Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์17 เมษายน 2549
รับเหมา-ซิเมนต์ปรับตัวหนีตาย             
 


   
www resources

โฮมเพจ บริษัท ปูนซีเมนต์นครหลวง จำกัด (มหาชน)
โฮมเพจ ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น

   
search resources

Cement
ผลิตภัณฑ์และวัสดุก่อสร้าง, บจก.




*รับเหมาก่อสร้าง-ผู้ผลิตปูนซิเมนต์ปรับตัวหนีตายจ้าละหวั่น หลังเมกะโปรเจกท์ 5.5 แสนล้านล่มไม่เป็นท่า เหตุการเมืองไม่ชัดเจน
*ซีแพคพลิกแผนบุกตลาดต่างจังหวัด เน้นขายรายย่อย ขณะที่ปูนกลาง ชู“ อินทรีย์ ซูเปอร์โปร” เบียดแชร์คู่แข่ง
*ซิโน-ไทยดิ้นรับงานภาคเอกชน หลังพลาดงานเมกะโปรเจกท์ คุยมาร์จิ้นดีกว่างานภาครัฐ แถมมีงานต่อเนื่อง

พลันที่พ.ต.ท ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีปฏิเสธที่จะรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ทำให้เกิดความชะงักงันของภาวะเศรษฐกิจทันที และส่งผลกระทบต่อภาคการลงทุนทั้งการลงทุนของภาครัฐและเอกชน

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โครงการเมกะโปรเจกท์ที่เป็นที่หมายตาของกลุ่มทุนทั้งไทยและเทศ เพราะเป็นโครงการขนาดใหญ่ ใช้เงินลงทุนมหาศาลราว 5.5 แสนล้านบาท

ความชะงักงันในครั้งนี้ ทำให้กลุ่มทุนเริ่มเห็นชัดเจนแล้วว่าโครงการดังกล่าวน่าจะชะลออย่างแน่นอน เพราะสถานการณ์ทางการเมืองยังไม่มีความชัดเจน และเชื่อว่าจะอยู่ในภาวะนี้อีกนานพอสมควร จึงทำให้มั่นใจว่าการลงทุนโครงการดังกล่าวล่าช้าอย่างแน่นอน

ก่อนหน้านี้ก็เคยเกิดความสับสนว่ารัฐบาลจะทำอย่างไรกับโครงการขนส่งมวลชนระบบรางหลังจากที่พงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล เจ้ากระทรวงหูกวางประกาศปรับรูปแบบการลงทุนโครงการใหม่ จนทำให้กลุ่มทุนต่างชาติต้องชะลอเข้ามาร่วมประมูลงานก่อสร้างเมกกะโปรเจกท์

และวันนี้ก็เป็นที่แน่ชัดแล้วว่าโครงการดังกล่าวจะล่าช้าแน่นอนจากปัญหาการเมืองที่ยังไม่รู้จะจบยังไง?

ที่สำคัญยังไม่รู้จะมีการเปิดสภา เพื่อคัดเลือกนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีเมื่อไหร่ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการลงทุนโครงการเมกะโปรเจกท์ระบบรางทั้ง 10 สายทาง มูลค่ากว่า 5.5 แสนล้านบาทโดยตรง

ซีแพครุกตลาดต่างจังหวัด

บริษัท ผลิตภัณฑ์และวัตถุก่อสร้าง จำกัด หรือซีแพค ผู้ผลิตปูนที่คาดหวังว่าจะมียอดขายเติบโตขึ้นแบบก้าวกระโดด จากการลงทุนโครงการรถไฟฟ้าทั้ง 10 สาย ทั้งบนดินและมุดดิน ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นภายในปลายปีนี้ แต่วันนี้คงไม่มีใครกล้าการันตรีว่าโครงการจะเดินหน้าต่อหรือต้องชะลอออกไปอย่างไม่มีกำหนด

อรรณพ เตกะจรินทร์ กรรมการผู้จัดการ ซีแพค กล่าวว่า จากความไม่แน่นอนของการลงทุนโครงการเมกกะโปรเจกท์ ทำให้ซีแพคไม่อยากให้เสียโอกาสในการขายปูนเข้าโครงการดังกล่าว จึงเบนเข็มไปเจาะตลาดต่างจังหวัด เน้นกลุ่มเป้าหมายรายเล็กแทน โดยใช้วิธีเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภคจากเดิมที่นิยมใช้ปูนถุงที่นำมาผสมเองหันมาใช้ปูนผสมเสร็จของซีแพคมากขึ้น

