Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มิถุนายน 2539








 
นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2539
"สุพจน์ กริชพิพรรธ แอร์ทัชยกธงขาว เลนโซ่เลยรับส้มหล่น"             
 


   
search resources

แอร์ทัช เอ็นจิเนียริ่ง
เมทริกซ์ เทเลคอม เอเชีย
สุพจน์ กริชพิพรรธ
Telecommunications




ประวัติศาสตร์ของ "แพ็คลิงค์" วิทยุติดตามตัวรายแรกของไทยกำลังเปลี่ยนหน้าฉากใหม่อีกครั้ง เมื่อแอร์ทัชอินเตอร์เนชั่นแนล บริษัทแม่ประกาศขายกิจการทั้งหมดให้กับเทเลคอมเวนจอร์ที่มีบริษัทเมทริกซ์ เทเลคอม เอเชีย (MTAL) จากออสเตรเลียเป็นแกนนำ

การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับแพ็คลิ้งค์ในครั้งนี้มีนัย ที่สามารถสะท้อนให้เห็นถึงสภาพของธุรกิจวิทยุติดตามตัวที่เกิดขึ้นในหลายแง่มุม

สุพจน์ กริชพิพรรธ กรรมการผู้จัดการ บริษัทเปอร์คอม เซอร์วิส จำกัด เล่าถึงสาเหตุของการขายกิจการว่า แอร์ทัชได้ปรับกลยุทธการลงทุนในต่างประเทศใหม่ โดยต้องการมุ่งเน้นที่ธุรกิจโทรศัพท์มือถือเป็นหลัก ประเทศไหนที่ไม่มีธุรกิจโทรศัพท์มือถือมีแต่วิทยุติดตามตัวอย่างเดียว แอร์ทัชจะขายกิจการทิ้ง คือ ไทย และฝรั่งเศส จะมีเพียงสเปน โปรตุเกส สองประเทศที่แอร์ทัชยังทำธุรกิจเพจเจอร์ เนื่องจากมีธุรกิจโทรศัพท์มือถือที่ทำควบคู่อยู่ด้วย

สาเหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะเมื่อเปรียบเทียบระหว่างสองธุรกิจแล้ว โทรศัพท์มือถือจะคุ้มค่าในการลงทุนมากกว่าวิทยุติดตามตัวที่ต้องใช้ทั้งคน และเงินทุนไม่ยิ่งหย่อนกว่ากันแต่กลับทำรายได้น้อยกว่า

"ขนาดของธุรกิจมันแตกต่างกัน อย่างธุรกิจเพจเจอร์มีพนักงาน 800 คน จะเป็นโอปะเรเตอร์ 600 คนไปแล้ว ในสหรัฐเขาไม่เป็นเช่นนี้ เมื่อต้นทุนสูงพอ ๆ กันแต่ทำรายได้น้อยกว่าเขาก็ต้องเลือก"

สุพจน์ เล่าว่าก่อนหน้านี้แอร์ทัชพยายามมองหาลู่ทางลงทุนทำธุรกิจให้บริการโทรศัพท์มือถือในไทยมานานแล้ว แต่จนแล้วจนรอดโอกาสก็ยังไม่มี แม้ว่าล่าสุดจะมีแผนแม่บทเปิดเสรีกิจการสื่อสารเกิดขึ้น แต่ก็ยังต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 4-5 ปี แอร์ทัชจึงตัดสินใจถอนการลงทุนออกไปเช่นเดียวกับในฝรั่งเศสที่โอกาสน้อยมาก

แม้จะมีการะแสข่าวการขายกิจการของแพ็คลิ้งค์มาโดยตลอด แต่สุพจน์ยังยืนยันว่า การขายกิจการของแอร์ทัชในครั้งนี้ไม่ได้เกิดขึ้น เพราะปัญหาเรื่องผลประกอบการเพราะหลังจากรัฐบาลประกาศลดราคาค่าบริการลงมา แพ็คลิงค์ก็สามารถทำยอดขายได้เกินเป้าถึง 40%

การขายกิจการในครั้งนี้ แอร์ทัชจะขายทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สิน และพนักงานตลอดจนชื่อของแพ็คลิ้งค์ ซึ่งเท่ากับว่านับจากนี้บริษัทแอร์ทัช เอ็นจิเนียริ่ง ซึ่งเหลืออายุสัมปทานถึงปลายปีนี้ และเปอร์คอมเซอร์วิส ซึ่งยังเหลืออายุสัมปทานอีก 10 ปีจะตกไปอยู่ในมือของเมททริกซ์ทั้งหมด

ในส่วนของเมททริกซ์นั้นเชี่ยวชาญธุรกิจวิทยุติดตามตัวมานาน มีการลงทุนในแถบเอเซียแปซิฟิก 5 ประเทศ คือ อินโดนีเซีย อินเดีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และไทย ซึ่งเมททริกซ์ได้ลงทุนร่วมกับกลุ่มเลนโซ่ ผู้รับสัมปทานวิทยุติดตามตัว "อีซีคอล" ที่เคยออกโปรโมชั่นลดถล่มทลายด้วยการขายเครื่องราคาบาทเดียวมาแล้ว

