|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
"ทนง พิทยะ" เตรียมเรียกหม่อมอุ๋ยถกค่าบาท หลังสงกรานต์เพื่อประเมินสถานการณ์ให้ค่าเงินอยู่ในระดับที่เหมาะสม นักค้าเงินเชื่อแบงก์ชาติเข้าแทรกแซง หลังบาทแตะ 37.93 บาทต่อดอลลาร์ ระบุเป็นผล จากการแข็งค่าตามเงินในภูมิภาค ก่อนเด้งขึ้นปิดในระดับใกล้เคียง
นายทนง พิทยะ รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ภายในสัปดาห์หน้าจะหารือกับ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพื่อกำกับดูแลระดับความ เหมาะสมของค่าเงินบาท ซึ่งเชื่อว่าค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นในช่วงนี้เป็น สถานการณ์ระยะสั้น เนื่องจากตั้งแต่ต้นปี 49 เป็นต้นมามีเงินทุนจาก ต่างประเทศไหลเข้ามาในตลาดหุ้น ของไทยกว่า 100,000 ล้านบาท เพื่อเข้ามาซื้อหุ้นของกลุ่มชินคอร์ป และหุ้นในกลุ่มอุตสาหกรรมเหล็ก รวมถึงเข้ามาลงทุนในหุ้นหมวดต่างๆ ด้วย
"เชื่อว่าแบงก์ชาติจะสามารถดูแลค่าเงินบาทให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมและเกิดดุลยภาพได้ ซึ่งระดับของค่าเงินบาทที่เหมาะสม ในขณะนี้ควรอยู่ในระดับประมาณ 39 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แต่อย่างไรก็ตาม มั่นใจค่าเงินบาทที่แข็งขึ้นจะไม่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจอย่างแน่นอน เนื่องจากเป็นการปรับตัวแข็งค่าขึ้นทั้งภูมิภาค และเป็นเหตุการณ์ในระยะสั้นๆ เท่านั้น" นายทนงกล่าว
ขณะที่ ม.ร.ว.ปรีดิยาธรกล่าว ว่า ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นเป็นการปรับตัวแข็งค่าตามค่าเงินสกุลอื่นๆ ในภูมิภาค และยังเป็นระดับที่ ธปท.ยังสามารถรับได้ อย่างไรก็ตาม ธปท.ได้เข้าไปดูแลค่าเงินบาทอย่างใกล้ชิด และจะพยายามไม่ให้ผู้ส่งออกได้รับผลกระทบจากการแข็งค่าขึ้นของเงินบาทในช่วงที่ผ่านมา
ด้านนายบัณฑิต นิจถาวร รองผู้ว่าการ ธปท.ฝ่ายเสถียรภาพการเงินกล่าวว่า ค่าเงินบาทในวันที่ 11 เม.ย.ที่ผ่านมานั้นแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็วมากเกินไป แต่เป็นเพราะมีเงินทุนต่างชาติไหลเข้ามาลงทุนในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง ซึ่ง ธปท.เองก็ได้ติดตามสถานการณ์ นี้อย่างใกล้ชิดอยู่แล้ว
"ในขณะนี้ธปท.ได้เข้าไปติดตามสถานการณ์ ค่าเงินบาทอย่างใกล้ชิด โดยที่ผ่านมานั้นการส่งออกยังคงขยายตัวได้ดีกว่าที่คาดการณ์ไว้ แม้ว่าค่าเงินบาทจะแข็งค่าขึ้น ส่วนที่มีผู้ส่งออกเริ่มออกมาร้องเรียนว่า เริ่มมีปัญหาจากอัตราแลกเปลี่ยน ธปท.จะได้ดูแลในเรื่องนี้อยู่ โดยพยายาม ดูแลไม่ให้ค่าเงินบาทในแต่ละช่วงแข็งค่าขึ้นอย่าง รวดเร็วเกินพอดี" รองผู้ว่าการ ธปท. กล่าว
แบงก์ชาติเข้าแทรกแซงบาทเด้งรับ
