Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มิถุนายน 2539








 
นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2539
"บ้านสวนริมคลอง-บางปะอิน ความท้าทายครั้งใหญ่ของแปลน"             
โดย อรวรรณ บัณฑิตกุล
 

   
related stories

"ตำนานของคน 7 คน กับ "แปลน" ที่เปลี่ยนไปแล้ว"
"ไปปลูกกล้วยในสวนของ 'ผู้ถือหุ้นใหญ่' กันเถอะ"

   
search resources

แปลนเอสเตท
นิคม ศิริมาลา
Real Estate




บ้านสวนริมคลองบางมดหลังฝนตกกลางเดือนเมษายนวันนั้นดูชุ่มฉ่ำสดชื่น จากโครงการที่เริ่มเปิดขายเมื่อปี 2534 วันนี้บ้านสวนริมคลองแห่งนี้สร้างเสร็จ และโอนให้ลูกค้าหมดเรียบร้อยแล้ว โครงการซึ่งมีทั้งหมด 244 หน่วย เริ่มมีคนเข้ามาอยู่ตั้งแต่กลางปี 2537 ปัจจุบันมีผู้ทยอยเข้ามาอยู่แล้วอย่างถาวร ประมาณ 80 หลัง และยังมีลูกบ้านอีกประมาณ 20 หลังที่จะมาใช้ชีวิตที่นี่เฉพาะวันศุกร์ เสาร์ และอาทิตย์

บ้านสวนริมคลองบางมดจะมีทั้งบ้านและที่อยู่ติดคลองบางมด บางส่วนก็จะติดคลองยายวัน ซึ่งเป็นลำคลองเล็ก ๆ ที่เข้าไปในร่องสวนของชาวสวนย่านนั้น และส่วนที่เหลือไม่ติดคลองแต่จะมีส่วนกลางแทน

เมื่อมีที่ส่วนกลางเป็นสัดส่วนที่สูง การจัดเก็บค่าส่วนกลางเพื่อเป็นหลักประกันในการดูแลความสวยงามเรียบร้อยของหมู่บ้านให้คงอยู่ตลอดไปเป็นเรื่องสำคัญ

นิคม ศิริมาลา หัวหน้าบริหารหมู่บ้าน เล่าให้ฟังว่า บ้านแต่ละหลังของที่นี่ เก็บค่าส่วนกลาง 5.8 หมื่นบาทต่อหลัง ซึ่งเงินจำนวนนี้คาดว่า ในอัตราค่าครองชีพที่ขึ้นเฉลี่ย 15% ต่อปีนี้จะไม่มีการเรียกเก็บอีกเลยในระยะเวลาประมาณ 4 ปี แต่หลังจากนั้นคณะกรรมการหมู่บ้านจะต้องกำหนดจำนวนเงินอีกครั้งหนึ่งในการจ่ายเงินนั้นลูกบ้านได้จ่ายมาแล้วพร้อม ๆ กับการดอนบ้านโดยเริ่มนับปีที่ 1 ตั้งแต่ปี 2537 ที่ผ่านมา

เงินส่วนนี้บริษัทแปลนเอสเตทจะไม่เข้ามาเกี่ยวข้องเลยลูกบ้านจะต้องสั่งจ่ายในบัญชีของกองทุนบ้านสวนริมคลองบางมด โดยใน 3 ปีแรกซึ่งยังมีคนเข้ามาอยู่เป็นจำนวนน้อยนี้ จะบริหารโดยคณะกรรมการหมู่บ้าน ซึ่งเป็นตัวแทนของลูกบ้านร่วมกับทางบริษัท แต่ในระยะยาวจะเป็นการบริหารจัดการโดยคณะกรรมการหมู่บ้านเอง ในชุมชนบางมดเพิ่งมีการเลือกตั้งคณะกรรมการ 7 คนครั้งแรกเมื่อต้นเดือนเมษายนนี้เอง

