|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
ชี้เงื่อนเวลากระชั้นชิด บีบรัฐขยายเวลาประมูลเมกะโปรเจกต์ เผยขณะนี้ทีโออาร์ประมูลยังไม่แจกให้นักลงทุน เพราะต้องรอ กนค.ซึ่งมี นายกฯเป็นประธานเห็นชอบก่อน และหลังแจกทีโออาร์ต้องให้เวลาทำข้อเสนอ อีก 30-60 วัน นักลงทุนแนะเลื่อนเป็น ก.ค.เพื่อตัดข้อครหา แม้ที่ผ่านมาจะลงรายละเอียดทีโออาร์ไว้ในเว็บไซต์แล้วก็ตาม เผยยื่นข้อเสนอได้ทันทีที่รัฐบาลพร้อม
แหล่งข่าวจากสำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ยังไม่ได้มีคำสั่งใดๆ ให้เลื่อนกำหนดการรับเอกสารข้อเสนอการลงทุนประมูลโครงการระบบขนส่งมวลชนและโครงการระบบขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ (Mass Transit & Integrated Transport Information Center : MTIC) ในวันที่ 29 พ.ค. 2549 ออกไปแต่อย่างใด หลังจากที่ก่อนหน้านี้ได้มีการเลื่อนกำหนดจากวันที่ 28 เม.ย. 2549 มาแล้ว ซึ่งในส่วนของนักลงทุนจากที่ได้มีการสอบถามข้อมูลเข้ามา ไม่ได้ติดใจประเด็นของกำหนดการส่งเอกสาร โดยเฉพาะนักลงทุนรายใหญ่ นั้นค่อนข้างพร้อมที่จะส่งเอกสาร ข้อเสนอตามกำหนดแต่หากเลื่อนออกไปก็อาจทำให้นักลงทุนมีเวลาในการตรวจความพร้อมและเพิ่มจำนวนนักลงทุนได้มากขึ้นเท่านั้น
ทั้งนี้สาเหตุที่จะทำให้มีการพิจารณาเลื่อนกำหนดรับข้อเสนอของนักลงทุนจะอยู่ที่การจัดตั้งคณะรัฐมนตรี (ครม.) ชุดใหม่และการตั้งนายกรัฐมนตรีว่าจะเรียบร้อยเมื่อใด เพราะขณะนี้เอกสารการเชิญชวนเอกชน (ทีโออาร์) ของรถไฟฟ้าและเมกะโปรเจกต์ของกระทรวงคมนาคม ยังไม่ได้แจกให้นักลงทุนอย่างเป็นทางการมีเพียงการลงรายละเอียดไว้ในเว็บไซต์ โดยดาต้า รูมของ สนข. ที่ www. bangkok masstransit.com เท่านั้น
แหล่งข่าวกล่าวว่า หากประเมิน ตามเงื่อนเวลาที่เหลือกับสถาน-การณ์การเมืองหลังการเลือกตั้งแล้วเสร็จประมาณสิ้นเดือนเม.ย. 2549 กรณีมีการจัดตั้งครม.และเลือกนายกรัฐมนตรีโดยไม่มีปัญหายืดเยื้อคาดว่าจะเรียบร้อยในเดือนพ.ค. ซึ่งค่อนข้างกระชั้นชิดกับกำหนดรับเอกสารประมูล 29 พ.ค. 2549 เพราะขั้นตอนของการอนุมัติทีโออาร์ จะต้องให้ กนค.ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานประชุมเพื่อตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเข้ามาเป็นกรรมการในคณะกรรมการบริหารเมกะโปรเจกต์แต่ ละโครงการ จากนั้นคณะกรรมการบริหารแต่ละโครงการจะต้องประชุม เพื่อให้ความเห็นชอบทีโออาร์ก่อนจากนั้นต้องเสนอเข้าที่ประชุมกนค. อนุมัติจึงจะแจกนักลงทุนได้
หวั่นครหาแนะขยายรับข้อเสนอก.ค.
