Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มิถุนายน 2539








 
นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2539
"เศรษฐพร คูศรีพิทักษ์ ทูตดาวเทียมที่ต้องโคจรรอบโลก"             
 


   
search resources

เศรษฐพร คูศรีพิทักษ์
Telecommunications




ยิ่งดาวเทียมได้รับความนิยมใช้ในการสื่อสารเพิ่มขึ้นเท่าใด ปัญหาขาดแคลนวงโคจรยิ่งทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว

การยิงดาวเทียมใช่ว่าจะยิงก็ทำได้ทันที ไม่เพียงแค่จัดส่งดาวเทียมให้ขึ้นอยู่บนห้วงอวกาศให้อยู่รอดปลอดภัยเท่านั้น

แต่ตำแหน่งวงโคจรมีความสำคัญต่อธุรกิจดาวเทียมไม่ยิ่งหย่อนกัน เพราะจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อการกำหนดพื้นที่ให้บริการของดาวเทียมดวงนั้น ๆ โดยเฉพาะดาวเทียมค้างฟ้าที่จะต้องมีตำแหน่งตายตัว และการวางตำแหน่งของดาวเทียมนั้นถูกกำหนดไม่ควรจะอยู่ใกล้กันเกิน 2 องศา เพราะจะเกิดปัญหาเรื่องสัญญาณรบกวนกัน

แม้กระทั่งดาวเทียมไทยคมเองก็ต้องประสานงานกับดาวเทียมดวงอื่น ๆ ในเรื่องตำแหน่งวงโคจรอยู่ตลอดเวลา แม้ว่าจะยิงขึ้นไปแล้วก็ตามแต่ปัญหาไม่ได้จบลงแค่นั้น

"พอมีดาวเทียมก็ต้องเตรียมใจไว้เลยว่าต้องมีเรื่องประสานวงโคจรและความถี่กับประเทศต่าง ๆ ตลอดเวลา ไม่ใช่ยิงแล้วก็แล้วกัน" เศรษฐพร คูศรีพิทักษ์ รองอธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลขกล่าว

เศรษฐพรเป็นตัวแทนของเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานรัฐ คือ กรมไปรษณีย์โทรเลขที่ต้องรับภาระหน้าที่นี้โดยตรง เขาจึงเป็นผู้หนึ่งที่ต้องเดินทางไปเจรจาประสานงานตำแหน่งวงโคจรให้กับดาวเทียมไทยคม 1 ซึ่งเป็นดาวเทียมดวงแรกของไทย จนกระทั่งปัจจุบันภารกิจของเขาไม่ได้จบลง

"ช่วง 5 ปีมานี้ผมต้องเดินทางไปต่างประเทศทุกเดือน เพื่อประสานงานในเรื่องวงโคจร และความถี่ แม้ว่าจะไม่มีปัญหาเรื่องวงโคจรใกล้กันก็ตาม แต่ยิ่งมีดาวเทียมยิงขึ้นไปมากเท่าใด ก็ยิ่งต้องประสานงาน และการเจรจาแต่ละครั้งไม่ใช่ว่าจะเสร็จสิ้นลงในครั้งเดียว" เศรษฐพรกล่าว

จะว่าไปแล้ว ภารกิจของเศรษฐพรก็เปรียบเหมือนนักการทูต แต่ไม่ใช่เชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศดังเช่นนักการทูตคนอื่น แต่เป็นนักการทูตที่ต้องเจรจาเรื่องตำแหน่งวงโคจรเพียงอย่างเดียว