นักค้าเงินจากธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่งกล่าวถึงความเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทวานนี้ (11 เม.ย.49) ว่า ค่าเงินบาทวันนี้เปิดตลาดที่ระดับ 38.02/07 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวแข็งค่าสุดของวันที่ระดับ 37.93 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ หลังจากนั้นเด้งกลับขึ้นมาปิดอยู่ในระดับใกล้เคียงกับช่วงเปิดตลาดคือ 38.06 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ โดยการเคลื่อนไหวในระหว่างวันมีความคึกคักพอสมควร
"ค่าเงินบาทแข็งค่าลงอย่างต่อเนื่องจากวานนี้ แต่ก็มีการรีบาวนด์กลับขึ้นมา ซึ่งน่าจะเป็นการเข้ามาแทรกแซงของทางแบงก์ชาติหลังจากที่ค่าเงินบาทลงไปกกว่า 37.95 บาทต่อดอลลาร์ ทำให้นักลงทุนบางส่วนขายค่าเงินบาทตามออกมาเพื่อดูทิศทางอีกครั้งหนึ่ง นักค้าเงิน รายเดิมกล่าว
อย่างไรก็ตาม ค่าเงินบาทน่าจะมีแนวโน้มที่แข็งค่าขึ้นอีก ตามค่าเงินในภูมิภาคโดยเฉพาะ ค่าเงินหยวนที่จะแข็งค่าขึ้นรับข่าวประธานาธิบดี ของจีนจะไปเยือนสหรัฐฯซึ่งน่าจะมีความกดดัน ให้ทางการจีนมีการปรับนโยบายเกี่ยวกับอัตราแลกเปลี่ยน
นางสาวอุสรา วิไลพิชญ์ นักเศรษฐศาสตร์ อาวุโส ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด กล่าวว่า ค่าเงินบาทในช่วงที่ผ่านมาแข็งค่าลงค่อนข้างเร็ว พอสมควรเมื่อเทียบกับเงินสกุลอื่นๆในภูมิภาคโดยเฉพาะเงินเยน โดยตั้งแต่ต้นปีค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นมา 8% ซึ่งในส่วนนี้ก็อาจจะทำให้ความสามารถในการแข่งขันด้านการส่งออกของไทยลดลงบ้าง แต่อย่างไรก็ตาม ในเรื่องนี้จะต้องดูที่คุณภาพของสินค้าที่ส่งออกเป็นสำคัญ หากเป็นสินค้าที่มีคุณภาพก็เพิ่มขึ้นของราคาก็อาจจะไม่ใช่ปัจจัยสำคัญในการซื้อก็ได้ ในทางกลับกัน ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นก็จะทำให้ความกดดันด้านเงินเฟ้อของไทยลดลงด้วย เนื่องจากทำให้ราคาสินค้านำเข้าลดลง
"ในเรื่องนี้เราต้องดูทั้ง 2 ด้าน ทั้งด้านบวกและลบ แม้ว่าค่าเงินที่แข็งขึ้นจะมีผลกระทบต่อศักยภาพในการแข่งขันของผู้ส่งออกในบ้านเรา แต่ก็ต้องดูว่าสินค้าที่เราส่งออกนั้น มีคุณภาพแค่ไหน ถ้าสินค้ามีคุณภาพหรือเป็นสินค้าที่จำเป็น บางครั้งก็อาจจะมองข้ามเรื่องราคา ไปได้ ขณะที่ผลบวกก็มีแรงกดดันด้านเงินเฟ้อจะลดลงเมื่อราคาสินค้านำเข้าลดลง" นางสาว อุสรากล่าว
สำหรับแนวโน้มค่าเงินบาทในช่วงต่อไปนั้น จะต้องดูที่ปัจจัยภายนอกซึ่งค่าเงินในภูมิภาคยังมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นอยู่ โดยเฉพาะกรณีของเงินหยวนซึ่งเป็นที่จับตามองอยู่ว่าจะถูกกดดันให้มีการขยายช่วงการซื้อขายอีกรอบ ขณะที่ปัจจัยภายในนั้น ต้องดูที่เงินจากต่างประเทศที่ไหลเข้ามา แต่ส่วนนี้จะในระยะสั้นๆ ประกอบกับทางการเองก็จะหารือให้มีการดูแลค่าเงินบาทอยู่ และทางรักษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังก็ประเมินค่าเงินบาทที่เหมาะสมในระดับ 39 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
|
|
|
|
|