“ ทิศทางของซีแพคจะมุ่งเน้นตลาดต่างจังหวัดเป็นหลัก เพราะไม่ต้องการจะรอการลงทุนของภาครัฐ ดังนั้น ซีแพคจึงมองหาลู่ทางที่จะเพิ่มพื้นที่การขายออกสู่ภูมิภาคมากยิ่งขึ้นและต้องการสร้างแบรนด์ปูนผสมเสร็จซีแพคให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น เพราะประเทศที่เจริญแล้วกว่า50% ของคอนกรีตที่ใช้คอนกรีตผสมเสร็จ อาทิ ยุโรป สิงคโปร์ เกาหลีและญี่ปุ่นมีการใช้คอนกรีตผสมเสร็จสูงถึง 80% ของที่ไทยมีการใช้ปริมาณคอนกรีตผสมเสร็จต่ำมากเพียง 20-25% เท่านั้น”

อรรณพ กล่าวว่า ถ้าจะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภค จะต้องให้ความรู้และคำแนะนำเกี่ยวกับคอนกรีตผสมเสร็จแก่ผู้บริโภค โดยซีแพคจัดให้มีวิศวกรประจำศูนย์ต่างๆ 22 แห่งทั่วประเทศ เพื่อให้คำแนะนำแก่ผู้บริโภค และการเพิ่มตัวแทนจำหน่ายหรือแฟรนไชส์อีกกว่า 100 แห่ง รวมกับโรงงานของซีแพคเองมีโรงงานอยู่ทั่วประเทศ 320 แห่ง เพื่อเข้าถึงผู้บริโภคโดยตรงและรวดเร็ว

และไม่เพียงแค่ซีแพคเท่านั้นที่หนีไปทำตลาดต่างจังหวัด หลังจากพลาดหวังโครงการเมกะโปรเจกท์ แต่ยังมีผู้ผลิตปูนอื่นอีกหลายรายที่ไปลุยตลาดต่างจังหวัด อาทิ บริษัทปูนซีเมนต์นครหลวงหรือปูนกลางที่มีแผนที่จะขยายตลาดเพิ่มในภาคอีสานด้วย เพื่อให้สามารถแข่งขันกับผู้ประกอบการรายอื่นได้ เนื่องจากเป้าหมายของปูนกลางในช่วงก่อนหน้านี้ มีความหวังที่จะขายปูนเข้าโครงการเส้นทางลัดสู่ภาคใต้ หรือแหลมผักเบี้ย และเมื่อโครงการล้ม ก็ยังมีความหวังที่จะขายปูนให้กับโครงการเมกะโปรเจกท์ หรือขนส่งมวลชนระบบราง ซึ่งเมื่อมีความแน่ชัดว่าโครงการฯจะล่าช้า ทำให้ต้องปรับตัวเช่นเดียวกัน และต้องปรับแผนการทำตลาดใหม่

ปูนกลางชูกลุยทธ์แมส มาร์เก็ตติ้ง

จันทรา สุขุมานนท์ รองประธานบริหาร บมจ.ปูนซีเมนต์นครหลวง ผู้ผลิตและจำหน่ายปูนตรานกอินทรีย์ กล่าวว่า บริษัทจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนกลยุทธ์และแนวทางการดำเนินงานใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการรีแบรนด์ใหม่ เพื่อสร้างความแตกต่างจากคู่แข่ง โดยหันมาใช้กลยุทธ์แบบแมส มาร์เก็ตติ้ง มากกว่าเดิมที่เน้นการทำตลาดแบบลด แลก แจกและแถม

ทั้งนี้ ที่ผ่านมาได้พัฒนาช่องทางการขายแบบใหม่ โดยการขยายช่องทางในรูปแบบโมเดิร์นเทรด ภายใต้ชื่อ “อินทรีย์ ซูเปอร์โปร”(Insee Super Pro) ซึ่งอาจจะเปิดช่องทางการขายในรูปแบบนี้ช้ากว่าคู่แข่งหลายช่วงตัว แต่“อินทรีย์ ซูเปอร์โปร” ชูจุดขายที่แตกต่างจาก “ซิเมนต์ไทยโฮมมาร์ท”ของคู่แข่งอย่างสิ้นเชิง