ที่สำคัญดาวเทียมนั้นเป็นของใหม่ของไทย แม้เศรษฐพรจะจบทางด้านรัฐศาสตร์ ทั้งในระดับปริญญาตรี และโท มีประสบการณ์ในกรมไปรษณีย์โทรเลขมาหลายสิบปี และยังเป็นอาจารย์พิเศษสถาบันการศึกษาต่าง ๆ จนล่าสุดได้รับการแต่งตั้งให้เป็นศาสตราจารย์พิเศษ ประจำคณะวารสารศาสตร์ และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แต่การเจรจาประสานงานเรื่องดาวเทียมไม่ได้บรรจุอยู่ในตำรา จึงต้องเรียนรู้จากประสบการณ์ที่เกิดขึ้นล้วน ๆ

"ตอนนั้นทั้งผมและชินวัตรเองก็ไม่เคยมีประสบการณ์มาก่อน ทางชินวัตรก็เลยต้องว่าจ้างที่ปรึกษาจากสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีประสบการณ์เรื่องของดาวเทียมมาช่วยในเรื่องนี้" เศรษฐพร เล่า

จุดสำคัญของการเจรจาเศรษฐพรชี้แจงว่า ต้องผสมผสานกันทั้งความรู้ในเรื่องเทคนิคของดาวเทียม ทางการทูต ตลอดจนจิตวิทยาในการเจรจา ดังนั้นการไปประสานงานในแต่ละครั้งจะมีทีมเวิร์คพร้อมอุปกรณ์ไฮเทค เพื่อช่วยในการคำนวณอย่างครบครัน

"เวลาประชุม เมื่อมีการยกประเด็นทางเทคนิคขึ้นมา เช่นว่าหากให้ขยับไปอยู่ในวงโคจรอีกตำแหน่งจะกระทบอย่างไร ทีมเวิร์คจะต้องรับคำนวณออกมาทันทีเลยว่า ลูกค้าที่เช่าวงโคจร เช่น วีแซท ไดเร็กต์ทูโฮมทีวี จะได้รับผลกระทบอย่างไรบ้าง ดังนั้นในการประชุมจะมีเบรกตลอดเวลาเพื่อมานั่งคำนวณกัน" เศรษฐพรอธิบาย

ข้อพิพาทวงโคจรดาวเทียมระหว่างไทยคม 1 และเอชียแซท เป็นโจทย์หินข้อแรกที่เศรษฐพรต้องประสบ

"ครั้งแรกที่สุดเลย ผมไปเจรจากับเอเชียแซท ประชุมกัน 2 ชั่วโมง เขาบอก ไม่มีทางประสานงานเรื่องวงโคจรกันได้ ผมเลยบอกว่าถ้างั้นเราก็จะยิงเลย และบอกให้ทีมงานซึ่งมีอยู่ 5 คนให้ลุกกลับเลย เขาจึงยอมเจรจา" เศรษฐพรเล่าถึงประสบการณ์ที่ประทับใจ ซึ่งบางครั้งต้องมีท่าทีแข็งกร้าวด้วย

หลังเจรจาประสานงานไม่บรรลุผล กระทั่งชินวัตรถึงกับต้องยื่นหนังสือให้กระทรวงการต่างประเทศช่วยเหลือ จนต้องหาทางออกในด้านอื่น

"เมื่อการเจรจาในฐานะตัวแทนของทางรัฐบาลไม่ได้ผล ผมก็เลยแนะให้ชินวัตรเขาเจรจาประสานประโยชน์ทางธุรกิจร่วมกับทางเอเชียแซทเขาโดยตรง ก็เลยสรุปกันได้ เพราะตอนนั้นมีลูกค้าไทยที่เช่าเอเชียแซทอยู่ด้วย" เศรษฐพรเล่า

ในที่สุดไทยคม 1 และเอเชียแซทก็สามารถตกลงกันได้ โดยต่างฝ่ายต่างยอมย้ายตำแหน่งวงโคจรออกไป ด้วยวิธีประสานประโยชน์ร่วมกัน

