพอากาศเลวร้ายจนเครื่องยนต์บางส่วนขัดข้อง กรุณารัดเข็มขัดและพูดตามผม…อิติปิโสภควา……."

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us