Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน10 เมษายน 2549
"คลัง"วุ่นหาทางออกแปรรูปกฟผ.หวั่นเอ็นจีโอยื่นศาลถอนหุ้นปตท.             
 


   
www resources

โฮมเพจ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
โฮมเพจ กระทรวงการคลัง
โฮมเพจ บริษัท กฟผ. จำกัด (มหาชน)

   
search resources

ปตท., บมจ.
กระทรวงการคลัง
กฟผ., บมจ.




คลังเร่งหารือกฤษฎีกาทางออกแปรรูปกฟผ. ระบุยอมรับคำสั่งศาลปกครองสูงสุดแต่ติดปัญหาธุรกรรมที่ทำขึ้นจะแก้ไขต่ออย่างไร หวั่นมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคยื่นถอนหุ้นปตท.ออกจากตลาดจี้สคร.เข้าชี้แจงรายละเอียดหาทางป้องกัน เบื้องต้นเชื่อทำถูกต้องไม่มีปัญหาแต่อย่างใด แต่ห่วงดึงประเด็นผลประโยชน์ทับซ้อนมาเล่นงาน วอนทุกฝ่ายให้มองผลประโยชน์ที่ประเทศได้รับมากกว่าเรื่องอื่น

นายไชยยศ สะสมทรัพย์ รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะกำกับดูแลสำนักงานนโยบายรัฐวิสาหกิจ(สคร.) เปิดเผยว่า กรณีที่ศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษาให้ยกเลิกพระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ.) ที่เกี่ยวข้องกับการแปรรูป กฟผ. 2 ฉบับ คือ พระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ.) กำหนดอำนาจ สิทธิ และประโยชน์ของบริษัท กฟผ.จำกัด (มหาชน) พ.ศ.2548 และ พ.ร.ฎ.กำหนดเงื่อนเวลายกเลิกกฎหมายว่าด้วยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พ.ศ.2548 นั้น ทางสคร.ได้ดำเนินการหารือกับสำนักงานกฤษฎีกาว่าจะหาทางออกในเรื่องนี้อย่างไร

เนื่องจากในช่วงเวลาที่จัดตั้งเป็นบมจ.กฟผ. นั้นได้มีการดำเนินธุรกรรมสัญญาต่างๆ ไปหลายเรื่อง ซึ่งเรื่องนี้ผู้ที่รับผิดชอบโดยตรงหรือเจ้าภาพที่แท้จริงคือกระทรวงพลังงาน แต่กระทรวงการคลังในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่จำเป็นจะต้องเข้าไปรับรู้เพื่อหาทางแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นนี้ให้ได้

"เมื่อศาลปกครองมีมติแล้วว่าพระราชกฤษฎีกาทั้ง 2 ฉบับเป็นโมฆะก็ต้องยอมรับกับเรื่องที่เกิดขึ้นและช่วยกันหาทางออกกับเรื่องที่เกิดขึ้น ธุรกรรมที่ได้ลงมือทำไปแล้วต้องมาตีความว่าเป็นโมฆะหรือไม่อย่างไร ต้องไปปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายเพื่อช่วยกันแก้ไขช่วยกันถอดชนวนนี้" นายไชยยศกล่าว

สำหรับกรณีที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคเตรียมยื่นให้ศาลปกครองสูงสุดตีความถอดหุ้นบมจ.ปตท.ออกจากตลาดนั้น นายไชยยศกล่าวว่า ในช่วงที่ปตท.ดำเนินการกระจายหุ้นเพื่อระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในครั้งแรกเมื่อปีพ.ศ.2544 นั้น เขาไม่ได้เป็นผู้รับผิดชอบกำกับดูแลสคร.จึงไม่ทราบรายละเอียดในเรื่องนี้ แต่ได้เรียกสคร.เข้ามาชี้แจงรายละเอียดในสาระสำคัญประมาณ 7 - 8 เรื่อง ซึ่งในเบื้องต้นเท่าที่รับรายงานก็ไม่พบว่าการแปรรูปและกระจายหุ้นของปตท.นั้นขัดต่อกฎหมายแต่อย่างใด

โดยประเด็นที่ปตท.ได้รับการจับตามองจากหลายๆ ฝ่ายที่น่าจะเป็นปัญหาที่สุดน่าจะเป็นเรื่องของผลประโยชน์ทับซ้อน เนื่องจากการกระจายหุ้นในครั้งนั้นประเด็นที่หลายๆ ฝ่ายจับตามองมากคือกลุ่มทุนของพรรคไทยรักไทยโดยตระกูลจึงรุ่งเรืองกิจ และมหากิจศิริเป็นกลุ่มที่ได้รับหุ้นจากการจองในครั้งนี้มากที่สุด ซึ่งเมื่อดูในภาพรวมแล้วสัดส่วนผู้ถือหุ้น ณ วันที่ 20 กันยายน 2548 บุคคลธรรมดาและสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ถือหุ้นรวมกันเพียง 5.8% ของจำนวนหุ้นทั้งหมดเท่านั้น ซึ่งหุ้นจำนวน 70% ยังเป็นกระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่และที่เหลือเป็นนักลงทุนสถาบันและกองทุนรวมเป็นผู้ถือ

ทั้งนี้การกระจายหุ้นในครั้งนั้นส่วนใหญ่จะเป็นการขายให้กับสถาบันและกองทุนรวมมากเนื่องจากสามารถรับประกันการจำหน่ายได้อย่างแน่นอน แต่สถาบันหรือกองทุนรวมที่เข้ามารับซื้อจะมีใครใช้เป็นนอมินีหรือไม่ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ต้องนำมาพิจารณา สิ่งที่ควรรับฟังมากที่สุดในตอนนี้คือเรื่องรายได้ที่ส่งเข้ารัฐ โดยก่อนกระจายหุ้นที่ปตท.ยังเป็นรัฐวิสาหกิจอยู่นั้นในปี 2542 มีการส่งรายได้เข้ารัฐ 4.7 พันล้านบาท แต่เมื่อกระจายหุ้นในปี 2544 ในไตรมาสสุดท้าย(ต.ค. -ธ.ค.) ส่งรายได้เข้ารัฐในรูปแบบเงินปันผลและภาษีถึง 5 พันล้านบาท และล่าสุดในปี 2548 จ่ายเงินปันผลและภาษีสูงถึง 3.9 หมื่นล้านบาท จึงอยากให้มองในจุดนี้บ้าง

"การแปรรูปรัฐวิสาหกิจแต่ละตัวนั้นมีความจำเป็นหรือไม่ต้องดูที่ความมั่นคงและความเกี่ยวโยงกับสังคม การแปรรูปเป็นการเข้าไประดมทุนในตลาดถ้าหากยังเป็นรัฐวิสาหกิจอยู่ก็จะกลายเป็นภาระของรัฐบาลต่อไป แทนที่จะนำเงินส่วนที่ซับพอร์ตตรงนี้มาพัฒนาประเทศในส่วนอื่นก็เป็นการเสียโอกาสไป แต่อย่างไรก็ตามการแปรรูปก็ต้องคำนึงด้วยว่าตัวไหนน่าทำตัวไหนไม่น่าทำ ให้เกิดผลกระทบต่อสังคมน้อยที่สุดและมีความโปร่งใสมากที่สุด" นายไชยยศกล่าว   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us