แม้จะยังไม่มีการระบุชัดว่า เมททริกซ์จะเปิดทางให้นักลงทุนชาวไทยรายใดเข้ามาร่วมถือหุ้น แต่ก็มีกระแสข่าวลือหนาหูว่า อาจเป็นกลุ่มเทเลคอมเอเชีย คอร์ปอเรชั่น หรือ ทีเอ เจ้าของสัมปทานโทรศัพท์ 2.6 ล้านเลขหมาย แม้ว่าก่อนหน้านี้ทีเอจะลงทุนร่วมกับกลุ่มยูคอม และบีกริม รับสัมปทานวิทยุติดตามตัว ภายใต้ชื่อเวิลด์เพจจากองค์การโทรศัพท์อยู่แล้วก็ตาม แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ และบีกริมขายหุ้นคืนให้กับยูคอมไปแล้ว ส่วนทีเอยังไม่ได้รับการยืนยันว่าขายหมดหรือไม่

แต่ที่แน่ ๆ การซื้อกิจการในครั้งนี้เท่ากับเป็นการขยายบทบาทการลงทุนของเมททริกซ์ในไทย และอาจส่งผลกระทบต่อตลาดเพจเจอร์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะนับจากนี้เมททริกซ์จะกลายเป็นเจ้าของวิทยุติดตามตัว 2 บริษัท 2 สัมปทาน มีลูกค้าในมือรวมกันเกือบ 3 แสนราย กลายเป็นอันดับหนึ่งในตลาดไปโดยปริยาย ทั้ง ๆ ที่ก่อนหน้านี้ทั้งแพ็คลิ้งค์ และอีซีคอลเองยังไม่เคยแซงหน้าโฟนลิงค์ขึ้นมาเป็นอันดับ 1 ในตลาดได้มาก่อน

แน่นอนว่า คู่แข่งในตลาดอาจต้องรับมือ การแข่งขันที่มีอย่างต่อเนื่องอยู่แล้ว คงต้องเข้มข้นขึ้นเป็นระลอก และอาจพลิกโฉมหน้าไปอย่างคาดไม่ถึง

สุพจน์ ให้ทัศนะว่า การที่แพ็คลิ้งค์ตกมาอยู่ในมือของเมททริกซ์มีข้อดีในแง่ที่ว่า เมททริกซ์นั้นเชี่ยวชาญในธุรกิจเพจเจอร์มานาน โดยเฉพาะการให้บริการผ่านโอปะเรเตอร์ หรือรุ่นตัวอักษร ซึ่งจะช่วยสนับสนุนให้กับแพ็คลิ้งค์ได้ในหลาย ๆ ส่วน ในขณะที่แอร์ทัชแม้จะมีลูกค้าในสหรัฐถึง 2 ล้านเครื่อง แต่ก็เป็นรุ่นตัวจะให้บริการรุ่นตัวเลขทั้งสิ้น

นอกจากนี้ยังเป็นประโยชน์ในเรื่องอำนาจต่อรองในการสั่งซื้อเครื่องลูกข่าย เพราะทั้งแพ็คลิ้งค์ และอีซีคอลต้องสั่งซื้อเครื่องในแต่ละปีเป็นจำนวนมาก ๆ อยู่แล้ว หากสั่งซื้อพร้อมกันจะมีต้นทุนที่ถูกกว่า

ส่วนการร่วมมือทางธุรกิจระหว่างแพ็คลิงค์และอีซีคอลจะออกมาในรูปแบบใดนั้น สุพจน์บอกแต่เพียงว่าต้องรอนโยบายจากทางเมททริกซ์ก่อนซึ่งทางแอร์ทัชจะส่งมอบกิจการให้กับเมททริกซ์ในวันที่ 15 พฤษภาคม สำหรับตัวสุพจน์ ซึ่งร่วมงานกับแพ็คลิงค์มาไม่ต่ำกว่า 4 ปี เจ้าตัวบอกแต่เพียงว่ายังไม่ตัดสินใจอะไร

"ในช่วงนั้นยังไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง ทั้งแพ็คลิ้งค์และอีซีคอลยังคงบริหารงานแยกกันอย่างอิสระ แต่จะร่วมมือกันอย่างไรนั้นคงต้องรอดูนโยบายอีกครั้ง"

เช่นเดียวกับทางอีซีคอล ที่ยังไม่ได้ยืนยันว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง หรือร่วมมือกันอย่างไร แต่เชื่อว่าจะออกมาในทางที่ดี เพราะเป็นแนวโน้มของธุรกิจด้านนี้ที่จะต้องมีการรวมกัน

นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นกับแพ็คลิ้งค์ ก่อนหน้านี้แพ็คลิ้งค์ต้องเผชิญกับมรสุมครั้งแล้วครั้งเล่า เริ่มตั้งแต่ผู้ร่วมก่อตั้งอย่าง ดร. ทักษิณ ชินวัตร ได้หันมาเป็นคู่แข่งเปิดให้บริหารโฟนลิงค์ ซึ่งมีข้อได้เปรียบกว่าทุกด้าน โดยเฉพาะเลขหมายติดต่อ 3 หลัก จนทำให้ผู้บริหารระดับสูงอย่าง ดร. วรศักดิ์ วรภมร ซึ่งร่วมก่อตั้งบริษัทมาต้องเปิดหมวกอำลา รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของบริษัทแม่ ที่เกิดขึ้นมาเป็นระลอก รวมถึงการเปลี่ยนแปลงจากบริษัทแม่ที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่ 3 ปีที่แล้ว กระทั่งล่าสุดการขายกิจการ

ประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของแพ็คลิงค์กำลังจะเริ่มขึ้นแล้ว

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us