Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มิถุนายน 2539








 
นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2539
"1 ปีของ 'อภิรักษ์ โกษะโยธิน' อยากเป็นทั้งชาวไร่และนักเทกโอเวอร์"             

 


   
search resources

เป๊ปซี่โค ฟูดส์ ประเทศไทย, บจก.
อภิรักษ์ โกษะโยธิน
Snack and Bakery




"ผลการดำเนินงานของบริษัทในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา แสดงให้เห็นว่า เราตัดสินใจถูกต้อง" อภิรักษ์ โกษะโยธิน กรรมการผู้จัดการ บริษัท เป๊ปซี่โค ฟูดส์ ประเทศไทย ซึ่งดำเนินการมาครบ 1 ปีเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคมที่ผ่านมากล่าว

สำหรับ "เรา" ที่อภิรักษ์พูดถึงนั้น นอกจากจะหมายถึงตัวเขาแล้ว ยังต้องรวมเอาเป๊ปซี่เข้าไว้ด้วย

เรื่องนี้ย้อนหลังกลับไปเมื่อปี 2537 อันเป็นช่วงที่อภิรักษ์กำลังมีอนาคตกับเป๊ปซี่ โคล่า (ไทย) เทรดดิ้ง ตอนนั้นเขาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายขายและการตลาด ดูแลภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เมื่อต้องถูกโยกให้มารับตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ บริษัท เป๊ปซี่โค ฟูดส์ ประเทศไทย ที่แม้ว่าจะเป็นตำแหน่งใหญ่ขึ้น แต่เนื่องจากบริษัทเพิ่งอยู่ระหว่างการก่อตั้ง มีเขาเป็นพนักงานคนแรกและคนเดียว จึงทำให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่าเขาถูก "DEMOTE"

เพราะยอดขายขนมขบเคี้ยว สินค้าหลักของเป๊ปซี่โค ฟูดส์ในประเทศไทยกับน้ำอัดลมตระกูลเป๊ปซี่ เป็นตัวเลขที่แตกต่างกันมาก อย่างที่รู้ ๆ กันก็คือ เครื่องดื่มเป๊ปซี่เป็นผู้นำตลาดน้ำอัดลมไทยมานาน ขณะที่ขนบคบเคี้ยวนั้น แม้ว่าเป๊ปซี่จะเข้ามาร่วมทุนกับเบอร์ลี่ ยุคเกอร์ตั้งสยามสแน็ค เมื่อ 13 ปีก่อน แต่อนาคตด้านยอดขายและศักยภาพในการเติบโตของทั้งมันฝรั่งทอดกรอบตราเลย ์และข้าวโพดทอดกรอบตราซีโตสกลับเป็นสิ่งที่มองไม่เห็น

ซึ่งนี่เป็นสาหตุสำคัญที่ทำให้เป๊ปซี่ โค ฟูดส์ อินเตอร์เนชั่นแนลตัดสินใจเข้ามาบุกตลาดด้วยตัวเอง เพราะเป๊ปซี่โค ฟูดส์ฯ มองว่า ตลาดขนมขบเคี้ยวในประเทศไทยมีศักยภาพเติบโตสูงมาก เพียงแต่ยังไม่มีใครเข้ามากระตุ้นอย่างจริงจัง ดังนั้นถ้าเป๊ปซี่โค ฟูดส์ไม่รีบเข้ามาลงทุนในช่วงนี้ก็ไม่ผิดอะไรกับการทุบหม้อข้าวตัวเองดี ๆ นี่เอง

"1 ปีที่เป๊ปซี่โค ฟูดส์ ชีวิตผมเปลี่ยนแปลงไปโดยสิ้นเชิง ตอนทำงานกับเป๊ปซี่ โคล่า ส่วนใหญ่เป็นเรื่องของการวางแผนหากิจกรรมทางการตลาดใหม่ ๆ เข้ามา โดยทำงานร่วมกับเสริมสุขซึ่งมีพนักงานเป็นหมื่น แต่เมื่อมาอยู่ที่นี่ผมต้องเริ่มจากศูนย์ ตั้งแต่การหาออฟฟิศ ทีมงานการตลาด ทีมงานการขาย ซึ่งทุกอย่างเป็นเรื่องเร่งด่วน เพราะถ้าช้าบริษัทจะเสียโอกาส เนื่องจากเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของการบอกเลิกร่วมทุน ดังนั้นแม้ว่าผมจะไม่ได้ทำงานวันละ 24 ชั่วโมงแต่ผมก็ทำงานอาทิตย์ละ 7 วัน" อภิรักษ์เล่าบรรยากาศช่วงเริ่มต้นให้ฟัง

