Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน17 เมษายน 2549
ไอดีซีเชื่อตลาดโน้ตบุ๊กปีนี้โต 12% คาดดันยอดขายทะลุ 4 แสนเครื่อง             
 


   
search resources

Notebook




ไอดีซีประเมินตลาดคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กในประเทศไทยปี 2549 จะโตต่อเนื่องอีกปี หลังตลาดคึกคักมากในปี 2548 คาดจะเติบโตประมาณ 12% ด้วยยอดส่งมอบทะลุ 4 แสนเครื่อง

นายวสุพจน์ กิตติทรัพย์กุล ผู้จัดการฝ่ายวิจัย ไอดีซีประเทศไทย เปิดเผยว่า ในปี 2548 ยอดส่งมอบคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กในประเทศไทยเติบโตถึง 48% มากกว่ายอดการส่งมอบของตลาดคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลโดยรวมที่โตขึ้น 13% อัตราเติบโตดังกล่าวเป็นผลมาจากราคาที่ถูกลง ในขณะที่คุณสมบัติของเครื่องดีขึ้น และยังมีให้เลือกหลาก หลายรุ่นตามความต้องการ นอกจากนี้ กระแสโมบิลิตี้หรือความคล่องตัวในการใช้งานได้ทุกที่ทุกเวลา ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่กระตุ้น การเติบโตของตลาดเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กในปีที่ผ่านมา

แต่สิ่งเป็นปัจจัยหลักคือ ราคาซึ่งถือว่าสำคัญที่สุดที่ช่วยกระตุ้นตลาดโดยรวมให้คึกคัก เพราะแม้ว่าตลาดเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก จะเติบโตถึง 48% ในแง่จำนวน หรือยอดการส่งมอบ แต่ถ้าดูในแง่มูลค่าโตเพียง 6% เท่านั้น ในช่วงต้นปี 2548 เริ่มเห็นโน้ตบุ๊กราคาต่ำกว่า 30,000 บาท (750 ดอลลาร์สหรัฐ) เพียงไม่กี่รุ่น แต่ต่อมาตลอดทั้งปี 2548 ก็ได้เห็นโน้ตบุ๊กหลายรุ่นที่มีราคาอยู่ ระหว่าง 25,000–30,000 บาท (625–750 ดอลลาร์สหรัฐ) เนื่องจากในปี 2548 ตลาดโน้ตบุ๊กเติบโตสูงมาก ทำให้มีสัดส่วนถึง 27% ของตลาดคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลโดยรวม เพิ่มสัดส่วนจาก 21% ในปี 2547

นายวสุพจน์กล่าวว่า คอมพิวเตอร์เดสก์ทอปหรือ คอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะยังคงครองสัดส่วนหลัก ประมาณ 71% ของยอดส่งมอบรวม ส่วนที่เหลืออีก 2% เป็นเซิร์ฟเวอร์ x86 หรือคอมพิวเตอร์แม่ข่ายแบบ x86 อย่างไรก็ตาม เมื่อโน้ตบุ๊กมีราคาถูกลง จึงได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ใช้ทั่วไป เมื่อคิดจะซื้อคอมพิวเตอร์จึงมักจะพิจารณาเปรียบเทียบกันระหว่าง โน้ตบุ๊กกับเดสก์ทอป

ปัจจุบัน โน้ตบุ๊กมาพร้อมกับคุณสมบัติ (specification) ที่มากและดีขึ้นเรื่อยๆ อีกทั้งมีหลากหลายรุ่นให้เลือก ความสามารถในการเชื่อมต่อแบบไร้สาย (wireless) กลายเป็นคุณสมบัติที่มีอยู่ในโน้ตบุ๊กแทบทุกรุ่น ขณะที่คุณสมบัติอย่างการบันทึกแบบดีวีดี (DVD-Rec) ก็กำลังเป็นจุดขายที่ผู้ผลิตให้ความสนใจ นอกจากนี้ ยังมีขนาดและชนิดของจอ ให้เลือกอย่างหลากหลาย โดยเฉพาะโน้ตบุ๊กแบบหน้าจอกว้าง (wide-screen) ก็ได้รับความนิยม เช่น จอกว้างขนาด 14 นิ้ว นอกจากจะช่วยให้มองเห็นชัดเจนแล้ว ยังมีน้ำหนักเบาเหมาะกับคนไทย และดูทันสมัยอีกด้วย ทำให้ยอดส่งมอบ ของโน้ตบุ๊กแบบจอกว้าง ในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2548 สูงเกินกว่ายอดส่งมอบของโน้ตบุ๊กแบบจอธรรมดา โดยเฉพาะไตรมาส 4 ของปี 2548 ไตรมาสเดียว สัดส่วนยอดการส่งมอบของโน้ตบุ๊กแบบจอกว้างต่อโน้ตบุ๊กแบบจอธรรมดา เป็น 2.3 ต่อ 1

