นักสื่อสารมวลชน และนักเศรษฐศาสตร์มีคำอธิบายเกี่ยวกับโลกาภิวัตน์ (globalization)
ต่างๆ กันไป และมองถึงผลกระทบของโลกาภิวัตน์ว่าทำให้ผู้คนในส่วนต่างๆ ของโลกมีรูปแบบการใช้ชีวิต
และการทำงานในแบบ ที่ต่างไปจากเดิมมาก แต่การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเป็นเรื่องดีหรือไม่ดีนั้น
นักวิเคราะห์ยังมีความเห็นไม่เหมือนกัน A Future Perfect เขียนโดยจอห์น มิคเคล็ธเวท
และ เอเดรียน วูลดริดจ์ ผู้สื่อข่าวนิตยสาร The Economist ประเมินประเด็นนี้อย่างลึกซึ้ง
และรอบด้านในเชิง ที่มองโลกาภิวัตน์ในแง่ดี โดยพิจารณาเสียงคัดค้านทีละข้อๆ
ไป โดยรวม ผู้เขียนเห็นว่าโลกาภิวัตน์ทำให้โลกดีขึ้น โดยนำมา ซึ่งเสรีภาพ
และโอกาสทางด้านเทคโนโลยีให้กับผู้คนที่อยู่ห่างไกล และมีชีวิตยากลำบาก แน่นอนว่าไม่ใช่ทุกคนที่ได้โอกาส
ที่ว่านี้ แต่ ที่สำคัญก็คือ มีผู้ได้ประโยชน์มากกว่าผู้เสียประโยชน์ และในกรณี
ที่มีผู้เสียประโยชน์คนก็มักโทษว่าเป็นเพราะโลกาภิวัตน์โดยไม่ดูถึงต้นตอของปัญหา
ที่แท้จริง ผู้เขียนบอกโลกาภิวัตน์ทำให้เด็กหนุ่มอัฟริกันได้นั่งอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์
แทน ที่จะไปเผาถางป่าอะเมซอน ดังนั้น ปัญหาใหญ่ของอัฟริกาก็คือ ระบอบเผด็จการที่ฉ้อฉล
ไม่ใช่โลกาภิวัตน์ ผู้เขียนยังได้เสนอแนวคิดโต้แย้งผู้ที่ชอบกล่าวโทษโลกาภิวัตน์ว่าเป็นต้นเหตุของปัญหาต่างๆ
ในโลก โดยชี้ว่าโลกาภิวัตน์ทำให้คนงานอเมริกันตามโรงงานตกงาน แต่อย่าลืมว่าลักษณะงานใหม่
ที่มาทดแทนก็คือ งานในภาคบริการ รวมทั้งงานบริการที่ให้ค่าตอบแทนดีด้วย นอกจากนั้น
โลกาภิวัตน์ไม่ได้ทำให้วัฒนธรรมท้องถิ่นล้มหายตายจาก การที่ฮอลลีวู้ดครอบงำโลกภาพยนตร์ก็เพราะสามารถผลิตงาน
ที่มีคุณภาพในแง่ ที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดผู้ชมได้มากกว่าผู้ผลิตภาพยนตร์ท้องถิ่น
แต่ขณะเดียวกัน รายการทางโทรทัศน์ ที่ได้รับความนิยมสูงสุดก็ยังคงเป็นรายการในท้องถิ่น
ส่วนในแง่มุมเรื่องสิ่งแวดล้อม คนก็มักโทษว่าโลกาภิวัตน์เป็นต้นเหตุ ผู้เขียนกลับมีความเห็นว่าความผิดอยู่
ที่รัฐบาลมากกว่า อีกทั้งยังยกตัวอย่างว่า ไม่มีหลักฐาน ที่สรุปได้ว่าบริษัทด้านการศึกษาระดับโลกจำเป็นต้องทำงานดีกว่าหน่วยงานการศึกษาระดับท้องถิ่น
อย่างไรก็ตาม ในตอนท้าย หนังสือก็เสนอแง่มุมความคิด ที่หลากหลาย เพื่อให้ผู้อ่านได้คิด
และทบทวนเกี่ยวกับผลกระทบของเศรษฐกิจโลก ก่อน ที่ผู้อ่านจะสรุปความเห็นของตนเอง