แต่ข้อเสนอแนะนี้ใช้ไม่ได้ผลกับดาวเทียมแอปสตาร์ 1 เอ ของเอพีพีแซทเทิลไลท์ของรัฐบาลจีน ซึ่งมีกลุ่มซีพีเจ้าพ่อค้าไก่ของไทยถือหุ้นอยู่ด้วย ต้องการยิงขึ้นสู่วงโคจรตำแหน่ง 121 องศาตะวันออก ใกล้กับตำแหน่งวงโคจรของไทยคม 3 ที่จะขึ้นสู่วงโคจรตำแหน่ง 120 องศาตะวันออก ในช่วงปลายปี 2539

แม้ว่าการเจรจาประสานงานระหว่างดาวเทียมทั้งสอง มีขึ้นตั้งแต่ปี 2537 แต่จนบัดนี้ยังไม่บรรลุผล

ในครั้งแรกโชคอาจเป็นของไทยคม เนื่องจากดาวเทียมแอปสตาร์ 1 ที่ถูกส่งขึ้นไปเมื่อต้นปี 2538 เกิดระเบิดก่อน ทำให้ไทยคมยืดเวลาการเจรจาออกไป หลังจากนั้นเศรษฐพรและชินวัตรต้องบินเข้าออกประเทศจีนหลายครั้ง แต่การเจรจากลับไร้ผล

"เราเสนอแนวทางหลายอย่างแต่เขาปฏิเสธตลอด เจ้าหน้าที่เขาบอกว่าได้รับนโยบายมาอย่างนี้ อย่างครั้งที่แล้วที่บินไปเจรจาเริ่มคุยกันตั้งแต่ 9 โมงเช้าเลิกอีกทีตี 5 ก็ยังสรุปไม่ได้" เศรษฐพรเล่าถึงการเจรจาชนิดมาราธอน

เมื่อเร็ว ๆ นี้ เศรษฐพรต้องงัดไม้แข็งบินไปเจรจากับเลขาธิการของสหภาพโทรคมนาคมโลก หรือไอทียู ขอความช่วยเหลือให้เป็นตัวกลางส่งหนังสือถึงสถาบันการเงินทุกแห่งทั่วโลกให้งด หรือระมัดระวังปล่อยเงินกู้กับแอปสตาร์

"จริง ๆ แล้วผมเสนอไปหลายข้อ เช่น หากมีการประชุมระหว่างประเทศเมื่อใด ไทยจะหยิบยกเรื่องนี้มาประณามการกระทำของจีน และข้อเสนอด้านไฟแนนซ์แซงชั่นแต่ก็ต้องเลือกเอาวิธีใดวิธีหนึ่ง ซึ่งทางไอทียูก็ให้ความร่วมมือด้วยดี" เศรษฐพร เล่า

กระทั่งเรื่องถึงรัฐบาล ต้องออกโรงมาเจรจา โดยในการเยือนประเทศจีนของบรรหาร ศิลปอาชา นายกรัฐมนตรี ระหว่างวันที่ 25-29 มีนาคม ที่ผ่านมา ได้บรรจุเรื่องดังกล่าวลงในการเจรจากับรัฐบาลจีน และจีนได้มอบหมายให้ฝ่ายวิชาการไปศึกษา ทั้ง ๆ ที่ก่อนหน้านี้มีการเจรจากันไปหลายครั้งแต่ยังไม่ศึกษา

เศรษฐพรยอมรับว่า การเจรจากับทางแอปสตาร์นั้นยากลำบากกว่าคราวเจรจากับเอเชียแซทมาก กระนั้นก็ตามเขายังเชื่อว่าคงหาทางออกได้

ความหวังของเศรษฐพรในฐานะของทูตดาวเทียมจะบรรลุผลหรือไม่ คงต้องรอลุ้นกันต่อไป

แต่ที่แน่ ๆ ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า เมื่อไทยคมหมดอายุคุ้มครอง น่านฟ้าไทยมีดาวเทียมเพิ่มขึ้น ทูตดาวเทียมคงต้องเหนื่อยขึ้นอีกหลายเท่า

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us