Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน12 เมษายน 2549
ศูนย์วันสต๊อปหนังถูกดอง หนังเทศบินหนีสู่ออสซี่แทน             
 


   
search resources

Films




ศูนย์วันสต็อปเซอร์วิส ให้บริการออกใบอนุญาตถ่ายทำภาพยนตร์ถูกดอง หลังตกแต่งเสร็จนานแรมเดือน แต่เปิดให้บริการไม่ได้ เหตุต้องรออนุมัติจากที่ประชุม ครม.ก่อน ด้านผอ.สพท. ตอบไม่ได้ว่าจะเปิดให้บริการได้เมื่อใด เพราะยังไร้เงารัฐบาลใหม่ เผยทางออกหันโปรโมต พี-โพสต์ โปรดักค์ชั่นโกยรายได้เข้าประเทศแทน ส่วนรายได้จากธุรกิจภาพยนตร์ปีนี้สิ้นหวังขอโตแค่ 5% จากปีก่อนที่พลาดเป้าโตเพียง 1% อ้างเหตุไฟใต้ และฝนตกหนักตลอดปี กองถ่ายหันไปใช้สตูดิโอที่ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์แทน

นางธนิฏฐา มณีโชติ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาการท่องเที่ยว(สพท.) เปิดเผยว่า ปัจจุบันแม้ว่าสำนักงานของศูนย์บริการธุรกิจถ่ายทำภาพยนตร์ หรือศูนย์วันสต็อปเซอร์วิส จะตกแต่งแล้วเสร็จพร้อมใช้งานแล้วก็ตาม แต่ก็ยังไม่สามารถเปิดให้บริการได้ เนื่องจากยังต้องรอมติจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในเรื่องของการจัดขอบุคลากรจากหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เพื่อมานั่งให้บริการในศูนย์ดังกล่าวนี้ด้วย

ทั้งนี้ สพท. ได้ตกแต่งสถานที่โดยใช้อาคารชั้นเดียว ที่ตั้งอยู่ด้านหน้าอาคารสำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว ซึ่งตามแผนเดินจะใช้สถานที่แห่งนี้เป็นศูนย์อาหาร บริการสำหรับเจ้าหน้าที่และผู้ที่มาติดต่อ แต่เมื่อมีแนวคิดตั้งศูนย์วันสต็อบเซอร์วิส สพท.จึงแบ่งพื้นที่ส่วนหนึ่งตกแต่งเป็นออฟฟิศซึ่งเสร็จมาหลายเดือนแล้วตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมา แต่ตอนนี้ก็ยังเปิดบริการไม่ได้ เพราะส่งเรื่องขอเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการออกใบอนุญาตถ่ายทำภาพยนตร์ไปนานแล้ว แต่ยังไม่ถูกบรรจุในวาระที่จะเข้าเสนอ ครม.เสียที จนกระทั่งพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีประกาศยุบสภา ล่าสุดศูนย์อาหารเปิดให้บริการแล้ว แต่ศูนย์บริการธุรกิจถ่ายทำภาพยนตร์ยังไม่สามารถทราบว่าจะเปิดให้บริการได้เมื่อใด

สำหรับปีนี้ นอกจากการโปรโมตให้กองถ่ายทำภาพยนตร์เข้ามาใช้สถานที่ในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้นแล้ว สพท.ยังมีนโยบายสนับสนุนธุรกิจให้บริการ ก่อน และหลัง การถ่ายทำภาพยนตร์ หรือ พีโปรดักค์ชั่น และโพสต์โปรดักค์ชั่น ชูจุดขายที่อัตราค่าบริการที่ถูกกว่าเมื่อเทียบกับประเทศออสเตรเลีย โดยปีก่อนธุรกิจนี้เติบโตถึง 30% หรือสร้างรายได้เข้าประเทศไม่น้อยกว่า 1 พันล้านบาทเช่นกัน

ปัจจัยลบเพียบหนังฟอร์มใหญ่เมิน

ในส่วนของรายได้ที่จะมาจากธุรกิจถ่ายทำภาพยนตร์ปีนี้ ตั้งเป้าเติบโตไว้น้อยมาก หรือประมาณ 5% จากปีก่อน ส่วนหนึ่งเป็นเพราะความไม่พร้อมในหลายเรื่องของประเทศไทย เช่น ศูนย์บริการวันสต็อบเซอร์วิสที่ยังไม่สามารถให้บริการได้ ตลอดจนปัญหาเรื่องการขอลดหรือยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม(VAT) ให้กับกองถ่ายทำภาพยนตร์ที่มาจากต่างประเทศ ตรงนี้ทำให้ในช่วง 1-2 ปี ที่ผ่านมาไม่ค่อยมีภาพยนตร์ฟอร์มใหญ่ หรือภาพยนตร์จากฮอลลีวู๊ด เข้ามาถ่ายทำในประเทศไทย แต่หันไปใช้สถานที่ถ่ายทำที่ ออสเตรเลีย ,นิวซีแลนด์ ทดแทน เพราะได้รับสิ่งอำนวยความสะดวกมากกว่า และยังมีสตูดิโอถ่ายทำขนาดใหญ่มาตรฐานสากลด้วย

อย่างไรก็ตาม ปี 2548 ที่ผ่านมา มีรายได้จากการถ่ายทำภาพยนตร์ตลอดทั้งปีเพียง 1,138 ล้านบาท เติบโตเพียง 1% ทั้งที่ตั้งเป้าไว้ว่าจะเติบโตถึง 10% ทั้งนี้เป็นเพราะปัจจัยลบเรื่องภัยก่อการร้ายใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และปัญหาสภาพภูมิอากาศ เพราะปีที่ผ่านมา ประเทศไทยมีฝนตกมาก และยาวนาน บางพื้นที่มีน้ำท่วม ทำให้กองถ่ายไม่สามารถเข้าไปถ่ายทำภาพยนตร์ได้

สำหรับปีนี้ ช่วง 3 เดือนที่ผ่านมามีรายได้จากธุรกิจถ่ายทำภาพยนตร์เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 80% ซึ่งหากเทียบกับปี 2547 ก่อนเกิดสึนามิก็ยังมีอัตราเติบโตกว่าเล็กน้อย โดยกองถ่ายทำที่เข้ามาส่วนใหญ่เป็นภาพยนตร์โทรทัศน์ ภาพยนตร์โฆษณา และมิวสิควิดีโอ เช่น ภาพยนตร์ทีวีจากประเทศสหรัฐอเมริกา เข้ามาถ่ายทำประมาณ 3-4 เรื่อง มูลค่าเรื่องละ 150-200 ล้านบาท นอกจากนั้นก็มีภาพยนตร์เรื่องสั้นจากอินเดีย และ ญี่ปุ่น ที่ยื่นขออนุญาตเข้ามาจำนวนมาก   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us