แม้ว่าประมูลเมกะโปรเจกต์จะใช้ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่า ด้วยการดำเนินโครงการลงทุนพิเศษ ของรัฐเพื่อการพัฒนาประเทศ พ.ศ. 2549 เพื่อเร่งรัดขั้นตอนและการใช้รูปแบบออกแบบไปก่อสร้างไป หรือ Design& Built ซึ่งสามารถผ่อนปรนระเบียบพัสดุไปได้ แต่โดยหลัก หลังจากแจกทีโออาร์ให้นักลงทุนจะต้องมีช่วงเวลาหนึ่งเพื่อให้นักลงทุนทำข้อเสนอ ซึ่งตามระเบียบพัสดุจะให้เวลาทำข้อเสนอประมาณ 30-60 วันหรือ 2-3 เดือน แต่ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2549 อาจไม่ถึงและขึ้นกับนโยบายด้วยว่าจะเร่งรัดแค่ไหน เพราะมติครม. และระเบียบที่ออกใหม่นั้นไม่ได้ครอบและกำหนดการแจกทีโออาร์และกำหนดส่งเอกสารข้อเสนอว่าควรห่างกันเท่าไรไว้
"มีความเป็นไปได้ว่า อาจต้องเลื่อนกำหนดส่งเอกสารข้อเสนอ แต่อาจต้องรอให้ใกล้กับกำหนดวันที่ 29 พ.ค. อีกหน่อย ส่วนนักลงทุนแม้เห็นว่าเงื่อนเวลาไม่ใช่ปัญหาแต่ส่วนใหญ่ก็เห็นว่าหากเลื่อนกำหนด ส่งเอกสารข้อเสนอไปเป็นเดือน ก.ค.2549 น่าจะเหมาะสม เพราะเป็นระยะห่างหลังจากแจกทีโออาร์ ประมาณ 2 เดือน ซึ่งจะไม่เกิด คำครหาใดๆ ส่วนปัญหาทางการเมืองไม่ได้สร้างความกังวลกับนักลงทุน ส่วนใหญ่เข้าใจดี" แหล่งข่าวกล่าว
รถไฟฟ้าเนื้อหอมนักลงทุนขอข้อมูล ต่อเนื่อง
แหล่งข่าวกล่าวต่อว่า นักลงทุน ต่างชาติ ยังทยอยเข้ามาขอข้อมูลจาก ดาต้า รูม ที่สนข. วันละ 15-20 ราย ทั้งรายใหญ่และรายเล็กโดยกลุ่มนักลงทุนจีนคาดว่าจะร่วมทุนกับบริษัท อิตาเลียนไทยดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) นักลงทุนจากเยอรมันบริษัท ซีเมนส์ จำกัด น่าจะยังร่วมกับกลุ่มบริษัท ซิโน ไทย เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) ซึ่งร่วมทุนก่อสร้างโครงการรถไฟเชื่อมสนามบิน หรือ แอร์พอร์ตลิงก์อยู่ ส่วนรายอื่นๆ ยังไม่ชัดเจน โดยรถไฟฟ้าสายสีแดงและสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายยังคงเป็นเส้นทางที่ได้รับความสนใจจากนักลงทุนมากที่สุด ส่วนนักลงทุนที่ชำนาญรถไฟฟ้าระบบโมโนเรล ก็สนใจเส้นทางสายสีเหลือง สาย สีส้ม
ส่วนโครงการเมกะโปรเจกต์ที่เกี่ยวข้องกับลอจิสติกส์ เช่น รถไฟทางคู่ ท่าเรือ นั้น ยังถือว่าได้รับความสนใจจากนักลงทุนน้อยกว่ารถไฟฟ้า เพราะความคุ้มค่าในการลงทุนต่างกัน นอกจากนี้ ในเว็บบอร์ด ของสนข.ยังมีประชาชนจำนวนมากแสดงความคิดเห็นเข้าไป โดยส่วนใหญ่ต้องการให้มีรถไฟฟ้าเร็วที่สุด เพราะปัญหาจราจรในกรุงเทพ-มหานคร (กทม.) เริ่มหนักขึ้น
"พงษ์ศักดิ์" ยันไม่เลื่อนกำหนดรับข้อเสนอ
ในขณะที่นายพงษ์ศักดิ์ รักต-พงศ์ไพศาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวง คมนาคมยืนยันว่า ขณะนี้ยังไม่มีการเลื่อนกำหนดรับข้อเสนอการลงทุนโครงการเมกะโปรเจกต์ ของกระทรวงคมนาคมแน่นอน เพราะยังมีเวลาเหลือพอ แต่ที่ยังไม่สามารถดำเนินการใดๆ ได้ในขณะนี้เนื่องจากต้องรอคณะกรรมการนโยบายโครงการลงทุนพิเศษของรัฐ (กนค.) ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานประชุมก่อน
