Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน10 เมษายน 2549
เขตปลอดอากร เขตยกเว้นภาษี             
โดย สมเดช โรจน์คุรีเสถียร
 


   
search resources

Auditor and Taxation




กิจการผลิตสินค้า กิจการอุตสาหกรรมเป็นกิจการที่กระบวนการผลิตมีต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง ผู้ประกอบการจะต้องแสวงหาการบริหารค่าใช้จ่ายให้มีต้นทุนที่ต่ำลงหรือต่ำสุดแต่ยังคงไว้ซึ่งคุณภาพของสินค้าของตนเอง ต้นทุนที่สำคัญอย่างหนึ่งคงหนีไม่พ้นภาษีอากร หากขาดการวางแผนหรือบริหารภาษีอากรไม่รัดกุมหรือไม่เพียงพอก็อาจจะทำให้ผู้ประกอบการเหล่านั้นมีภาระต้นทุนทางภาษีอากรค่อนข้างสูง

การเลือกสิทธิประโยชน์ทางภาษีให้กับธุรกิจจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ผู้ประกอบการจะต้องศึกษาค้นหาสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร เช่น การนำธุรกิจขอรับการส่งเสริมการลงทุน (BOI) เพื่อให้ธุรกิจได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล หรือการนำสถานประกอบการไปตั้งอยู่ในเขตปลอดอากร (Tax Free Zone) เพื่อให้ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีอากร

หากกิจการเป็นกิจการอุตสาหกรรม กิจการผลิตสินค้าแล้วนำโรงงานไปตั้งไว้ในเขตปลอดอากรก็จะทำให้กิจการได้รับสิทธิยกเว้นภาษีอากรหลายประเภทด้วยกัน ทำไมเราต้องนำธุรกิจของเราไปตั้งอยู่ในเขตปลอดอากร และสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีที่น่าสนใจมีอะไรบ้าง เรามารู้จักเขตปลอดอากรตามกฎหมายกรมศุลกากร กรมสรรพากร และการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ซึ่งได้ให้ความหมายและข้อยกเว้นภาษีไว้ดังนี้

เขตปลอดอากร หมายถึง เขตพื้นที่ที่กำหนดไว้สำหรับการประกอบอุตสาหกรรม พาณิชยกรรมหรือกิจการอื่นที่เป็นประโยชน์แก่เศรษฐกิจของประเทศ โดยของที่นำเข้าไปในเขตดังกล่าวจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางอากรตามที่กฎหมายได้บัญญัติให้ยกเว้น เช่น

1. ยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับของที่ได้นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อนำเข้าในเขตปลอดอากร

2. ยกเว้นอากรขาออกสำหรับของที่ปล่อยไปจากเขตปลอดอากรเพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักร

3. ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการนำสินค้าจากต่างประเทศเข้าไปในเขตปลอดอากร

4. ให้ใช้อัตรา 0% ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการนำสินค้าในราชอาณาจักรเข้าไปในเขตปลอดอากรเฉพาะสินค้าที่ต้องเสียอากรขาออกหรือที่ได้รับยกเว้นอากรขาออกตามกฎหมายว่าด้วยอากรขาออก

5. ยกเว้นภาษีสรรพสามิตสำหรับการนำเข้าและการผลิตของที่กระทำในเขตปลอดอากร

กรณีศึกษาจากหนังสือตอบข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0706/พ./4192 ลงวันที่ 24 พฤษภาคม 2548

1. การให้บริการที่กระทำในเขตปลอดอากรของผู้ประกอบการ ซึ่งประมวลรัษฎากรกำหนดให้ได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 จะต้องเป็นการประกอบกิจการดังต่อไปนี้

1.1 การให้บริการที่กระทำในราชอาณาจักรเพื่อใช้ผลิตสินค้าในเขตปลอดอากรเพื่อส่งออก และการให้บริการที่กระทำในเขตปลอดอากรเพื่อใช้ผลิตสินค้าส่งออกโดยผู้ประกอบการจดทะเบียน ทั้งนี้ตามมาตรา 80/1(2) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 105) เรื่อง กำหนดประเภท หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขกรณีการให้บริการที่กระทำในราชอาณาจักร และได้มีการใช้บริการนั้นในต่างประเทศตามมาตรา 80/1(2) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2543

1.2 การให้บริการระหว่างผู้ประกอบการกับผู้ประกอบการที่ประกอบกิจการอยู่ในเขตปลอดอากร ไม่ว่าจะอยู่ในเขตปลอดอากรเดียวกันหรือไม่ ทั้งนี้ตามมาตรา 80/1(6) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 123) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการขายสินค้าหรือให้บริการบางกรณีตามมาตรา 80/1(6) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 15 มกราคม 2545

2. หากบริษัทผู้รับจ้างก่อสร้างหรือบริษัทผู้ให้บริการที่มิใช่ผู้ประกอบการที่ประกอบกิจการอยู่ในเขตปลอดอากรได้ให้บริการแก่บริษัทฯ ซึ่งเป็นผู้ประกอบกิจการอยู่ในเขตปลอดอากร บริษัทผู้รับจ้างก่อสร้างหรือผู้ให้บริการย่อมไม่ได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ตามมาตรา 80/1 แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทผู้รับจ้างก่อสร้างหรือบริษัทผู้ให้บริการมีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มโดยคำนวณจากภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อในแต่ละเดือนภาษีและเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากบริษัทฯ ในอัตราร้อยละ 7 ตามมาตรา 82/3 และมาตรา 82/4 แห่งประมวลรัษฎากร

3. การนำเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการผลิตอาหารและเครื่องดื่มจากต่างประเทศเข้าไปในเขตปลอดอากร หากเครื่องจักรและอุปกรณ์ดังกล่าวเป็นสินค้าที่ได้รับยกเว้นอากรขาเข้า บริษัทผู้รับจ้างก่อสร้างหรือบริษัทผู้ให้บริการจะได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ทั้งนี้ตามมาตรา 81(2)(ข) แห่งประมวลรัษฎากร และไม่มีหน้าที่เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากบริษัทฯ แต่อย่างใด

4. การนำเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการผลิตอาหารและเครื่องดื่มซึ่งอยู่ในประเทศไทยเข้าไปในเขตปลอดอากรถือเป็นการส่งออกตามมาตรา 77/1(14)(ก) แห่งประมวลรัษฎากร บริษัทผู้รับจ้างก่อสร้างหรือบริษัทผู้ให้บริการซึ่งเป็นผู้ส่งออกจะได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ตามมาตรา 80/1(1) แห่งประมวลรัษฎากร

5. กรณีบริษัทฯ จะต้องสร้างอาคารและสิ่งก่อสร้างและโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่กระทรวงการคลังทันทีที่ก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ ภาษีซื้อที่เกิดจากการก่อสร้างอาคารหรืออสังหาริมทรัพย์อื่นเป็นภาษีซื้อต้องห้ามตามมาตรา 82/5(6) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับข้อ 2(3) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 42) เรื่อง การกำหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นำไปหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/5(6) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 29 ธันวาคม 2535 ดังนั้น บริษัทฯ จึงไม่มีสิทธินำภาษีซื้อดังกล่าวมาหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร

จะเห็นได้ว่าหากเรานำธุรกิจของเราเข้าไปตั้งในเขตปลอดอากรสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรก็คือการยกเว้นภาษีหลายประเภทด้วยกัน ทำให้ธุรกิจมีต้นทุนทางภาษีอากรต่ำลง ช่วยให้กิจการบริหารกำไรได้อย่างเต็มไม้เต็มมือ   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us