ที่สำคัญการเข้ามาของเป๊ปซี่โค ฟูดส์ในครั้งนี้ ยังแตกต่างจากการเข้ามาลงทุนในธุรกิจสายเครื่องดื่มและร้านอาหารฟาสต์ฟูดอย่างพิซซ่า ฮัทและเคเอฟซีของเป๊ปซี่โค อิงค์ เพราะทั้งสองธุรกิจดังกล่าวมีหุ้นส่วนไทยเป็นแกนหลักในการดำเนินกิจการ พูดง่าย ๆ ก็คือเป๊ปซี่ประสบความสำเร็จในธุรกิจเครื่องดื่มและฟาสต์ฟูดเพราะหุ้นส่วนคนไทย ขณะที่การบุกตลาดขนมขบเคี้ยวของเป๊ปซี่โค ฟูดส์ในครั้งนี้ ถือว่าเป็นครั้งแรกที่เป๊ปซี่เข้ามาผลิตสินค้าและขายของเอง โดยไม่มีพาร์ตเนอร์ฝ่ายไทยคอยช่วย

ดังนั้นหน้าที่ตั้งแต่การหาออฟฟิศ สร้างทีมงานด้านการตลาด การขาย การเจรจาเทกโอเวอร์โรงงาน จึงเป็นภาระที่หนักอึ้งของอภิรักษ์ เพราะที่ผ่านมาพื้นฐานของเขาคือนักการตลาด ไม่ใช่เถ้าแก่ที่ต้องทำทุกอย่างเช่นนี้

นี่ยังไม่นับแรงกดดันจากเป้าหมายการขายที่วางไว้สูงลิ่ว ถึง 10,000 ล้านบาทใน 7-10 ปีข้างหน้า จากจุดเริ่มต้นที่เกือบจะศูนย์

ดังนั้นเมื่อปรากฏว่า 12 เดือนที่ผ่านมา เป๊ปซี่โค ฟูดส์ ประเทศไทยทำยอดขายได้ประมาณ 350 ล้านบาท หรือคิดเป็นส่วนแบ่งทางการตลาดประมาณ 7.4% ของมูลค่าตลาดรวม 5,000 ล้านบาท ตรงตามเป้าหมายที่ได้วางเอาไว้ ย่อมจะทำให้ความกดดันเรื่องการพิสูจน์ฝีมือของเขาลดลงไปด้วย

อภิรักษ์กล่าวถึงเคล็ดลับความสำเร็จของเป๊ปซี่ ฟูดส์ ประเทศไทยว่า เกิดจากการทุ่มเทของพนักงานทุก ๆ คน ไม่ว่าจะเป็นจรรย์จารี ธรรมา ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด หรือพรชัย สรรพนรเศรษฐ์ ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการ ซึ่งทั้งสองคนล้วนแล้วแต่ทิ้งบริษัทใหญ่ ๆ อย่าง พรอคเตอร์ แอนด์ แกมเบิล ประเทศไทยมาด้วยกันทั้งคู่

แต่ถ้าจะกล่าวถึงปัจจัยที่สำคัญที่สุดเห็นจะได้แก่ การที่บริษัทให้ความสำคัญกับการส่งเสริมเกษตรกรในเรื่องการปลูกมันฝรั่งให้ได้ปริมาณผลผลิต และคุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนด เพื่อนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตสินค้า ด้วยการจัดตั้ง "ศูนย์พัฒนาการเกษตรฟริโต-เลย์" (Frito-Lay Agro Development Center) ขึ้นมาทำหน้าที่พัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการเกษตรแก่กลุ่มเกษตรกรภาคเหนือกว่า 1,500 คน ในโครงการปลูกมันฝรั่งบนพื้นที่รวมกว่า 10,000 ไร่ และคาดว่าจะมีชาวไร่เข้าร่วมโครงการเพิ่มขึ้นเป็น 3,000 คนในอีก 5 ปีข้างหน้า

