Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน10 เมษายน 2549
ผลประกอบการบจ.ดันค่าพีอีขึ้น ปัจจัยหนุนมูลค่าตลาดรวมได้ตามเป้า             
 


   
search resources

Stock Exchange
เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ




ตามแผนแม่บทพัฒนาตลาดทุนไทยนั้นต้องการเพิ่มมูลค่าตลาดรวมถึง 10 ล้านล้านบาท เป็นผลให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างสายงานวิจัยและข้อมูลสารสนเทศ ต้องทำการศึกษาเพื่อหาหนทางการเพิ่มมูลค่าตลาดให้สูงถึงระดับที่ตั้งเป้าไว้ ซึ่งผลงานวิจัยวิเคราะห์ออกมาว่าการทำดังกล่าวนั้นจะต้องเน้นการเพิ่มค่าพีอี และปัจจัยที่มีผลต่อการเพิ่มขึ้นของค่าพีอีก็อยู่ที่ผลประกอบการของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ สภาพคล่องและขนาดของบริษัทจดทะเบียน

เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ช่วยผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า สายงานวิจัยและข้อมูลสารสนเทศได้จัดทำ SET Note ฉบับที่ 3 ประจำปี 2549 เพื่อนำเสนอผลงานศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่ออัตราส่วนราคาต่อกำไรต่อหุ้น (Price-Earnings -Ratio: P/E ratio) ในตลาดหลักทรัพย์ของไทยพบว่าปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงค่าพีอี ได้แก่ อัตราการจ่ายเงินปันผลที่ดี ซึ่งเป็นปัจจัยที่มีอิทธิผลต่อค่าพีอีสูงสุดรวมถึงปัจจัยอื่น ๆ ได้แก่ สภาพคล่องของหลักทรัพย์ ขนาดของบริษัทจดทะเบียน และความเสี่ยงของราคาหุ้น (ค่าเบต้า)ที่อาจเคลื่อนไหวไม่สอดคล้องกับภาวะรวมของตลาด

จากการศึกษาข้อมูลบริษัทจดทะเบียนกว่า 4000 บริษัทในเชิงเศรษฐมิติ จากข้อมูลในช่วงไตรมาส 3 ปี 2548 พบว่า บริษัทที่มีอัตราการจ่ายเงินปันผลสูงกว่าระดับเฉลี่ย 1.4 เท่า หรือบริษัทมีนโยบายขยายขนาดของบริษัทให้ใหญ่ขึ้น เช่นการควบรวมกิจการ ก็จะทำให้พีอีเพิ่มขึ้นจากระดับเฉลี่ยได้ ทั้งนี้หากสามารถเพิ่มขนาดของบริษัทขึ้นมากกว่า 2 เท่าของระดับเฉลี่ยก็จะสามารถเพิ่มค่าพีอีได้ 0.6 เท่า ซึ่งปัจจัยกังกล่าวเป้นนโยบายที่สามารถกำหนดได้จากนโยบายของบริษัทเอง

เศรษฐพุฒิ กล่าวอีกว่า นอกจากปัจจัยดังกล่าวแล้วสภาพของหลักทรัพย์ก็เป็นปัจจัยต่อค่าพีอีเช่นกัน โดยพบว่าค่าความเสี่ยงจากราคาหลักทรัพย์ ที่เคลื่อนไหวไม่สอดคล้องกับภาวะตลาด และสภาพคล่องของการซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัทนั้น ๆ ส่งผลต่อค่าพีอีอย่างมีนัยสำคัญ ทั้งนี้ หากสามารถลดความเสี่ยงจากราคาที่ผันผวนลง 0.01จุด หรือหากสภาพคล่องของการซื้อขายหลักทรัพย์ขึ้นอีก 20%ก็จะทำให้ค่าพีอีเพิ่มขึ้น 0.07 และ 0.25เท่า ตามลำดับ

