|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ยัวซ่าแบตเตอรี่ เตรียมเพิ่มกำลังผลิตปี 50 คาดใช้งบลงทุนไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาท หลังมีลูกค้าจากแอฟริกาให้ความสนใจที่จะนำสินค้าไปจำหน่าย และพันธมิตรที่ใช้แบตเตอรี่ของบริษัทเดินหน้าลุยหาโครงการเพิ่ม แจงซื้อเครื่องจักรจาก GYIN เพื่อต้องการลดอัตราของเสีย หลังต้นทุนเพิ่มและการปรับราคาขายสินค้ายังทำไม่ได้
นายศุภวัส พันธุ์วัฒน์ รองประธานกรรมการบริหาร บริษัท ยัวซ่าแบตเตอรี่ ประเทศไทย จำกัด (มหาชน)(YUASA) เปิดเผยว่าการที่บริษัทได้ซื้อเครื่องจักร กับบริษัท จีเอส ยัวซ่า อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (GYIN) ซึ่งเป็นบริษัท เกี่ยวโยงกัน จำนวน 1 รายการ ประมาณ 14.26 ล้านบาท เมื่อเดือนที่ผ่านมานั้น
สำหรับการซื้อเครื่องจักรดังกล่าว เป็นเครื่องจักรซึ่งได้รับการพัฒนาขึ้นและเป็นเทคโนโลยีเฉพาะของบริษัท GYIN เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและลดอัตราของเสียจากการผลิตโดยรวม เมื่อพิจารณาจากข้อมูลการทดสอบของบริษัทในช่วงเดือนกันยายน 2548 - กุมภาพันธ์ 2549 ที่ผ่านมา พบว่าอัตราของเสียโดยรวมจากเดิมในเดือนกรกฎาคม - สิงหาคม 2548 ก่อนการทดสอบใช้เครื่องจักรมีค่าเฉลี่ยประมาณร้อยละ 3.62-3.84 หลังจากนั้นตัวเลขลดลงจากเดิมตลอดเวลาลงเหลือประมาณร้อยละ 0.45-0.65 ในเดือน กุมภาพันธ์ 2549 หรือเอิลดลงประมาณร้อยละ 83 เมื่อเทียบกับข้อมูลก่อนการทดสอบ
“การที่เราลงเครื่องจักรใหม่ เป็นเครื่องจักรของการผลิตแบตเตอรี่สำหรับรถมอเตอร์ไซด์ แต่รถยนต์เรายังไม่ได้เพิ่มส่วนใด เหตุผลหนึ่ง เพราะต้นทุนของเราเพิ่มขึ้น แต่ไม่อาจปรับราคาสินค้าที่จำหน่ายได้ จึงต้องหาวิธีลดต้นทุนในการผลิต ”นายศุภวัฒน์กล่าว
โดยเฉพาะต้นทุนตะกั่วที่ปรับขึ้นมาตั้งแต่ปีที่ผ่านมา บริษัทที่ไม่มีโรงหลอมตะกั่วก็ต้องรับภาระเพิ่ม จะไม่ได้รับผลกระทบมากก็เฉพาะบริษัทที่มีโรงหลอมเองอย่างบริษัทใหญ่ ๆ บางแห่งเท่านั้น ซึ่งทำให้ต้นทุนต่ำกว่าบริษัทเล็ก ๆ และยังมีการจัดโปรโมชั่นเพื่อแข่งขันราคากันด้วย
นายศุภวัฒน์ กล่าวถึง ผลการดำเนินงานปีนี้ว่าอาจขยายตัวไม่มาก โดยตั้งเป้ายอดขายไว้ไม่ต่ำกว่า 1,300 ล้านบาท ขณะที่กำไรประมาณการได้ยาก เนื่องจากต้นทุนการผลิตที่ยังสูงและการปรับราคาขายแบตเตอรี่ก็ยังทำไม่ได้ จึงคาดเดาได้ยาก ขณะที่ไตรมาสแรกปีนี้ยังบอกตัวเลขที่ชัดเจนได้ยาก เนื่องจากขณะนี้อยู่ในระหว่างการส่งข้อมูลงบการเงินให้กับผู้ตรวจสอบบัญชี
