|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ที่ปรึกษาสมาคมนายหน้าอสังหาฯ ชี้ภาวะดอกเบี้ย-การเมืองไร้เสถียรภาพ ฉุดยอดขายบ้านมือสองลดลง 10-15% ขณะที่ลูกค้าลังเลยืดเวลาตัดสินใจซื้อไปอีก 5 เดือน ยอมรับลูกค้ายังคลาดเคลื่อนในมาตรการกระตุ้นตลาดบ้านมือสองอยู่ ด้าน "อนุพงษ์ อัศวโภคิน" ยันหากการเมืองเคลียร์กำลังซื้อกลับมา ระบุยอดขายยังไม่ตกเหตุผู้ประกอบการรายเล็กเริ่มตาย ลูกค้าหันมาพิจารณาแบรนด์รายใหญ่มากขึ้น
นายอภิชาต อาชาเดช ที่ปรึกษาสมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ เปิดเผยถึงสถานการณ์ของตลาดบ้านมือสองในช่วงไตรมาสแรกของปี 25496 ว่ามีปัญหาไม่แตกต่างกับตลาดบ้านใหม่ เนื่องจากตลาดบ้านมือสองได้รับผลกระทบจากปัจจัยอัตราดอกเบี้ย ที่ปรับตัวสูงขึ้น และโดยเฉพาะน้ำหนักเรื่องความไม่มีเสถียรภาพทางการเมืองส่งผลให้ลูกค้าใช้เวลาตัดสินใจซื้อบ้านนานขึ้นถึง 4-5 เดือน จากปกติจะใช้เวลาประมาณ 3 เดือน ทำให้อัตราการเติบโตของยอดขายในช่วงที่ผ่านมาลดลงประมาณ 10-15% ขณะที่ราคาซื้อขายเฉลี่ยก็ลดลต่ำลงจากเดิมที่เคยคิดจะซื้อที่ระดับ 5 ล้านบาทเหลือเพียง 4.5 ล้านบาทเท่านั้น
นอกจากนี้ ในเรื่องมาตรการกระตุ้นตลาด บ้านมือสอง ที่รัฐบาลโดยกระทรวงการคลังได้ผลักดันไปตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2548 คือ การยกเว้นค่าธรรมเนียมการโอนจาก 2% เหลือ 0.01% แต่พบว่าในขณะนี้ทั้งผู้ซื้อและผู้ขายบ้านมือสองหรือบริษัทนายหน้าค้าอสังหาริมทรัพย์ ยังไม่เข้าใจวิธีการดำเนินการเรื่องดังกล่าว ทำให้มีปัญหาขลุกขลักในเรื่องของการซื้อขายขณะเดียวกันเจ้าหน้าที่ที่ดินเองก็ยังไม่สามารถตอบคำถามได้ชัดเจนเช่นกัน ว่าคนที่จะมีสิทธิ์ได้รับการลดหย่อนจากมาตรการดังกล่าวนั้นควรมีคุณสมบัติคือหากผู้ที่ต้องการขายบ้านหลังแรกไปซื้อบ้านหลังที่สอง จะต้องอยู่ในทะเบียนบ้านไม่น้อยกว่า 1 ปี และเมื่อขายไปแล้วจะต้องไปซื้อบ้านใหม่ภายใน 1 ปีเช่นกัน
"ทั้งที่มาตรการดังกล่าวจะหมดอายุในปี 2550 แต่ขณะนี้ทั้งผู้ซื้อและผู้ขายคือนายหน้ายังไม่ทราบเรื่องนี้ถือเป็นการขาดการประชา- สัมพันธ์ทั้งในส่วนของหน่วยงานของรัฐและสมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์" นายอภิชาตกล่าว
