Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กรกฎาคม 2539








 
นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2539
"บทเรียนของพ่อมดการเงิน"             
โดย ภัทราวรรณ พูลทวีเกียรติ
 


   
search resources

ธนาคารกรุงเทพพาณิชยการ




การต่อสู้ของพ่อมดการเงินในระบบเศรษฐกิจไทยในปี 2539 ทำท่าว่าจะเพลี่ยงพล้ำต่อธุรกิจที่บากบั่นพยายามสร้างผลผลิต

"พ่อมดการเงิน" เหล่านี้เพียรพยายามนำจุดขายของศาสตร์ Financial Engineering ที่เคยเฟื่องฟูในสหรัฐเมื่อหลายทศวรรษก่อนมาใช้กับประเทศไทย แต่เป็นที่น่าแปลกใจว่าบทลงท้ายกลับมีตัวอย่างของความล้มเหลวให้เห็นกรณีแล้วกรณีเล่า

ดาวรุ่งที่เคยทอแสงสดใสเมื่อ 4-5 ปีก่อน อย่างราเกซ สักเสนา ที่ปรึกษามหัศจรรย์แห่งธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ, ธีระศักดิ์ สุวรรณยศ ผู้เล่นแร่แปรโครงสร้างการเงินบ้านฉางกรุ๊ป, วินัย พงศธร ที่จับ "แพะ" บริษัทเฟิร์สท์ แปซิฟิก แลนด์ มาชน "แกะ" บริษัทวิทยาคม บัดนี้กลายเป็นดาวอับแสงในเวลาอันสั้นอย่างไม่น่าเชื่อ

ปี 2535-37 นับเป็นยุคทองของเหล่า "พ่อมดการเงิน" พวกเขามองธุรกิจที่อาบเหงื่อต่างน้ำสร้างผลผลิตในระบบเศรษฐกิจว่าคร่ำครึ ขณะเดียวกันก็พยายามแทรกตัวเข้าไปในระบบธุรกิจผลักดันแนวความคิดให้ผู้ประกอบการเห็นช่อง "ทางลัด" ที่จะทำเงินเป็นกอบเป็นกำในเวลาอันรวดเร็ว

โมเดลที่พวกเขานำเสนอนั้นดูซับซ้อนซ่อนเงื่อนในสายตาของเถ้าแก่ จนต้องอาศัยผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญพิเศษเฉพาะทางที่เรียกกันว่า "ที่ปรึกษาการเงิน" ไม่ต่างกับ "ทนายความ" เท่านั้นที่จะทะลุทะลวงอ่านภาษาพิเศษกฎหมายได้รู้เรื่องอย่างลึกซึ้งเท่าทันเกม สรุปแล้วคุณก็จะชนะเอง ขอเพียงแต่ไว้ใจให้พวกเขาเดินเกมทุกอย่างเถอะ

พ่อมดการเงินร่ายเวทย์อย่างน่าอัศจรรย์ จนผู้ประกอบการติดอกติดใจไปตาม ๆ กัน เริ่มไว้ใจและปล่อยทุกอย่างให้อยู่ในมือของพวกเขาได้ไม่ยาก

คาถาของพวกนี้คือ "WIN-WIN-WIN" ทุกคนมีแต่ได้ไม่มีเสีย เครื่องมือที่ขาดไม่ได้คือ ต้องมีแหล่งเงินที่ซื้อง่ายขายคล่อง

..ตลาดหลักทรัพย์..ถูกพิสูจน์แล้วในสากลโลกว่าสนองตอบพวกเขาได้ผลที่สุด

แบงก์บีบีซี ปล่อยกู้ให้นักการเมือง เอาเงินก้อนนี้ไปซื้อกิจการเอาหุ้นบริษัทที่ซื้อมาจำนำกับแบงก์ ถ้าไม่พอก็เอาหลักทรัพย์มาจำนองเพิ่ม จากนั้นเข้าฟื้นฟูกิจการโดย "สร้างมูลค่าเพิ่ม" ให้บริษัท เมื่อกิจการดีขึ้นราคาหุ้นก็เพิ่มขึ้น ก็ขายทิ้ง นำ "กำไร" ส่วนหนึ่งมาชำระหนี้ อีกส่วนหนึ่งเอาเข้ากระเป๋าไป

WIN-WIN-WIN ทั่วหน้า แบงก์มีรายได้จากการปล่อยสินเชื่อได้รับชำระเงินคืนทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย นักการเมืองที่เข้ามาเป็นตัวต่อของเกมนี้ก็ได้เงินเข้ากระเป๋าเป็นกำไร แล้วก็ไถ่ถอนหลักทรัพย์จำนองไปทั่ว ผู้ถือหุ้นรายย่อยก็จะมีความสุขกับราคาหุ้นที่พุ่งขึ้นขายทำกำไรกันได้หลายรอบ

ตระกูลอินทรฑูต เจ้าของแบงก์บีบีซี ชื่นชมกับผลงานที่สร้างกำไรทางบัญชีให้แบงก์อย่างพลิกโฉม บ่อยเข้าก็ดึงเงินมรดกมาลงขันด้วย จนแยกไม่ออกว่ากระเป๋าไหนเป็นกระเป๋าไหน

เช่นเดียวกับไพโรจน์ เปี่ยมพงษ์สานต์ ผู้ถือหุ้นใหญ่บ้านฉางกรุ๊ป มองความฝันที่เลือนลางว่างดงาม คล้อยตามตรรกะของเหล่าพ่อมดการเงินที่แวดล้อมเขาอยู่ โครงสร้างการเงินของบ้านฉางกรุ๊ปที่เปราะบางอยู่แล้ว ก็ถูกชำแหละเป็นส่วน ๆ กระจัดกระจายไปลงทุนซื้อบริษัทที่ย่ำแย่ ในราคาถูก ๆ แห่งแล้วแห่งเล่าอย่างไร้ทิศทางใช้เงินจากบริษัทส่วนตัวบ้าง จากบริษัทบ้านฉางบ้าง ทุกอย่างถูกอธิบายด้วยเหตุด้วยผลลงตัวไปหมด

อะไร ๆ น่าจะไปได้สวย แต่ทำไมองค์กรต่างๆ จึงพบชะตากรรมแห่งความหายนะเช่นนี้?

จุดร่วมประการสำคัญก็คือ การฟื้นฟูแต่ละครั้งเป็นเหตุผลเพียงในกระดาษ ไม่ได้ถูกนำไปปฏิบัติจริง เมื่อจับ "แพะ" ชนกับ "แกะ" เสร็จก็ไม่มีอะไรต่อ รับค่าธรรมเนียมไปจากนั้นก็หันไปหาดีลอื่นที่ทำเงินให้ใหม่

ความเพลี่ยงพล้ำของพ่อมดการเงินในรอบ 5 ปี อาจให้บทเรียนที่ดีว่า "ราก" ที่ทำให้ธุรกิจดำรงอยู่และเติบโตได้นั้น แท้จริงแล้วอาจเป็นคนละเรื่องกับพุ่มทรงที่ถูกตัดแต่งอย่างสวยงาม

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us