Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์10 เมษายน 2549
ฮิตาชิ ลอนช์สินค้า High Value Addedขยายฐานลูกค้า ต่อยอดทริปเปิลเชนจ์             
 


   
www resources

โฮมเพจ บริษัท ฮิตาชิ เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด

   
search resources

Marketing
Electric
ฮิตาชิเซลส์ (ประเทศไทย), บจก.




ฮิตาชิ ทุ่ม 450 ล้านบาท ลอนช์สินค้า High Value Added กว่า 100 รายการ หนีสงครามราคา สานต่อทริปเปิลเชนจ์ให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น หวังปิดยอด 3,500 ล้านบาท พร้อมตั้งเป้าติดอันดับท็อปทรี

ฮิตาชิ เกทับรุกตลาดอย่างหนักด้วยการส่งสินค้าใหม่กว่า 100 รายการซึ่งปกติแล้วฮิตาชิจะมีการลอนช์สินค้าใหม่ประมาณ 50-80 รายการต่อปีเท่านั้น โดยสินค้าใหม่ที่ลอนช์ออกมาส่วนใหญ่จะเป็น High Value Added เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค

แม้สินค้าที่เป็น High Value Added จะมีราคาแพงกว่าสินค้าปกติแต่ฮิตาชิก็เชื่อมั่นว่าฟังก์ชั่นการใช้งานที่เพิ่มขึ้นจะคุ้มค่ากับเม็ดเงินที่ผู้บริโภคจ่ายออกไป เนื่องจากการวิจัยของบริษัทพบว่าผู้บริโภคให้ความสำคัญกับฟังก์ชั่นและดีไซน์ของสินค้า ส่วนราคาเป็นองค์ประกอบตามหลัง นอกจากนี้การทำกลุ่มสินค้า High Value Added ยังช่วยให้บริษัทสามารถขยายฐานลูกค้าไปสู่ระดับบนได้มากขึ้น ทำให้ฮิตาชิไม่ต้องมาต่อสู้กับสงครามราคาในตลาดแมสมากนัก

ปีนี้ฮิตาชิมีการใช้งบการตลาดกว่า 450 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 15% โดยบริษัทตั้งเป้าว่าจะสามารถสร้างยอดขายได้ 3,500 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่ปิดยอดได้ 3,000 ล้านบาท พร้อมกันนี้ยังตั้งเป้าที่จะเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดให้ติด 3 อันดับแรกโดยจะเน้นไปที่กลุ่มเครื่องไฟฟ้าในครัวเรือนก่อน ซึ่งปัจจุบันฮิตาชิมีรายได้จากสินค้าในครัวเรือนคิดเป็นสัดส่วน 80% ส่วนกลุ่มภาพและเสียงเป็นสัดส่วน 20%

"ในหมวดภาพและเสียงเรามีการทำการตลาดอยู่แล้วเพียงแต่เป็นตลาดที่ค่อนข้างจะไฮเอนด์และเราเองก็มองที่การใช้งานของผู้บริโภคมากกว่าจะเล่นเรื่องราคาซึ่งในปีที่ผ่านมาเราก็พยายามทำตลาดแฟลตพาเนลไปสู่ผู้บริโภคมากขึ้น ในขณะที่เครื่องไฟฟ้าในครัวเรือนเป็นสินค้าที่ใกล้ชิดกับผู้บริโภคและเป็นแมสมากกว่า ไลน์อัพส่วนใหญ่ของฮิตาชิจึงอยู่ในกลุ่มนี้" บุญชัย พุทธาโกฐิรัตน์ ผู้จัดการแผนกการตลาด ฮิตาชิเซลส์ (ประเทศไทย) กล่าว

High Value Added ถือเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ในการสร้างแบรนด์ของฮิตาชิ โดย 8 ปีที่แล้ว ฮิตาชิพยายามที่จะทำให้แบรนด์ของตัวเองใกล้ชิดกับผู้บริโภคจึงมีการใช้ดาราเป็นพรีเซ็นเตอร์โดยเริ่มต้นจากการใช้ เฉินหลง กับประโยคที่ทำให้คนจดจำแบรนด์ฮิตาชิที่ว่า "ผมรักฮิตาชิ" ต่อจากนั้นฮิตาชิประเทศไทยก็ได้วางคอนเซ็ปต์ Beauty and Brain โดยมีการดึง น้องป๊อป อารียา สิริโสภา มาเป็นพรีเซ็นเตอร์ เพื่อสะท้อนถึงความสวยและฉลาดของแบรนด์ฮิตาชิ พร้อมกับคำพูดติดปากว่า "ป๊อปเลือกฮิตาชิ" ซึ่งฮิตาชิประเทศไทยได้ใช้น้องป๊อปเป็นพรีเซ็นเตอร์นานถึง 4 ปี จนทำให้ผู้บริโภคเกิดความเชื่อมั่นต่อแบรนด์ฮิตาชิแต่ก็ยังไม่ได้สื่อสารให้ผู้บริโภครู้ว่าฮิตาชิทำอะไรให้กับผู้บริโภคได้บ้าง

