|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ชี้จากสถานการณ์การเมืองไม่แน่นอน ส่งผลต่อร่าง พ.ร.บ.ด้านการเงินสำคัญ 2 ฉบับ ที่ไม่สามารถพิจารณาได้ แต่จะไม่กระทบต่อการกำกับดูแลสถาบันการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เนื่องจากกำหนดกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ในการดูแลไว้แล้ว
บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด ระบุว่า จากสถานการณ์ทางการเมืองที่ยังไม่แน่นอน เนื่องจากสภาผู้แทนราษฎรอาจจะมีสมาชิกไม่ครบจำนวนตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด ทำให้ยังคงไม่แน่ชัดว่าจะสามารถเปิดสภาฯ ได้เมื่อใด ส่งผลให้การพิจารณาร่างกฎหมายต่าง ๆ อาจต้องเลื่อนออกไป รวมถึงกฎหมายการเงินการธนาคารที่สำคัญ ทำให้การกำกับดูแลสถาบันการเงิน คงจะต้องดำเนินการภายใต้กรอบกฎหมายที่มีอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งกฎหมายที่อาจถูกกระทบจากความล่าช้าของการพิจารณาในสภาฯ ได้แก่ ร่าง พ.ร.บ. สถาบันประกันเงินฝาก และร่าง พ.ร.บ. ธุรกิจสถาบันการเงิน
ทั้งนี้ ร่าง พ.ร.บ. สถาบันประกันเงินฝาก มีเนื้อหาสำคัญคือ การจัดตั้งสถาบันประกันเงินฝากทำหน้าที่แทนกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ในการคุ้มครองเงินฝากของสถาบันการเงินที่เป็นสมาชิก โดยผู้ฝากเงินจะต้องคำนึงถึงความเสี่ยงในการฝากเงินกับธนาคารแต่ละแห่งที่อาจแตกต่างกันไปตามประสิทธิภาพในการดำเนินงานของธนาคารเหล่านั้น อันจะนำไปสู่การแข่งขันเพื่อดูแลคุณภาพสินทรัพย์ และการสร้างธรรมาภิบาลของธนาคารพาณิชย์เพื่อสร้างความเชื่อถือให้แก่ลูกค้าที่เด่นชัด นอกเหนือไปจากการแข่งขันในผลิตภัณฑ์เงินฝากที่รุนแรงขึ้น ขณะที่ ร่าง พ.ร.บ. ธุรกิจสถาบันการเงิน ซึ่งรวบรวมเนื้อหาในการกำกับสถาบันการเงินที่มาจากการปรับปรุงกฎหมาย พ.ร.บ. การธนาคารพาณิชย์ และ พ.ร.บ. การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ รวมไว้ในฉบับเดียวนั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดการควบคุมสถาบันการเงินทั้งระบบ บนมาตรฐานเดียวกัน สอดคล้องกับรูปแบบของสถาบันการเงินภายใต้แผนพัฒนาระบบสถาบันการเงินที่ประกาศใช้ไปแล้ว
อย่างไรก็ตาม แม้ร่างกฎหมายดังกล่าวที่ต้องผ่านขั้นตอนในสภาฯ อาจเผชิญกับความล่าช้า จากการที่สภาฯ ยังคงเปิดไม่ได้ แต่การดำเนินการกำกับดูแลสถาบันการเงินในปัจจุบัน ยังคงเดินหน้าได้ตามปกติ ได้แก่ การดำเนินการของ ธปท. และกระทรวงการคลังในเรื่องของแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงิน เกณฑ์การกำกับแบบรวมกลุ่มที่จะเริ่มนำมาใช้ในปี 2549 นอกเหนือไปจากเกณฑ์กำหนดเงินกองทุน BASEL II ที่มีการผลักดันให้สามารถบังคับใช้ได้ในปี 2551 และมาตรฐานบัญชีระหว่างประเทศฉบับที่ 39 ที่คาดว่าจะนำมาบังคับใช้ในอีก 2-3 ปีข้างหน้า ซึ่งทั้งหมดต่างมีผลต่อการพัฒนาศักยภาพในการดำเนินธุรกิจของธนาคารพาณิชย์ ภายใต้มาตรฐานที่เป็นสากลมากขึ้น
ทั้งนี้ จากประเด็นในเรื่องการกำกับดูแล และกฎหมายทางการเงินต่าง ๆ ดังกล่าว ทำให้ธนาคารพาณิชย์คงต้องเตรียมการปรับปรุงระบบ และการดำเนินงานภายในของตนอย่างต่อเนื่อง โดยได้แก่ การวางรูปแบบการดำเนินธุรกิจภายใต้กรอบ Universal Banking ตอบรับกระแสการแข่งขันที่เพิ่มขึ้น การเตรียมความพร้อมในเรื่องการบริหารความเสี่ยง และเกณฑ์บัญชีใหม่เพื่อยกระดับมาตรฐานการให้บริการ ซึ่งทั้งหมดเชื่อว่าคงจะส่งผลให้ธนาคารมีความพร้อมที่จะรับมือจากประเด็นการกำกับต่าง ๆ ที่ยังคงอยู่ในกระบวนการตัดสินใจของภาครัฐเพื่อการปฏิรูปภาคการเงินในระยะต่อไป ตลอดจนการแข่งขันที่อาจจะสูงขึ้นจากการเปิดเสรีทางการเงินในอนาคต
|
|
 |
|
|