"กลยุทธ์นี้ถือว่าเป็นเบื้องหลังความสำเร็จของฟริโต-เลย์ในสหรัฐอเมริกาอย่างแท้จริง และส่วนนี้เองที่ทำให้บริษัทได้เปรียบคู่แข่งที่ผลิตขนมขบเคี้ยวประเภทมันฝรั่งเหมือนกัน เพราะเรามีบริษัทแม่ที่จะให้ความช่วยเหลือในการถ่ายทอดด้านเทคโนโลยีให้" อภิรักษ์กล่าว

นอกจากนี้ในขั้นตอนต่อไปบริษัทจะส่งเสริมการปลูกข้าวโพด ซึ่งเป็นวัตถุดิบในการผลิตขนมข้าวโพดอบกรอบซีโตสอีกด้วย

อภิรักษ์กล่าวถึงก้าวรุกต่อไปของบริษัท เพื่อไปให้ถึงเป้าหมายปี 2000 คือยอดขาย 4,000 ล้านบาทว่า สำหรับในปีนี้บริษัทคงจะมีสินค้าใหม่ ๆ ออกสู่ตลาด แต่ยังมุ่งมั่นอยู่ที่แบรนด์เลย์และซีโตส ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการวิจัยและพัฒนาของศูนย์นวัตกรรมและเทคโนโลยี (Innovation & Technology Center) ซึ่งจัดตั้งขึ้นมาเมื่อปลายปีที่แล้ว

ส่วนปีหน้า บริษัทจะมีการแนะนำขนบขบเคี้ยวยี่ห้อใหม่เข้าสู่ตลาดอย่างแน่นอน ซึ่งขณะนี้กำลังพิจารณาอยู่ 2-3 ตัว โดยจะต้องเป็นสินค้าที่มีการนำเสนออินโนเวชั่นใหม่ ๆ

อีกกลยุทธ์หนึ่งซึ่งจะมีความสำคัญมาก เพราะถ้าหากสำเร็จจะทำให้เป๊ปซี่ โค ฟูดส์ สามารถเติบโตได้อย่างก้าวกระโดด กล่าวคือ เป๊ปซี่มองว่าขณะนี้ประเทศไทยเป็นประเทศเดียวที่ตลาดขนมขบเคี้ยวยังมีลักษณะกระจัดกระจาย มีผู้ประกอบการท้องถิ่นรายเล็กรายน้อยมากมาย

"ถ้าเรามีโอกาสก็อยากจะเป็นผู้รวบรวมกิจการเหล่านี้มาไว้ในมือ เพื่อทำให้บริษัทที่ใหญ่และมีศักยภาพในการแข่งขัน ขณะเดียวกันก็จะเป็นสปริงบอร์ดในการขายตลาด เหมือนกับที่เราซื้อโรงงานของยูไนเต็ด ฟูดส์ เมื่อกลางปีที่ผ่านมา ซึ่งขณะนี้ก็ได้เริ่มมีการเจรจากับบางรายบ้างแล้ว คาดว่าปีหน้าจะปรากฏให้เห็นได้บ้าง" อภิรักษ์กล่าว

กลยุทธ์การเทกโอเวอร์เป๊ปซี่ โค ฟูดส์เคยทำสำเร็จมาแล้วที่เม็กซิโก ซึ่งส่งผลให้บริษัทขนมขบเคี้ยวของเป๊ปซี่ โค ฟูดส์ที่นั่นมีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศ มีสินค้ามากมายหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นขนมขบเคี้ยว ลูกอมบิสกิต ซึ่งถือว่าเป็นแม่แบบในการทำตลาดแบบที่เป๊ปซี่เรียกว่า Wmacro Snack" แต่สำหรับที่ประเทศไทยนั้น อภิรักษ์กล่าวว่า บริษัทคงจะต้องสร้างความแข็งแกร่งให้กับตลาดสแนกเสียก่อนจึงจะพิจารณาขยายเข้าไปยังตลาดอื่นต่อไป

คงต้องรอดูว่าเทคโนโลยีการเกษตรและเงินของเป๊ปซี่โค ฟูดส์จะมีฤทธิ์ขนาดไหน

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us