ฮิโตชิ นักประดิษฐ์อัจฉริยะจึงเป็นตัวแทนของฮิตาชิที่จะมาบอกกับผู้บริโภคว่าเทคโนโลยีของฮิตาชิสามารถอำนวยความสะดวกให้กับผู้บริโภคได้อย่างไรบ้าง แต่ก็ยังไม่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของผู้บริโภคไทยมากนัก แนวคิดของแบรนด์ที่ว่า ฮิตาชิสร้างสรรสิ่งที่ดีกว่าสู่อนาคต จึงถูกปรับมาเป็น แรงบันดาลใจสู่อนาคต (Inspire The Nest) จากนั้นในปีที่ผ่านมาก็มีการต่อยอดไปสู่ Triple Change ซึ่งฮิตาชิได้สื่อสารคอนเซ็ปต์แบรนด์ใหม่นี้ผ่านเด็กฝาแฝด 3 คน เพื่อเป็นตัวแทนองค์ประกอบทั้ง 3 ของ Triple Change ภายใต้สโลแกน A Change in You หรือการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นหลังจากผู้บริโภคใช้สินค้าของฮิตาชิ โดยโฆษณาจะสื่อถึงความเป็นครอบครัวเพื่อให้สินค้าใกล้ชิดกับผู้บริโภคมากขึ้น

A Change in You ได้บอกถึงการเปลี่ยนแปลง 3 ประการภายใต้แนวคิด Triple Change คือ การเปลี่ยนชีวิตให้มีคุณภาพด้วยนวัตกรรมฮัจฉริยะ (Core Technology) การเปลี่ยนชีวิตให้มีสุขภาพที่ดี (Clean) และการเปลี่ยนเรื่องยุ่งยากให้เป็นเรื่องง่ายๆ (Comfort) องค์ประกอบทั้ง 3 ของ Triple Change เป็นปัจจัยหลักในการกำหนดแผนงานการตลาดของฮิตาชิ โดยสะท้อนผ่านสินค้า High Value Added ซึ่งถือเป็นกลยุทธ์ที่จะทำให้ Triple Change มีความเป็นรูปธรรมมากขึ้น

สินค้า High Value Added ที่ฮิตาชินำมาทำตลาดในปีนี้ได้แก่ ตู้เย็น 4 ประตู ซึ่งมีเทคโนโลยี Minus Zero Cooling System ซึ่งเป็นแผงกระจายความเย็นที่เก็บความเย็นได้ต่ำกวา 0 องศาเซลเซียส Cool Jet Wrap ช่วยกระจายความเย็นแบบรอบทิศทาง และมีชั้นวางกระจกแก้วนิรภัย พร้อมกับระบบกำจัดแบคทีเรียและกลิ่นอับโดยใช้เทคโนโลยี Nano Titanium &Minus Ion และมีระบบทำน้ำแข็งอัตโนมัติ เร่งทำความเย็น -27 องศาได้ใน 2 ชั่วโมง อย่างไรก็ดีก่อนหน้านี้โตชิบาก็เคยนำตู้เย็น 4-5 ประตูมาโชว์ในตลาดเมืองไทย ซึ่งคาดวาจะทำให้ตลาดตู้เย็นไซด์บายไซด์ต้องสะเทือนเนื่องจากประสิทธิภาพการใช้งานของตู้เย็น 4 ประตูสามารถเก็บของได้จุกว่าในขณะที่ไซด์บายไซด์จะมีผนังกั้นตรงกลางทำให้ใส่ของชิ้นใหญ่ไม่ได้