ทั้งนี้ ผู้ค้าคอมพิวเตอร์ข้ามชาติครองตลาดโน้ตบุ๊กในไทยเกือบทั้งหมด เนื่องจากมีข้อได้เปรียบในเรื่องราคาและภาพลักษณ์ของตราสินค้า และด้วยการขายในปริมาณมากกว่า ทำให้ผู้ค้าข้ามชาติสามารถควบคุมต้นทุนได้และเสนอราคาที่ดึงดูดใจผู้ซื้อ ความคล่องตัว (mobility) ซึ่งเป็นลักษณะสำคัญของโน้ตบุ๊ก ทำให้โน้ตบุ๊กสื่อถึงการแสดงออก ถึงตัวตน (self-expression) ภาพลักษณ์ของตราสินค้าจึงถือเป็นเรื่องสำคัญสำหรับผู้บริโภค อย่างไรก็ตาม ผู้ที่คิดจะซื้อคอมพิวเตอร์แต่ละกลุ่ม มีความต้องการหลักๆ ที่แตกต่างกัน ดังนั้น ผู้ค้าที่จะประสบความสำเร็จได้จำเป็นต้องหยั่งรู้ความต้องการเหล่านั้น และสร้างสมดุล ระหว่างตัวแปรต่างๆ ได้แก่ ราคา คุณสมบัติ และภาพลักษณ์ของตราสินค้า เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับลูกค้าแต่ละกลุ่ม

ไอดีซีคาดว่ายอดส่งมอบคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กในปี 2549 จะเติบโตประมาณ 12% แม้ว่าในปี 2548 ได้มีการเติบโตอย่างมากก็ตาม เทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ออกสู่ตลาด เช่น Dual-core CPU รวมถึงการใช้ดีวีดีแบบบันทึกได้ (DVD-Rec) ที่มากขึ้น คาดว่าจะเป็นปัจจัยที่ตรึงราคาขายโดยเฉลี่ยไว้อย่างน้อยในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2549

“จากภาวะราคาน้ำมันและอัตราดอกเบี้ยที่ขยับสูงขึ้น ไม่น่าจะมีคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กราคาต่ำกว่า 30,000 บาท (750 ดอลลาร์ สหรัฐ) ในตลาดให้เลือกมากนัก ซึ่งต่างกับช่วงก่อนหน้านี้” นายวสุพจน์กล่าว

ในการคาดการณ์ครั้งนี้ ไอดีซีได้นำปัจจัยด้านนโยบายและโครงการต่างๆ ของภาครัฐมาพิจารณาร่วมด้วย อย่างไรก็ตาม ไอดีซีไม่รวมโครงการคอมพิวเตอร์เอื้ออาทรที่ขายโน้ตบุ๊กเครื่องละประมาณ 4 พันบาทไว้แต่แรก เนื่องจากรุ่นดังกล่าวไม่มีฮาร์ดไดรฟ์ ในทางตรงกันข้าม หากมองไปข้างหน้า คอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะจะยังคงเป็นจุดสนใจของวงการอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ไทยในปีนี้

ในมุมมองของนายวสุพจน์เห็นว่า ประเทศไทยยังคงต้องการโครงสร้างพื้นฐานด้านคอมพิวเตอร์อีกมาก แม้ว่าโครงการคอมพิวเตอร์ 250,000 เครื่อง สำหรับเด็กนักเรียนจะเป็นโครง การที่มีขนาดใหญ่และสร้างแรงกระตุ้นให้กับตลาดคอมพิวเตอร์โดยรวม แต่โครงการลักษณะนี้อาจต้องพบกับความท้าทายมากมาย ทำให้ต้องล่าช้าออกไปอีก แม้ไอดีซีจะเชื่อว่าเป็นโครงการที่มีความเป็นไปได้สูง แต่ยากที่จะกำหนดกรอบเวลาที่แน่นอนได้ ไอดีซีจึงยังไม่นำโครงการดังกล่าวไปพิจารณาในการคาดการณ์ตลาดรวม จนกว่าจะได้ข้อสรุปที่ชัดเจน

นอกจากนี้ ความไม่สงบทางการเมืองในประเทศไทยหลังการยุบสภาเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ส่งผลกระทบอันไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ โดยในระยะสั้นจะกระทบกับความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและธุรกิจต่างๆ โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจขนาดกลางและเล็ก หรือเอสเอ็มอี เนื่องจากกลุ่มนี้จะอ่อนไหวต่อกระแสข่าวที่เป็นลบ ส่วนความล่าช้าของเมกะโปรเจกต์ก็อาจส่งผลกระทบด้วยเช่นกัน แต่ไอดีซีไม่ได้นำมาพิจารณาในการคาดการณ์ครั้งนี้ตั้งแต่แรก อย่างไรก็ตาม ความวิตกกังวล อยู่ที่สถานการณ์ในระยะยาว หากการเลือกตั้งวันที่ 2 เมษายน ยังไม่ใช่คำตอบสุดท้าย คงต้องหาทางออกที่ดีกว่า และหาให้ได้โดยเร็วที่สุด ไม่เช่นนั้น เศรษฐกิจโดยรวมของทั้งประเทศจะถดถอย ส่งผลให้ความต้องการสินค้าไอทีลดลงไปด้วย   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us