Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน12 เมษายน 2549
หุ้นไอทีวีร่วงหนัก 2 วัน 24.5% โบรกฯ ชี้นักลงทุนกังวลข้อพิพาทกับ สปน.เยื้อ             
 


   
www resources

โฮมเพจ สถานีโทรทัศน์ไอทีวี

   
search resources

ไอทีวี, บมจ.
Stock Exchange
TV




ราคาหุ้น "ไอทีวี" ร่วงต่อเป็นวันที่ 2 รวมแล้ว 24.50% โบรกเกอร์ชี้นักลงทุนยังกังวลผลตัดสินของศาลปกครอง แม้ว่าจะเลื่อนการตัดสินออกไปเป็นวันที่ 9 พ.ค.นี้ บล.ฟาร์อีสท์เชื่อ คดียืดเยื้อ คาดทั้ง 2 ฝ่ายเตรียมอุทธรณ์หากแพ้คดี ด้านทนายบมจ.ไอทีวี ดิ้นยกคำตัดสินของอนุญาโตตุลาการสู้ อ้างชี้ขาดกรณีทางด่วนศาลยุติธรรมยังยอมรับ

ความเคลื่อนไหวราคาหุ้นบริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) หรือ ITV หลังศาลปกครองนัดไต่สวนกรณีคำร้องของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี หรือ สปน. ได้ยื่นคำร้องให้เพิกถอนคำตัดสินของอนุญาโตตุลาการ เรื่องการจ่าย ค่าสัมปทานที่ให้จ่ายปีละ 230 ล้านบาท จากเดิมที่ต้องจ่ายกว่า 1 พันล้านบาทต่อปี โดยราคาหุ้นวานนี้ (11 เม.ย.) ในช่วงเช้าแม้ว่าราคาหุ้นที่ปรับตัวขึ้นได้ แต่มีเรงเทขายออกมาอย่างหนักส่งผลให้ราคาปิดที่ 7.70 บาท ลดลง 1.40 บาท หรือ 15.38% โดยราคาสูงสุดอยู่ที่ 9.10 บาท ขณะที่ราคาต่ำสุดอยู่ที่ 7.35 บาท มูลค่าการซื้อขาย 411.60 ล้านบาท

ทั้งนี้ ราคาหุ้นปรับตัวลดลงอย่างรุนแรงเป็นวันที่ 2 ส่งผลให้ การปรับตัวลดลงในช่วงระหว่าง วันที่ 10-11 เม.ย. ราคาปรับลดลง 2.50 บาท หรือ 24.50% จากราคาปิดเมื่อวันที่ 7 เม.ย.ที่ผ่านมา

นายอภิสิทธิ์ ลิมปธำรงกุล ผู้ช่วยผู้อำนวยการ ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ เกียรตินาคิน จำกัด กล่าวว่า การที่นักลงทุนเทขายหุ้น ITV ออกมาอย่างหนักเนื่องจากนักลงทุนยังมีความกังวลเกี่ยวกับกรณีที่ศาลปกครองสูงสุดได้เลื่อนฟังคำพิจารณาคดีออกไปเป็นวันที่ 9 พ.ค.2549 ทั้งนี้ คำตัดสินของศาลปกครองสูงสุดจะมีผลต่อรายได้ของ บมจ.ไอทีวีอย่างชัดเจน ประกอบกับปัจจัยทางด้านการเมือง ยังคงมีผลต่อบริษัท ซึ่งจากปัจจัยดังกล่าวทำให้นักลงทุนกังวลและส่งผลต่อจิตวิทยาการลงทุนซึ่งต้องมีการขายออกมาเพื่อป้องกันความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น

อย่างไรก็ตาม บริษัทแนะนำทยอยขาย รวมทั้งหลีกเลี่ยงการลงทุนในหุ้น ITV โดยให้แนวรับไว้ที่ 6 บาท และให้แนวต้านไว้ที่ 8.2 บาท

บทวิเคราะห์บริษัทหลัก-ทรัพย์ฟาร์อีสท์แนะ "หลีกเลี่ยงลงทุน" หุ้น ITV เนื่องจากแม้ว่าศาลปกครองนัดพิจารณาคดีที่สำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) ฟ้องเพิกถอนคำตัดสินอนุญาโตตุลาการ กรณีให้ ITV จ่ายค่าสัมปทานปีละ 230 ล้านบาท จากที่ต้องจ่ายปีละ 1,000 ล้านบาท คาดว่าการตัดสินคดีจะยังไม่ได้ข้อสรุปที่แน่นอน เนื่องจากยังเป็นการพิจารณาคำตัดสินของศาลชั้นต้น คาดว่าคู่กรณีทั้งสองฝ่ายจะยื่นอุทธรณ์ต่อศาลชั้นสูงสุดได้ และคำตัดสินของ ศาลชั้นต้นจะยังไม่มีผลบังคับจนกว่าศาลชั้นสูงสุดจะมีคำวินิจฉัยชี้ขาด ดังนั้น คาดว่าราคาหุ้นมีโอกาสดีดกลับในช่วงสั้น ๆ ได้

