Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ มิถุนายน 2539








 
นิตยสารผู้จัดการ มิถุนายน 2539
"สมคิด จิรานันตรัตน์ ตลาดหุ้นก็ต้องอินเตอร์เน็ต"             
 


   
www resources

โฮมเพจ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

   
search resources

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
สมคิด จิรานันตรัตน์
Networking and Internet




อินเตอร์เน็ตเป็นเทคโนโลยีการสื่อสารสมัยใหม่ที่กำลังแพร่ระบาดไปทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทยเองก็เช่นเดียวกัน ล่าสุดตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ก็ได้นำเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตนี้มาใช้ในการเผยแพร่ข้อมูลเช่นกัน

สมคิด จิรานันตรัตน์ ผู้ช่วยผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งดูแลงานทางด้านศูนย์คอมพิวเตอร์ของตลาดหุ้นไทยได้กล่าวถึงการเผยแพร่ข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ตว่า การใช้อินเตอร์เน็ตเป็นนโยบายใหม่ที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ ต้องการเน้นหนักในปีนี้ เพื่อต้องการส่งเสริมให้นักลงทุนรับทราบข้อมูลข่าวสารในแง่ปัจจัยพื้นฐานให้เร็วและมากที่สุด การเผยแพร่อินเตอร์เน็ตถือเป็นการเพิ่มช่องทางใหม่ให้นักลงทุนทราบข้อมูลมากขึ้น

สมคิดสำเร็จการศึกษาทางด้านคอมพิวเตอร์โดยตรงและคร่ำหวอดอยู่ในสายงานนี้มาเกือบ 13 ปี หลังจากจบปริญญาโททางด้าน computer science ที่สหรัฐฯ แล้ว ก็มาทำงานที่บริษัทปูนซิเมนต์ไทยเป็นเวลา 2 ปี จากนั้นจึงย้ายไปอยู่ที่บริษัทไอบีเอ็มอีก 5 ปี ส่วนที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ณ ศูนย์คอมพิวเตอร์แห่งนี้ ปีนี้เป็นปีที่ 6

"การเผยแพร่ข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ตนี้จะเป็นข้อมูลที่เน้นทางด้านปัจจัยพื้นฐานและการวิเคราะห์เป็นหลัก ไม่ใช่ข้อมูลในลักษณะที่ส่งผ่านออนไลน์ อันนั้นจะเป็นรายงานการซื้อขายหุ้นและมูลค่าการซื้อขายแต่ละวัน พอตลาดหุ้นปิดก็ไม่ค่อยมีข้อมูลอะไรใหม่และไม่มีข้อมูลของบริษัทที่อยู่ในตลาด แต่ของอินเตอร์เน็ตจะเป็นข้อมูลจำเพาะมากกว่า ส่วนรายงานการซื้อขายนั้นจะเป็นช่วง ๆ คือตลาดปิดตอนเย็นของแต่ละวัน ข้อดีของการผ่านอินเตอร์เน็ตอีกอย่างคือเวลาที่ข้อมูลออนไลน์เสีย จะสามารถดูได้จากอินเตอร์เน็ต"

สมคิดยังพูดถึงจุดประสงค์ของการเผยแพร่ข้อมูลโดยผ่านอินเตอร์เน็ตด้วยว่า ต้องการที่จะส่งเสริมให้นักลงทุนใช้ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับบริษัทที่อยู่ในตลาด เพื่อใช้ในการประกอบการตัดสินใจเข้าไปเล่นหุ้นมากขึ้น เราจะมีกลุ่มบริษัทข้อมูลเยอะกว่าและสะดวกรวดเร็วกว่าที่อ่านจากหนังสือพิมพ์ เพราะข้อมูลที่ผ่านหนังสือพิมพ์จะน้อยกว่า เขาเชื่อว่าอัตราการเติบโตของการใช้ข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ตจะมีเพิ่มขึ้นอีกมากเฉพาะแค่เดือนแรกที่เปิดใช้มีผู้สนใจกว่า 1 หมื่นราย

"การเผยแพร่ผ่านอินเตอร์เน็ตเราทำไว้รัดกุมเป็นข้อมูลที่เราต้องการจะให้เปิดเผยได้เท่านั้น ถ้าไม่ใช่สมาชิกจะใช้ข้อมูลไม่ได้ แล้วล้วงลูกลึกไปมากกว่าที่เราต้องการ จะให้ไม่ได้เพราะว่าระบบอินเตอร์เน็ตกับส่วนหลักอื่น ๆ ของตลาดหลักทรัพย์ฯ จะแยกกัน ดังนั้นคนที่เข้ามาดูข้อมูลอินเตอร์เน็ต ไม่สามารถที่จะเข้ามาดูข้อมูลอื่นได้เราวางระบบไว้รัดกุม"

