Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มิถุนายน 2539








 
นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2539
"อเล็กซ์ เอร์สกิน ทำเงินบาทให้แข็งแบบเทคนิคเชียน"             
 

 
Charts & Figures

กรณีที่ค่าเงินบาทลอยตัว


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารซิตี้แบงก์

   
search resources

ธนาคารซิตี้แบงก์
อเล็กซ์ เอร์สกิน
Financing




เมื่อเร็ว ๆ นี้ ซิตี้แบงก์ ได้จัดให้มีสัมมนาเรื่อง "ทางเลือกระบบอัตราแลกเปลี่ยนของไทย" โดยเชิญ อเล็กซ์ เอร์สกิน เจ้าหน้าที่ของซิตี้แบงก์ซึ่งประจำอยู่ที่ประเทศสิงคโปร์มาเป็นผู้บรรยาย

"เราจะใช้วิธีเลือกดูว่า ในการจัดสัมมนาแต่ละครั้ง ตลาดการเงินช่วงนั้น ๆ มีเรื่องอะไรที่น่าสนใจ ก็จะเลือกเรื่องสัมมนาแล้วหาผู้เชี่ยวชาญทางด้านนั้นมาเป็นผู้บรรยาย คราวนี้ก็เลยได้คุณอเล็กซ์ เอิร์สกิน ซึ่งถือเป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่มีความรู้เรื่องระบบอัตราแลกเปลี่ยนของภูมิภาคเอเชียดีที่สุดคนหนึ่งของซิตี้แบงก์มาเป็นผู้บรรยาย" เจ้าหน้าที่จัดสัมมนาของซิตี้แบงก์ กล่าวถึงที่มาในการจัดสัมมนาครั้งนี้

อเล็กซ์ เอร์สกิน เป็นนักเศรษฐศาสตร์ประจำภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกของซิตี้แบงก์ ประจำอยู่ที่สิงคโปร์ โดยเข้ามาเริ่มงานที่สิงคโปร์เมื่อเดือนมกราคม 2539 ที่ผ่านมา หลังจากผ่านประสบการณ์การทำงานอยู่ที่ซิตี้แบงก์ในออสเตรเลียมา 8 ปี ในตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจและฝ่ายวางแผน

ความเชี่ยวชาญด้านอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราของเอล็กซ์ เอร์สกิน คงพิสูจน์ได้อย่างมาก จากการทำงานที่ผ่านมา และนอกเหนือจากอาชีพประจำในฐานะนักเศรษฐศาสตร์ของเขาแล้ว เขายังทำงานให้กับธนาคารกลางของออสเตรเลีย หน่วยงานนักเศรษฐศาสตร์อัจฉริย (THE ECONOMIST INTELLIGENCE UNIT) และงานในสำนักนายกรัฐมนตรีของออสเตรเลีย พร้อมกับเขียนคอลัมน์ในนิตยสารรายเดือนอาเชียนมาร์เก็ตวิว ในเรื่องเกี่ยวกับระบบอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา การพัฒนาระบบและการคาดการณ์อัตราการแลกเปลี่ยนเงินตราของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

อเล็กซ์ เอร์สกิน เริ่มการบรรยายด้วยน้ำเสียงของคนที่ชอบพูดซ้ำ ๆ พร้อมกับสอดแทรกมุขตลกบ้างเป็นบางระยะด้วยการเกริ่นถึงทิศทางอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ ให้ฟังก่อนจึงจะนำผู้ร่วมฟังสัมมนาเข้าสู่ปัญหาเรื่องของระบบอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราที่ไทยยังมีปัญหาอยู่ว่า

ปัญหาที่พบในไทยสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ หนึ่ง-ปัญหาที่มองเห็นได้ คือ เรื่องของภาวะเศรษฐกิจของประเทศไทยที่ร้อนแรงเกินไปจากการไหลเข้ามาของเงินลงทุนจากต่างประเทศเป็นจำนวนมาก และปัญหาที่มองเห็นได้จากสาเหตุที่ไทยมีอัตราเงินเฟ้อสูงรวมทั้งการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด

สอง-ปัญหาที่แท้จริง ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้การแก้ปัญหาข้างต้นไม่สำเร็จ แม้ว่าธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะได้ออกมาตราการต่าง ๆ ออกมาเป็นระยะ เพราะมีปัญหาที่แท้จริงนี้รอการแก้ไขอยู่ได้แก่

ระบบอัตราแลกเปลี่ยนคงที่และอัตราแลกเปลี่ยนที่เงินบาทมีค่าต่ำเกินไป (UNDERVALUED) ดังนั้นเมื่อมีผู้นำเงินทุนเข้ามาในประเทศเป็นเงินตราต่างประเทศ และนำเข้ามาขายผ่านธนาคารพาณิชย์สู่ ธปท. เพื่อเปลี่ยนเป็นเงินบาท ทำให้สภาพคล่องสูงขึ้น อัตราดอกเบี้ยต่ำลง เพราะมีผู้กู้เงินมากขึ้น เศรษฐกิจจะโตเร็วขึ้น และทำให้ขาดดุลบัญชีเดินสะพัดสูงขึ้น รวมทั้งเงินจะเฟ้อมากขึ้น

"การที่ ธปท. รับซื้อเงินตราต่างประเทศเพื่ออัดฉีดเงินบาทเข้าสู่ระบบ ทำให้อัตราดอกเบี้ยข้ามคืนระหว่างธนาคารมีการเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วและรุนแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงวิกฤติการณ์เม็กซิโกในเดือนมกราคมปีที่แล้ว ดังนั้นช่วงเคลื่อนไหวจะอยู่ระหว่าง 4-20% ซึ่งกว้างมาก หลังช่วงวิกฤติการณ์เม็กซิโกซึ่งอัตราดอกเบี้ยเคยขึ้นไปสูงถึง 20% นั้น ธปท. ต้องการตรึงดอกเบี้ยไว้ในระดับ 10-12% แต่ดอกเบี้ยก็ร่วงลงไปถึง 4% ในบางช่วง เนื่องจากตลาดขายเงินตราต่างประเทศเพื่อแลกเป็นบาทกันมาก" อเล็กซ์ เอร็สกิน กล่าว

สำหรับค่าเงินบาทในตอนนี้ ในความเห็นของอเล็กซ์ เอร์สกิน เขาคิดว่าค่าเงินบาทอยู่ในอัตราที่ต่ำเกินไป โดยเขาดูจากอัตราการเติบโตของยอดนำเข้าและส่งออกเป็นหลัก ซึ่งโดยเฉลี่ยในระยะ 5 ปี ไทยมีอัตราเติบโตของยอดส่งออกอยู่ถึง 20% ซึ่งเป็นระดับใกล้เคียงกับยอดนำเข้า ดังนั้นจากผลของอัตราการเติบโตของปริมาณการค้านี้มิได้แสดงว่าเงินบาทมีค่าสูงเกินไป

พร้อมกันนี้เล็กซ์ เอร์สกิน ได้ยกตัวอย่างจากหลายประเทศในการแก้ปัญหาเดียวกันนี้ ไม่ว่าจะเป็นออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ แต่หากเป็นประเทศที่ควรเปรียบเทียบกับไทยมากที่สุด ก็ควรจะเป็นมาเลเซียประเทศเพื่อนบ้านของเรานี่เอง

ในปี 2539 เงินริงกิตของมาเลเซียได้รับการยอมรับว่าค่าต่ำไปและต้องปรับสูงขึ้น มาเลเซียมีปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดและเงินเฟ้อสูงเหมือนไทย แต่มาเลเซียได้ทำตามคำแนะนำของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ในเรื่องที่ค่าเงินริงกิตต้องปรับตัวสูงขึ้น

ดังนั้นตลาดจึงเริ่มซื้อเงินริงกิต ค่าเงินริงกิตจึงกระเตื้องขึ้นต่อดอลลาร์สหรัฐฯ จาก 2.55 เป็น 2.49 และคาดว่าจะแข็งค่าต่อไปอีก ดูเหมือนว่ากองทุนการเงินระหว่างประเทศจะต้องการให้ค่าเงินสกุลเอเชียแข็งค่ามากกว่านี้ อัตราดอกเบี้ยของมาเลเซียดูจะชี้นำตัวเลขทางการค้า กล่าวคือ เมื่อดอกเบี้ยสูงขึ้น การเติบโตทางการค้าจะดีขึ้น