เลื่อนตัดสินคดีสัมปทาน

วานนี้ (11 เม.ย.) องค์คณะตุลาการศาลปกครองกลางที่มีนายประพจน์ คล้ายสุบรรณ ตุลาการเจ้าของสำนวนคดีที่ทางสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) ฟ้องบริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) หรือ ITV ขอเพิกถอนคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ ที่ให้ สถานีโทรทัศน์ ไอทีวี ปรับลดสัดส่วน การออกรายการ ซึ่งเป็นรายบันเทิง เพิ่มขึ้นจาก ร้อยละ 30 เป็นร้อยละ 50 และให้ สปน.ต้องชดใช้ค่าเสียหายคืนให้กับไอทีวี เป็นเงินจำนวน 20 ล้านบาท และปรับลดค่าตอบแทน ผลประโยชน์ที่ไอทีวีจะต้องจ่ายให้กับ สปน. เป็นรายปี เหลือ 230 ล้านบาท ได้ออกนั่งบัลลังก์เพื่อพิจารณาคดีครั้งแรก

ทั้งนี้ โดยปกติแล้วการนั่งพิจารณาคดี ครั้งแรกตุลาการสำนวนจะแถลงความเห็นส่วนตัว ที่ไม่ผูกพันองค์คณะ แต่ปรากฏว่าคดีดังกล่าว ตุลาการผู้แถลงคดีได้ขอที่จะแถลงคดีเป็นเอกสารลับต่อองค์คณะ ขณะที่ทางบริษัทไอทีวี ได้มอบหมายให้ นายชัยวัธ มะระพฤกษ์วรรณ ทนายความแถลงปิดคดีด้วยวาจาสรุปว่า สาระสำคัญในคดีนี้อยู่ที่ อำนาจการวินิจฉัยของอนุญาโตตุลาการ ซึ่งสัญญาระหว่าง สปน. และไอทีวีมีข้อตกลง ด้วยความสมัครใจที่จะนำข้อพิพาทเข้าสู่อนุญาโตตุลาการ เมื่อเกิดข้อพิพาทคดีนี้ทั้งสองฝ่ายจึงแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการของแต่ละฝ่ายและเลือกประธานโดยที่คู่กรณี ไม่มีส่วนในการแต่งตั้งประธานอนุญาโตตุลาการ ทราบเพียงแต่ชื่อและตรวจสอบว่า ประธานมีปัญหาขัดแย้งกับอนุญาโตตุลาการอื่นหรือไม่

นายชัยวัธกล่าวว่า ตามหลักสัญญาต้องเป็นสัญญา แต่หากสัญญาไม่เหมาะสมกับยุคสมัยหรือไม่สามารถบังคับได้คู่สัญญาก็มีสิทธิขอ แก้ไขสัญญา คดีนี้ สปน. ทำผิดสัญญาเพราะไม่สามารถควบคุมส่วนราชการอื่นไม่ให้มาละเมิดไอทีวีได้ ไอทีวี จึงขอแก้ไขสัญญาแต่ สปน. เพิกเฉยไอทีวีจึงต้องนำคดีเข้าสู่คณะอนุญาโตตุลาการ เรียกร้องค่าชดเชยความเสียหายตลอดทั้งสัญญาคือ ขอลดค่าสัญญาสัมปทาน 230 ล้านบาทและปรับผังรายการข่าวลงเหลือ 50:50 และให้มีโฆษณาได้โดย ไม่ต้องขอเยียวยาความเสียหายเป็นรายปี

นายชัยวัธ ต่อสู้ในประเด็นข้อกฎหมายว่า เมื่ออนุญาโตตุลาการชี้ขาดแล้วจะถือเป็นที่สุด เหมือนคดีทางด่วนอนุญาโตตุลาการตัดสินให้การทางพิเศษ (กทพ.) จ่ายค่าชดเชยแก่บริษัทเอกชน กทพ. ร้องคัดค้านคำต่อศาลแพ่ง ปรากฏว่า ศาลแพ่งวินิจฉัยว่าคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการถูกต้องเท่านั้นโดยไม่แตะต้องเนื้อหาสัญญา

ทั้งนี้ ทนายความไอทีวี ยังร้องขอศาลสืบพยาน นายธรรมนูญ พิทยาภรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานอนุญาโตตุลาการ ขณะนั้นเป็นรอง ผอ. ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ย ข้อพิพาทในชั้นแรกมาเบิกความถึงขั้นตอนการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการ แต่ศาลเห็นว่า ข้อเท็จจริงเพียงพอแล้วจึงไม่อนุญาตและนัดฟังคำพิพากษา ในวันที่ 9 พ.ค. 49 เวลา 14.00 น.