ส่วนเครื่องซักผ้าฮิตาชิก็มี Air Jet Dry กำจัดสิ่งสกปรกในเนื้อผ้าและปั่นผ้าแห้งเร็วขึ้น 50% พร้อมด้วยระบบ Super Clean Wash ที่ทำผงซักฟอกให้มีอณูเล็กที่สุดเพื่อประสิทธิภาพในการขจัดคราบ พร้อมด้วย Nano Titanium Filter ดักจับแบคทีเรียและสกปกในอากาศไม่ให้เล็ดลอดสู่ตัวถึง สำหรับเครื่องดูดฝุ่นก็มีระบบ Cyclone System เพิ่มพลังดูด สามารถอัดฝุ่นเป็นก้อนโดยไม่ต้องใช้ถุงเก็บฝุ่น นอกจากนี้ยังมีสินค้าหมวดเอวีคือ พลาสม่าทีวี ที่ใช้เทคโนโลยี ALIS Panel ช่วยให้ภาพมีความละเอียดสูง 1024x1024 พิกเซลส์ มีอายุการใช้งานนานกว่า 60,000 ชั่วโมง

สำหรับเครื่องปรับอากาศที่ฮิตาชิเพิ่งเริ่มทำตลาดอย่างจริงจังซึ่งต้องใช้เวลาอีก 2-3 ปีจึงจะติดอันดับท็อปทรีได้ ก็มีเทคโนโลยี Air Exchanger, Nano Titanium และ UV-LED ช่วยกรองอากาศให้บริสุทธิ์ ส่วนหม้อหุงข้าว Digital Fuzzy ก็มีโปรแกรมหุงข้าวหอมมะลิ และโปรแกรมหุงเร็วพิเศษเพื่อให้สอดคล้องกับไลฟ์สไตล์ที่เร่งรีบ ซึ่งสินค้าทั้งหมดนี้จะต้องตอบโจทย์แนวคิดหลัก 3 ข้อ คือ เทคโนโลยีหลัก, สุขอนามัย ความปลอดภัย และ ความสะดวกในการใช้งาน

"ปัจจัยที่ทำให้ฮิตาชิประสบความสำเร็จเกิดจากการพัฒนาสินค้าให้สามารถตอบสนองความต้องการที่แท้จริงของผู้บริโภค สินค้ามีการออกแบบอย่างทันสมัย และการสนับสนุนที่ดีจากตัวแทนจำหน่ายซึ่งปัจจุบันเรามีตัวแทนที่เป็นโมเดิร์นเทรดเกือบ 200 ราย และดีลเลอร์อีก 350 รายซึ่งถือว่าครอบคลุมตลาดมากพอแล้ว ที่เราจะทำต่อไปคือการพัฒนาช่องทางให้ก้าวไปพร้อมกับเราเพื่อให้เขาสามารถขายสินค้า High Value Added ได้มากขึ้น" มาซาอากิ ฮายาชิ กรรมการผู้จัดการ ฮิตาชิเซลส์ (ประเทศไทย) กล่าว

ปัจจุบันตลาดเครื่องไฟฟ้ามีการเติบโตโดยรวมประมาณ 8% แบ่งเป็นเครื่องไฟฟ้าในครัวเรือน 40,000 ล้านบาท สินค้าหมวดภาพและเสียง 38,000 ล้านบาท โดยแบรนด์เครื่องไฟฟ้าหลายค่ายต่างหันมาให้ความสำคัญกับการรุกตลาดระดับไฮเอนด์มากขึ้น พร้อมกับการพัฒนาช่องทางพิเศษเพื่อสร้างยอดขายจากสินค้าไฮเอนด์เหล่านั้นไม่ว่าจะเป็นแอลจีที่ประกาศก้าวสู่การเป็นพรีเมี่ยมแบรนด์มากว่า 2 ปีพร้อมกันนี้ยังเตรียมแผนที่จะพัฒนาช่องทางใหม่ๆเพื่อรองรับสินค้าไฮเอนด์โดยเฉพาะ ในขณะที่มิตซูบิชิยังคงรุกตลาดทุกเซกเมนต์โดยกระจายสินค้าแต่ละระดับไปสู่ช่องทางที่แตกต่างกันเช่นสินค้าไฮเอนด์ก็ผ่านช่องทางในเมืองใหญ่ส่วนสินค้าตกรุ่นหรือมีราคาถูกก็จะกระจายไปสู่ช่องทางในต่างจังหวัด ส่วนชาร์ปก็ใช้กลยุทธ์ One of A Kind Innovations ด้วยการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือนเช่นหม้อหุงข้าวที่มีโปรแกรมการหุงสำหรับข้าวแต่ละประเภท เช่นเดียวกับโตชิบาที่หันมาให้ความสำคัญกับเครื่องไฟฟ้าดิจิตอลมากขึ้น ส่วนฟิลิปส์ก็มีการพัฒนาเทคโนโลยเฉพาะของตัวเองทำให้คู่แข่งไม่สามารถเลียนแบบได้   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us