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของสมาคมนายหน้า อสังหาฯ ยังคงขยายช่องทางการเข้าถึงทรัพย์ให้มากขึ้น โดยสมาคมฯอยู่ระหว่างรวบรวมข้อมูลเพื่อที่จะเข้าไปซื้อทรัพย์เอ็นพีเอในสถาบัน การเงินต่างๆ เพื่อนำมาให้สมาชิกขายโดยแบ่งเป็นโซนพื้นที่ตามถนัดและมีการแบ่งเฉลี่ยค่าคอมมิชชันกันด้วย แต่ในการซื้อทรัพย์นั้น ทางสมาคมฯมีข้อแม้ว่าจะต้องเป็นทรัพย์ที่ไม่มีลูกหนี้เดิมอาศัยอยู่ อย่างไรก็ตาม การที่ไปซื้อทรัพย์จากสถาบันการเงินนั้น เนื่องประสบผลสำเร็จจากการนำทรัพย์ของบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บสท.) มาขาย นอกจากนี้สมาคม มีแผนที่จะออกหนังสือบ้านมือสองเพื่อรวบรวมบ้านมือสองของสมาชิกที่ต้องการขายมาวางจำหน่ายด้วยโดยออก 2 เดือนครั้ง
อนึ่ง มีการคาดการณ์ถึงผลของมาตรการในระยะ 2 ปี รวมถึงการช่วยเหลือของภาครัฐผ่านการจัดงานมหกรรมบ้านมือสอง ทำให้คาดว่าปีนี้ตลาดบ้านมือสองจะมีการเติบโตขึ้นไม่ต่ำกว่า 30% หรือประมาณ 90,000 ล้านบาท ขณะเดียวกัน หาก พ.ร.บ.ตัวแทนนายหน้าอสังหา- ริมทรัพย์ ที่ขณะนี้อยู่ระหว่างร่างกฎหมาย ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จและมีผลบังคับใช้ในปีนี้จะยิ่ง ส่งเสริมให้การขายบ้านมือสองผ่านตัวแทน นายหน้าฯ เติบโตขึ้นอีก 25-30% หรือกว่า 20,000 ล้านบาท
นายอนุพงษ์ อัศวโภคิน ประธานเจ้าหน้าที่ บริหาร บริษัทเอเชี่ยน พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอป-เม้นท์ จำกัด (มหาชน) หรือ AP กล่าวว่า ปัญหาที่ต้องให้ความสำคัญมากกว่าเรื่องราคาน้ำมันและอัตราดอกเบี้ยก็คือ ปัญหาทางการเมืองที่ยังไม่รู้จะมีความชัดเจนระดับใด ซึ่งลูกค้าให้ความสำคัญกับทิศทางของรัฐบาลชุดใหม่ อย่างไรก็ตาม ก็ยอมรับว่าขณะนี้ภาคเอกชนและประชาชนชะลอการลงทุนใหม่ เพื่อประเมินสถานการณ์ในระยะข้างหน้าจะเป็นอย่างไรบ้าง
"ธุรกิจของผมหากหาที่ดินได้ก็พัฒนาโครงการ แต่หากเป็นธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับกระบวนการผลิต การที่จะลงทุนสร้างโรงงานใหม่เป็นเรื่องยาก โดยเฉพาะในภาวะที่ทุกอย่างคลุมเครือ" นายอนุพงษ์กล่าว
ในส่วนของยอดขายบ้าน นายอนุพงษ์กล่าวว่า ขณะนี้ทำได้ไปแล้วเกือบ 1,800 ล้านบาท หรือเฉลี่ยมียอดขายเฉลี่ย 110-120 ล้านบาท เป็นระดับที่พอใจในภาวะเช่นนี้ โดยสาเหตุหลักมาจากผู้ประกอบการขนาดเล็กได้ล้มหายไปจากตลาด เนื่องมาจากความไม่เอื้ออำนวยของตลาด การควบคุมของธนาคารพาณิชย์ ทำให้ลูกค้าหันมาพิจารณาซื้อบ้านของผู้ประกอบการ
|
|
|
|
|