นายชัยวัธกล่าวอีกว่า คดีนี้เป็นสัญญาทาง ปกครองซึ่งเวลานั้นไม่มีศาลปกครองสามารถใช้อนุญาโตตุลาการระงับข้อพิพาทได้ และในสัญญาของ สปน. กับไอทีวีตั้งแต่แรกก็ตกลงร่วมกันว่าจะใช้อนุญาโตตุลาการตัดสินคดีได้มากน้อย แค่ไหนเมื่อมีการทำผิดสัญญา

"ผมค่อนข้างหนักใจกับคดีนี้ เพราะเดาผลการตัดสินไม่ออกเพราะคดีการต่อสู้ คดีในศาลปกครองเดาใจศาลไม่ถูกว่าศาลจะหยิบยกประเด็นไหนขึ้นมาตัดสิน คดีนี้ยากเพราะเป็นปัญหาข้อกฎหมาย ส่วนตัวไม่กดดันต่อกระแสสังคมที่เฝ้ามองคดีนี้ แต่ถ้าสมมติว่าศาลตัดสินว่าเพิกถอนคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการคดีนี้จะต้องย้อนกลับไปเริ่มต้น ตั้งอนุญาโตตุลาการใหม่ตามสัญญา ซึ่งจะเกิดปัญหากฎหมายและความเสียหายเกิดขึ้นอีกมาก"

นายชัยวัธ กล่าวว่า ทั้งนี้กรณีคดีดังกล่าวสืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 30 ม.ค. 47 อนุญาโต-ตุลาการ ชี้ขาดให้ไอทีวีสามารถเปลี่ยนแปลงผังรายการและได้รับชดเชยความเสียหาย 20 ล้านบาท จากการปล่อยให้สื่ออื่นของรัฐมีโฆษณา แต่ทาง สปน. เห็นว่าอนุญาโตตุลาการ ชี้ขาดไม่ชอบ ด้วยกฎหมายกระทำเกินขอบเขตแห่งสัญญาไม่มีอำนาจชี้ขาดประเด็นค่าเสียหายแต่เป็นเรื่องระหว่าง สปน. กับไอทีวี โดย สปน. ยืนยันว่าไม่ได้ปฏิบัติผิดสัญญากรณีที่สถานีโทรทัศน์ช่อง 7 ต่อสัญญาและเสียค่าสัมปทานน้อยกว่า ไอทีวี และสถานีโทรทัศน์ยูบีซีและสถานีโทรทัศน์ช่อง 11 มีโฆษณาไม่ได้ทำให้เกิดผลกระทบต่อฐานะทางการเงินของไอทีวี

นอกจากนี้ ไอทีวีไม่ใช้สิทธิเรียกร้องภายในกำหนดอายุความ 1 ปี เพราะเสนอข้อพิพาท ต่ออนุญาโตตุลาการเกินกว่า 1 ปี นับแต่รู้หรือควรรู้เหตุแห่งการใช้สิทธิเรียกร้อง และสัญญาเข้าร่วมการงาน ซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งประเด็นพิพาทเป็นข้อที่มีการแก้ไข เพิ่มเติมทำขึ้นมาในภายหลัง ครม.ให้ความเห็นชอบ โดยมิได้มีการนำร่างสัญญานั้นกลับเข้าไปให้ ครม. พิจารณาอีกครั้งถือได้ว่า คู่สัญญามิได้นำพาที่จะร่างสัญญาให้ถูกต้องตามขั้นตอนที่กฎหมายจึงไม่มีผลผูกพันคู่สัญญา

ต่อมาวันที่ 27 เมษายน 2547 สปน. มอบหมายสำนักงานอัยการสูงสุด ยื่นคำร้องขอให้ศาลปกครองกลางเพิกถอนคำชี้ขาดทั้งหมดของอนุญาโตตุลาการ เนื่องจากเป็นคำชี้ขาดที่ไม่อยู่ในขอบเขตของสัญญาอนุญาโตตุลาการ และเกินขอบเขตแห่งข้อตกลงในการเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการเป็นคำชี้ขาด ที่เกี่ยวกับข้อพิพาทที่ไม่สามารถระงับได้โดยอนุญาโต- ตุลาการและการที่จะยอมรับหรือบังคับตามคำชี้ขาดนั้นจะเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us