สมคิดเล่าต่อไปว่า นอกจากข้อมูลที่สามารถเผยแพร่ผ่านอินเตอร์เน็ตแล้ว ยังมีข้อมูลอีกประเภทหนึ่งที่ลึกกว่าคือเป็นข้อมูลพื้นฐานที่มีรายละเอียดมากรวมทั้งมีข้อมูลในเชิงวิเคราะห์ทางเทคนิคด้วย แต่ข้อมูลนี้ทางศูนย์คอมพิวเตอร์จะจำหน่ายในลักษณะของซอฟต์แวร์

"ศูนย์คอมพิวเตอร์จะทำเป็นซอฟต์แวร์ที่ส่งเสริมให้นักลงทุนมาใช้ข้อมูลพื้นฐานมากขึ้น การใช้ซอฟต์แวร์นี้จะเป็นตัวช่วยสามารถดูปัจจัยพื้นฐานของบริษัทต่าง ๆ ในตลาดหุ้นได้หลายรูปแบบ เชื่อว่าระยะยาวนี้นักลงทุนมีความตื่นตัว ในการดูหุ้นด้วยปัจจัยพื้นฐานมากขึ้น ซึ่งลูกค้าของเราก็แบ่งได้เป็น 4 ประเภท คือ สถาบันการเงินการลงทุน นายหน้าค้าหลักทรัพย์หรือโบรกเกอร์ นักลงทุนเอง และบริษัทขายข้อมูล"

สมคิดเล่าว่า ตอนนี้ได้เริ่มทำระบบออกมาแล้วแต่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ แต่คาดว่าจะเปิดให้บริการได้ภายในเดือน ก.ค. นี้ ส่วนอัตราค่าบริการนั้นโบรกเกอร์จะเสียค่าสมาชิกแรกเข้าครั้งเดียว 1 แสนบาท และคิดค่าบริการรายเดือน ๆ ละ 1 หมื่นบาท / ประเภทที่สองสถาบันการเงินทั่วไป ค่าสมาชิกแรกเข้า 2.5 แสนบาท หลังจากนั้นคิดค่าบริการรายเดือน ๆ ละ 2.5 หมื่นบาท / ประเภทที่สามบริษัทผู้ขายข้อมูล สมาชิกแรกเข้า 5 แสนบาท ค่าบริการรายเดือน ๆ ละ 1 แสนบาท / ส่วนประเภทสุดท้ายประชาชนทั่วไปหรือนักลงทุนนั้นจะจำหน่ายในรูปแบบของแผ่านซีดีออกมาเป็นรายไตรมาส ซึ่งสำหรับแผ่น CD นั้นคาดว่าจะเสร็จภายในสิ้นปีนี้ โดยงบประมาณการจัดทำทั้งหมดนี้ลงทุนไปแล้วกว่า 40 ล้านบาท

สมคิดยังบอกด้วยว่า การขายข้อมูลในลักษณะแบบนี้ได้เริ่มมีบ้างแล้วในย่านตลาดหุ้นเอเชียด้วยกัน แต่ยังไม่มีความหลากหลายมากนัก ส่วนที่ยุโรปและอเมริกานั้นทำมานานแล้ว โดยที่บริษัทเอกชนที่รับสัมปทานจากรัฐจะเป็นผู้ทำข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งตรงนี้แตกต่างจากของไทยที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ เป็นผู้ทำเอง และนี่คือมิติใหม่ในการให้บริการของตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่น่าจับตาทีเดียว

สำหรับระบบคอมพิวเตอร์ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยยังมีโครงการใหญ่ที่ต้องดำเนินการอีกมาก โดยเฉพาะโครงการเร่งด่วนที่จะต้องทำในปลายปีนี้คือการตั้งศูนย์สำรองคอมพิวเตอร์หรือ BACK UP SLIDE

"เราจำเป็นต้องมีระบบคอมพิวเตอร์อีก 1 ชุดเพื่อสำรองไว้ทำงานที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายได้ ถ้าหากว่าศูนย์หลักมีปัญหาฉุกเฉิน งบประมาณส่วนนี้สูงถึงเกือบ 1,000 ล้านบาท ตอนนี้กำลังดูเรื่องที่ตั้งโดยคาดว่าจะไว้ที่อาคารแห่งใหม่ของตลาดที่กำลังจะย้าย โดยเรื่องระบบต่าง ๆ ทางเราจะดูแลเอง ส่วนเรื่องอาคารก็ให้เอกชนเป็นผู้ รับผิดชอบซึ่งโครงการจะเสร็จอย่างช้าในต้นปี 2541 ตอนนี้กำลังเตรียมความพร้อม"

อีกไม่นาน ระบบอินเตอร์เน็ตของตลาดหลักทรัพย์ฯ ก็จะปรากฏโฉมบน Home Page ของบรรดา netizen หรือพลเมืองที่เล่นอินเตอร์เน็ตทั้งหลาย และนี่คือผลงานล่าสุดของ สมคิด จิรานันตรัตน์ มันสมองคนหนึ่งของตลาดหลักทรัพย์ฯ ไทยที่พยายามพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์เพื่อการลงทุนให้มีความทันสมัย ทันเหตุการณ์และมีข้อมูลที่ถูกต้อง

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us