จันทรา กล่าวว่า “อินทรีย์ ซูเปอร์โปร”เน้นขายเฉพาะสินค้าหนัก เช่น ปูนซีเมนต์ หิน ทราย เหล็ก และกระเบื้องมุงหลังคาเท่านั้น ในขณะที่ร้านของคู่แข่งจะขายทั้งสินค้าหนักและสินค้าเบา หรือสินค้าชิ้นเล็กๆ นอกจากนี้คู่แข่งยังมีการขยายสาขาในรูปแบบของการขายแฟรนไชส์ ในขณะที่ “อินทรีย์ ซูเปอร์โปร” เป็นการขยายสาขาโดยการคัดเลือกจากเอเย่นต์ที่มียอดขายสูงและมีทำเลที่ตั้งร้านค้าอยู่ในพื้นที่ที่มีศักยภาพ ซึ่งจะสร้างยอดขายได้ง่ายขึ้น

ปัจจุบันบริษัทมีเอเย่นต์ 450 รายทั่วประเทศ เป็นเอเย่นต์หลัก 150 ราย มีเป้าหมายขยายสาขาในรูปแบบ“อินทรีย์ ซูเปอร์โปร”ให้ได้ 9 แห่ง ภายในสิ้นปีนี้ และตั้งเป้าไว้ที่ 20 สาขาทั่วประเทศใน 2 ปี ซึ่งหลังจากปรับรูปลักษณ์ใหม่มียอดขายเพิ่มขึ้น 15% ต่อสาขา จากเดิมที่มียอดขาย 5,000 ตันต่อเดือน

นอกจากนี้ ยังได้จัดทำ INSEE Block เพราะจากการสำรวจความต้องการของตลาดพบว่า ตลาดคอนกรีตบล็อกเป็นตลาดที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว แต่ผู้ผลิตคอนกรีตบล็อกในประเทศยังไม่เน้นมาตรฐานในการผลิตมากนัก ทำให้คุณภาพของคอนกรีตบล็อกไม่คงที่ บริษัทเห็นช่องว่างทางการตลาด จึงมีแผนขยายตลาดอินทรีบล็อกแฟรนไชส์ เพื่อเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถทางธุรกิจให้กับผู้ผลิตคอนกรีตบล็อกและสนับสนุนผู้ค้ารายใหม่ที่สนใจจะขยายธุรกิจหรือต้องการลงทุน

กลุ่มเป้าหมายหลักของโครงการนี้คือผู้ผลิตผลิตภัณฑ์คอนกรีตขนาดกลางไปจนถึงขนาดใหญ่ที่มียอดการใช้ปูนซีเมนต์มากกว่า 50% ในการผลิตคอนกรีตบล็อก ซึ่งหากโครงการนี้ประสบความสำเร็จจะทำให้บริษัทขายปูนได้เพิ่มขึ้น

ซิโน-ไทยดิ้นหางานเอกชน

ขณะที่บมจ.ซิโน-ไทยเอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น (STEC) ผู้รับเหมาก่อสร้างหันไปหางานภาคเอกชนแทนงานภาครัฐ หลังจากที่โครงเมกะโปรเจกท์ล่มไม่เป็นท่า

วรพันธ์ ช้อนทอง กรรมการรองผู้จัดการสายงานการเงินและบริหาร บมจ.ซิโน-ไทยฯกล่าวว่า ปัจจุบันบริษัทมีมูลค่างานในมือ (Backlog) ราว 30,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นงานที่ยกยอดมาจากปีก่อนและจะรับรู้รายได้ในปีนี้ประมาณ 15,000 ล้านบาท โดยตั้งเป้าว่าสิ้นปีนี้จะสามารถรักษาระดับมูลค่างานในมือได้เท่าเดิมคือ 30,000 ล้านบาท โดยมีแผนที่จะประมูลงานภาคเอกชนขนาดใหญ่หลายโครงการ หลังจากที่โครงการเมกะโปรเจกท์ชะลอออกไป

“ความล่าช้าของโครงการเมกะโปรเจกท์ไม่กระทบต่อรายได้ของบริษัท เพราะได้คาดการณ์ไว้แล้วว่าโครงการจะล่าช้า แต่โครงการอื่นๆ ยังคงดำเนินงานต่อ และอยู่ในงบประมาณปี 2549”

ทั้งนี้ การรับงานภาคเอกชนดีกว่างานภาครัฐ เนื่องจากมีกำไรมากกว่าและมีงานต่อเนื่อง ซึ่งบริษัทจะรับงานภาครัฐและเอกชนเท่ากัน คือ 50% อย่างไรก็ตาม แม้ว่างานระบบขนส่งมวลชนจะล่าช้า แต่ไม่กระทบต่อรายได้ของบริษัท เพราะมีงานในมือที่สามารถทำได้ถึงปีหน้า แต่ถ้าปัญหาทางการเมืองยืดเยื้อถึงปี 2550 อาจจะส่งผลกระทบต่อบริษัท   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us