สำหรับทางเลือกของประเทศไทยในการแก้ปัญหา อเล์กซ์ เอร์สกิน แนะว่าต้องมีการปรับเปลี่ยนอย่างค่อยเป็นค่อยไปและมีระบบ การแจ้งให้สาธารณชนทราบก่อนเพื่อเตรียมตัวรับการเปลี่ยนแปลง การปฏิบัติจริงของทางการหลังจากแจ้งให้ทราบแล้ว และบอกถึงขั้นตอนต่อไปด้วย

"วิธีการอาจเป็นในรูปการขยาย BAND ของอัตราแลกเปลี่ยนให้กว้างขึ้น และกว้างขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งเงินบาทลอยตัวได้อย่างเสรี ถึงเวลานั้น การแทรกแซงตลาดของธนาคารแห่งประเทศไทยก็จะทำเมื่อเห็นสมควรเท่านั้น ไม่ใช่จำเป็นต้องทำอย่างในเวลานี้ ซึ่งเราจะพิจารณาดัชนีค่าเงินบาทถ่วงน้ำหนัก (THAI BAHT TRADE WEIGHTED INDEX) และค่าเงินเฟ้อ ประกอบกับค่าเงินบาทตั้งแต่ปี 2527 ซึ่งเป็นปีที่ลดค่าเงินบาทที่แสดงให้เห็นว่า ค่าเงินบาทลดลงจาก 100 เป็น 75.69 หรือลดลง 24.31"

กรณีเมื่อเทียบไทยกับประเทศคู่ค้าจะเห็นผลว่าราคาสินค้าไทยเพิ่มขึ้น 61.2% ราคาสินค้าประเทศคู่ค้าเพิ่มขึ้น 40.4% ราคาสินค้าไทยเทียบกับประเทศคู่ค้าแพงขึ้น 14.8% แต่ทว่าค่าเงินบาทลดลงเมื่อเทียบกับค่าเงินของประเทศคู่ค้าอยู่ 24.3% หมายความว่าสินค้าไทยแพงขึ้นน้อยลงนอกเหนือจากตัวเงินเฟ้อแล้วเป็น 29.68% ซึ่งเมื่อรวมผลจากอัตราเงินเฟ้อและค่าเงินบาทที่ลดลงแล้ว ทำให้สินค้าไทยถูกลงเมื่อเทียบกับสินค้าของประเทศคู่ค้า 7.6% หรือถ้าคิดเป็นเงินแล้ว ค่าเงินบาทลดลงอยู่ 7.6% เมื่อเทียบกับค่าเงินของประเทศคู่ค้า จึงไม่น่าจะกังวลถึงการลดค่าเงินบาท

อเล์กซ์ สรุปการสัมมนาครั้งนี้ว่า ในหลักการแล้ว ถ้าทางการต้องการเห็นอัตราดอกเบี้ยที่ค่อนข้างอยู่ตัวและไม่เคลื่อนไหวอย่างรุนแรง ค่าเงินบาทก็คงจะต้องเปลี่ยนแปลงหวือหวาขึ้น แต่ถ้าเงินบาทลอยตัวในอนาคต ก็จะเห็นอัตราดอกเบี้ยที่ขยับสูงขึ้นและคงที่ และท้ายสุดค่าของเงินก็จะแข็งขึ้น

ทั้งนี้ ก็คงจะต้องรอดูกันต่อไปว่าข้อบ่งชี้ที่ว่าค่าเงินบาทไทยน่าจะมีการขยาย BAND หรือลอยตัวซึ่งเป็นทางเลือกนี้จะเป็นจริงหรือไม่ ตามที่นักเศรษฐศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญในด้านนี้อย่าง เอล็กซ์ เอร์สกิน กล่าวไว้

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us