โดยแบตเตอรี่รถมอเตอร์ไซด์จากปีที่ผ่านมาพบว่าความต้องการใช้เพิ่มไม่ถึง 5% ขณะที่แบตเตอรี่รถยนต์ยังเติบโตได้ต่อเนื่อง โดยเฉพาะรถกระบะที่ยอดขายรถชนิดนี้ยังขายได้ สวนทางกับรถชนิดอื่น แต่ YUASA ยังต้องเพิ่มกำลังการผลิตการแบตเตอรี่รถมอเตอร์ไซด์ เนื่องจากปัจจุบันบริษัทผลิตแบตเตอรี่ให้กับค่ายฮอนด้าเท่านั้น ซึ่งมีกำลังการผลิตที่ 2.5 ล้านลูกต่อปี
“เราจะทำการตลาดเพิ่มขึ้น ด้วยการเพิ่มกำลังการผลิตให้มากขึ้นกว่าแต่ก่อน รองรับการทำตลาดที่เพิ่มขึ้น หากเราต้องการลูกค้าที่หลากหลาย ” นายศุภวัสกล่าว
สำหรับเป้าหมายการขยายกำลังการผลิตในส่วนของแบตเตอรี่รถยนต์เพิ่มขึ้นด้วย โดยคาดว่าจะเริ่มได้ในปี 50 เพื่อขยายกำลังการผลิตเพิ่มจาก 9 แสนลูกต่อปีเป็น 1.2-1.3 ล้านลูกต่อปีสำหรับแบตเตอรี่รถยนต์ และส่วนหนึ่ง ของการเพิ่มกำลังการผลิต เกิดจากปีนี้มีลูกค้าจากแอฟริกาเดินทางมาเยี่ยมชมโรงงานและให้ความสนใจที่จะติดต่อเป็นพันธมิตรทางการค้า เพื่อนำแบตเตอรี่ของYUASA ไปจำหน่ายในประเทศแถบนั้น และหากลูกค้าแสดงความจำนงเข้ามาว่าต้องการสินค้า จะทำให้บริษัทไม่อาจรับออร์เดอร์ได้ ดังนั้น การเพิ่มกำลังการผลิตครั้งนี้ เป้าหมายหนึ่งเพื่อรองรับคำสั่งจากลูกค้าที่อาจมีเข้ามาในช่วงหลังจากนี้
“ลูกค้าเขาสนใจและเข้ามาเจรจากับเรา เราได้ส่งแบบและราคาไปให้เขาดูแล้ว คาดว่าน่าจะรู้ผลได้ในไตรมาส 2 นี้ และหากมีออร์เดอร์เข้ามาจริง เราคงไม่อาจส่งแบตเตอรี่ให้เขาได้ทัน เราจึงต้องเตรียมแผนการเพิ่มกำลังการผลิตของเราไว้ เพราะขณะนี้กำลังการผลิตของเราก็เต็มที่แล้ว ” นายศุภวัส กล่าว
นายศุภวัส กล่าวต่อว่า นอกจากลูกค้าต่างชาติแล้ว YUASA ยังจะได้อานิสงส์จากโครงการของบริษัท โซลาร์ตรอน จำกัด(มหาชน) ด้วย เพราะบริษัทดังกล่าว ใช้แบตเตอรี่ของ YUASA ในการติดตั้งระบบเซลล์แสงอาทิตย์และนอกจากนี้แล้ว โซลาร์ตรอน ยังจะเดินสายไปลุยตลาดประเทศเพื่อนบ้านอีกทั้งโครงการอื่น ๆ ในประเทศที่จะเกิดขึ้น ซึ่งจะทำให้ YUASA ได้รับผลดีด้วย
นอกจากนี้ หากประเทศไทยมีการใช้รถยนต์ระบบไฮบริดจ์ ที่จะต้องใช้แบตเตอรี่ ก็จะดีต่อผู้ผลิตแบตเตอรี่ แต่ระบบนี้ถือว่ายังเป็นระบบใหม่ที่ในไทยคงอีกนานกว่าจะเกิดขึ้น
นายศุภวัส กล่าวว่า หากต้องเพิ่มกำลังการผลิตอีก ก็ต้องใช้เงินทุนไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาทและคงเป็นการกู้จากสถาบันการเงินเพื่อใช้ในการขยายกำลังการผลิตดังกล่าว แต่ก็เป็นเรื่องที่ต้องได้ข้อสรุปจากลูกค้าก่อน จึงจะตัดสินใจได้ว่าจะเกิดขึ้นช่วงใด
|
|
|
|
|