สำหรับคณะกรรมการบริหารโครงการรถไฟฟ้าและลอจิสติกส์มี 5 ชุด ทำหน้าที่กำกับดูแล 1. โครงการ รถไฟฟ้า 10 สาย 2. โครงการท่าเทียบ เรือปากบาราและท่าเทียบเรือสงขลา 3. โครงการก่อสร้างรถไฟรางคู่ และโครงการปรับปรุงทางรถไฟ 4. โครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองสายบางปะอิน-นครราชสีมา โครงการก่อสร้างถนนวงแหวนรอบนอก ชั้นที่ 3 และโครงการก่อสร้างทางพิเศษสายศรีนครินทร์-บางนา-สมุทรปราการ และ 5. โครงการจัดหารถโดยสารปรับอากาศใหม่ที่ใช้ก๊าซเอ็นจีวี ของ ขสมก. จำนวน 2,000 คัน มูลค่าโครงการรวม 23,500 ล้านบาท
รถไฟฟ้า 10 สายพร้อมรอประมูล
โครงการระบบขนส่งมวลชน (Bangkok Mass Transit Development Plan) หรือ รถไฟฟ้า 10 สาย นั้น กำหนดแผนดำเนินงาน 6 - 10 ปี มีเป้าหมายเพื่อเพิ่มระยะทางของรถไฟฟ้าเป็น 371 กิโลเมตร รองรับการเดินทางของคนกรุงเทพฯและปริมณฑลได้ 11 ล้านคน จากปัจจุบันที่รถไฟฟ้า 2 สาย (บีทีเอสและรถไฟใต้ดิน มีระยะทางรวมกันเพียง 66.2 กม.เท่านั้น) ซึ่งแนวทางการประมูลคือให้นักลงทุนยื่นข้อเสนอได้โดยไม่จำกัด ทั้งแนวเส้นทาง กำหนดสถานี รูปแบบการเดินรถ รูปแบบของระบบ เช่น ระบบรถไฟขนาดกลางหรือขนาดเบา หรือรถไฟรางเดี่ยว เป็นต้น การบริหารจัดการ ต่างๆ
โดยแนวเส้นทางที่มีการศึกษา ไว้แล้ว ประกอบด้วย 1.สายสีแดงเข้ม(รังสิต-มหาชัย) ระยะทาง 65 กม. เป็นทางยกระดับ 42 กม.และทางระดับพื้นดิน 23 กม. มีสถานีบนพื้นดิน 20 สถานีและสถานียกระดับ 9 สถานี 2.สายสีแดงอ่อน(ตลิ่งชัน-สนามบินสุวรรณภูมิ) เป็นทางยกระดับ 50 กม. มี 22 สถานี 3.สายสีเขียวเข้ม (สะพานใหม่-บางหว้า) เป็นทางยกระดับ ระยะทาง 19 กม. มี 16 สถานี 4.สายสีเขียวอ่อน (พรานนก-อ่อนนุช- สมุทรปราการ) เป็นทางยกระดับ ระยะทาง 24 กม. มี 17 สถานี 5. สายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย (บางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแค) ระยะทาง 27 กม. เป็นทางยกระดับ 22 กม. และใต้ดิน 5 กม. โดยมีสถานียก ระดับ 14 สถานีและสถานีใต้ดิน 3 สถานี
6.สายสีส้ม (บางกะปิ-บางบำหรุ) ระยะทาง 24 กม. เป็นทางยกระดับ 3 กม. และทางใต้ดิน 21 กม. มีสถานียกระดับ 4 สถานี และสถานีใต้ดิน 13 สถานี 7.สายสีม่วง(บางใหญ่-ราษฎร์บูรณะ) ระยะทาง 49 กม. เป็นทางยกระดับ 29 กม. ทางใต้ดิน 20 กม. มีสถานี ยกระดับ 21 สถานีและสถานีใต้ดิน 11 สถานี 8.สายสีเหลือง(ลาดพร้าว-สำโรง) ระยะทาง 32 กม. เป็น ทางยกระดับ 2 กม. ทางใต้ดิน 10 กม. และทางระดับดิน 20 กม. มีทั้งหมด 20 สถานี 9.สายสีชมพู(ปากเกร็ด-สุวินทวงศ์) เป็นทางยกระดับระยะทาง 33 กม. สถานี ยกระดับ 13 สถานี และ 10.สาย สีน้ำตาล (บางกะปิ-สุวินทวงศ์) ระยะทาง 9.5 กม. สถานียกระดับ 5 สถานี งบประมาณ 5.5 แสนล้านบาท
|
|
 |
|
|