ปัจจุบันนี้ค่าพีอีในตลาดอยู่ที่ 9 เท่า ซึ่งถือว่าต่ำกว่าเมื่อเทียบกับประเทศอ่าน ๆ และเมื่อเปรียบค่าพีอีรายกลุ่มอุตสาหกรรมระหว่างตลาดหลักทรัพย์ไทยและของประเทศเพื่อบ้านทั้งสิงคโปร์ ฮ่องกงและมาเลเซียแล้วพบว่าค่าพีอีของกลุ่มอุตสาหกรรมต่าง ๆ ของตลาดทุนยังอยู่ในระดับต่ำแทบทุกกลุ่ม

โดยเฉพาะกลุ่มการเงินซึ่งเป็นกลุ่มที่มีสัดส่วนสูงในตลาดทุนต่าง ๆ รวมทั้งตลาดหลักทรัพย์ไทย ทั้งนี้ค่าพีอีของกลุ่มการเงินในตลาดหลักทรัพย์ของไทยถือว่าต่ำสุดและมีค่าน้อยกว่าตลาดอื่น ๆ เกือบเท่าตัว

สำหรับการเพิ่มขึ้นของค่าพีอีนอกจากส่งผลโดยตรงต่อบริษัทแล้ว ยังส่งผลให้มูลค่าหลักทรัพย์รวมตามราคาตลาด(market capitalization) ของตลาดทุนไทยเพิ่มขึ้นส่งผลให้ตลาดมีขนาดใหญ่ขึ้น ปัจจัยที่มีผลต่อการเพิ่มพีอีตลาด ได้แก่ ผลประกอบการของบริษัทที่เพิ่มขึ้นแล้ว การเพิ่มของหลักทรัพย์จดทะเบียนใหม่ และการเพิ่มขึ้นของค่าพีอี โดยการเพิ่มค่าพีอีจะเป็นไปได้มากที่สุดในการเพิ่มมูลค่าตลาด

โดยพิจารณา market capitalization ของตลาดตราสารทุนไทยในช่วงปี 2545-2548 ที่ผ่านมาพบว่าปัจจัยหลักที่ส่งผลให้ขนาดของตราสารทุนไทยเพิ่มขึ้นเกือบเท่าครึ่ง (45%)มาจากค่าพีอีที่เพิ่มขึ้นและอีกเกือบครึ่งมาจากผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนของไทย

"หากพิจารณาปัจจัยการเพิ่มของขนาดตลาดตราสารทุนในประเทศเอเชียอื่น ๆ ได้แก่ มาเลเซีย สิงคโปร์ และใต้หวันในช่วงปี 2543-2546 ก็พบเช่นเดียวกันว่าการเพิ่มขึคึ้นของขนาดตลาดมาจากการเพิ่มขึ้นของค่าพีอี เป็นสำคัญ แม้ว่าผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนจะไม่เป็นที่น่าพอใจ"

เศรษฐพุฒิ ยกตัวอย่างให้เห็นว่า หากสามารถเพิ่มค่าพีอีในกลุ่มการเงินของเราจากปัจจุบันที่ 9 เท่าให้ใกล้เคียงกับมาเลเซียที่ 15เท่า จะสามารถเพิ่มมูลค่าของ market capitalization ตลาดทุนไทยได้อีก 6 กว่าแสนล้านบาท ซึ่งคิดเป็น 12% ของมูลค่าปัจจุบัน

ปัจจุบันมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดรวมของตลาดไทยมูลค่าประมาณ 5.2 ล้านล้านบาท (ณ เมษายน 2549) ดังนั้นหากต้องการเพิ่มมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดรวมของตลาดไทยกว่า 2 เท่าให้มีมูลค่า 10 ล้านล้านบาทเพื่อบรรลุเป้าหมายในการเพิ่มบทบาทตลาดทุนไทยให้เทียบเคียงกับธนาคารพาณิชย์ตามแผนแม่บทเพื่อการพัฒนาตลาดทุนไทยฉบับที่ 2 แล้วนั้นไทยจำเป็นต้องเพิ่มค่าพีอีของตลาดเป็นสำคัญ   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us