สำหรับเงินกองทุนส่วนนี้ จะถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งจะถูกกันไว้เสียค่าใช้จ่ายประจำ คือค่าดูแลสาธารณูปโภคส่วนกลางทั้งหมด เช่นการรักษาความปลอดภัย ค่ารักษาความสะอาด การซ่อมบำรุงระบบไฟฟ้า

ส่วนที่ 2 คือการนำเงินไปฝากธนาคารเพื่อเอาดอกเบี้ยที่ได้มาเสียค่าส่วนกลางแต่ละเดือน

"ปัจจุบันเรามีเงินฝากประมาณ 11 ล้าน ได้ดอกเบี้ยเดือนละ 1 แสนบาทซึ่งไม่พอค่าส่วนกลาง ดังนั้นหน้าที่ของคณะกรรมการชุดนี้ต้องคิดด้วยว่าจะบริหารเงินอย่างไรให้มีดอกเบี้ยมากกว่านี้แต่ต้องปลอดภัยด้วย"

ค่าใช้จ่ายที่หนักในการดูแลหมู่บ้านที่บางมดก็คือ ค่า รปภ. ที่มีประมาณ 10 คน และค่าดูแลสวนส่วนกลาง

บ้านสวนกรุงเทพกรีฑาจะใช้หลักการเก็บค่าส่วนกลางและการบริหารเงินของทุนหมู่บ้านเช่นเดียวกัน โดยจัดเก็บในราคาประมาณ 4,000 บาทต่อตารางวา ระยะเวลาประมาณ 4-5 ปีก็จะมีการเรียกเก็บใหม่อีกครั้ง

ส่วนโครงการที่บางปะอินนั้นจะเก็บค่าส่วนกลาง 871 บาท ต่อตารางวาคาดว่า 4-5 ปีจะเรียกเก็บใหม่อีกครั้งเช่นกัน ซึ่งเงินก้อนนี้กำหนดให้จ่ายเงินก่อนวันโอน โดยให้ผ่อนส่งเป็นงวด ๆ ได้

ชุมชนที่บางมด และชุมชนที่กรุงเทพกรีฑา เป็นบ้านหลังที่ 1 ซึ่งจะมีคนอยู่อาศัยประจำ ปัญหาในการจัดเก็บค่าส่วนกลางในระยะต่อไปอาจจะมี ดังเช่นหมู่บ้านจำนวนมากกำลังประสบปัญหาโดยทั่วไป

แต่ที่น่าเป็นห่วงคือบ้านหลังที่ 2 ที่บางปะอิน ซึ่งจะมีคนเข้าไปใช้ชีวิตส่วนใหญ่เฉพาะวันหยุดสุดสัปดาห์ การตามเก็บค่าส่วนกลางในระยะเวลาต่อไปอาจจะสร้างปัญหาให้กับคณะกรรมการแน่นอน

ที่ผ่านมาแม้แปลนจะมีบทเรียนในการบริหารโครงการอื่น ๆ มาแล้วก็ตามแต่ส่วนใหญ่เป็นโครงการเล็ก ๆ เช่น ปาริจฉัตถ์อพาร์ทเม้นท์มีเพียง 12 ยูนิต สิทธาคารคอนโดมิเนียมมีเพียง 20 ยูนิต เมื่อคนอยู่น้อยปัญหาก็น้อย แต่ตอนนี้แปลนจะต้องดูแลจัดการในโครงการที่ใหญ่ขึ้น

แน่นอนไม่มีคำตอบใดเป็นสูตรสำเร็จตายตัว แปลนต้องเข้าไปค้นหาคำตอบนี้ด้วยตนเอง พร้อม ๆ กับจัดการแก้ไข และหสวิธีการว่าจะบริหารชุมชนให้คนในหมู่บ้านมีความสุขที่สุดได้อย่างไร

แปลนเป็นองค์กรที่ทำงานกับคนมาตลอด จิตสำนึกในเรื่องนี้คือความมั่นใจของกลุ่มลูกค้าที่ควักกระเป๋าซื้อโครงการเหมือนกัน

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us