Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤษภาคม 2539








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2539
"ปัญหาคาใจ "วิญญาณ ร่างกาย" ญี่ปุ่นจะให้ไทยอย่างไร?             
โดย สันทิฎฐ์ สมานฉันท์
 


   
search resources

มิตซูบิชิ
เอ็มเอ็มซี สิทธิผล
วัชระ พรรณเชษฐ์




สำหรับฐานการผลิตในนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง ซึ่งเป็นโรงงานแห่งที่ 4 ของเอ็มเอ็มซี สิทธิผล นั้น กล่าวได้ว่า ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตรถยนต์ปิกอัพมาจากมิตซูบิชิ มอเตอร์ส คอร์ปอเรชั่น เกือบจะทุกด้าน จะขาดก็เพียงงานวิจัยและพัฒนาเท่านั้น

แต่ส่วนงานที่ยังขาดอยู่นั้น กลับคือหัวใจสำคัญของอุตสาหกรรมยานยนต์ก็ว่าได้

"ยินดีที่เอ็มเอ็มซี สิทธิผล ฟันฝ่าอุปสรรคจนทำงานระดับโลกได้ มิตซูบิชิมอเตอร์สตั้งใจให้โครงการนี้ประสบความสำเร็จอย่างเต็มที่ และจะช่วยเหลือในทุก ๆ ด้าน"

คำกล่าวของเรจิโรที่มอบให้ในชั้นนี้ แถมด้วยยาหอมที่ว่า

"การวิจัยและพัฒนานั้นได้ทยอยถ่ายทอดมาไทยอยู่แล้ว และอนาคตอันใกล้นี้ ไทยจะสามารถทำการผลิตและออกแบบรถยนต์ได้เอง"

ทางด้านวัชระก็มั่นใจว่า เมื่อมาถึงขั้นนี้แล้ว อนาคตอีกไม่ไกล เอ็มเอ็มซี สิทธิผล จะได้ครบทุกอย่าง

ขณะนี้การถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการวิจัยและพัฒนานั้นทางไทยได้พยายามเรียนรู้อยู่ ซึ่งคงต้องใช้เวลา ทั้งนี้ทางญี่ปุ่นเขาพยายามและเต็มใจถ่ายทอดให้อยู่แล้ว แต่คงบอกไม่ได้ว่าภายในกี่ปีเราจึงจะพัฒนาไปถึงขั้นทำทุกอย่างเองได้หมดเกี่ยวกับการผลิตปิกอัพมิตซูบิชิ" วัชระกล่าว

แต่ไม่ว่าใครจะคิดอย่างไรก็ตาม ถ้ามองถึงบทเรียนในอดีตแล้ว คงกล่าวว่า การทีมิตซูบิชิ มอเตอร์ส คอร์ปอเรชั่นจะยินดีมอบหัวใจให้กับเอ็มเอ็มซี สิทธิผล นั้น เป็นเรื่องที่ต้องตระหนักอย่างที่สุดทีเดียว

มองย้อนไปเมื่อกว่า 20 ปีที่ผ่านมา เมื่อครั้งที่มิตซูบิชิมอเตอร์ส คอร์ปอเรชั่น ตัดสินใจจะเดินทางนำพาชื่อของมิตซูบิชิออกนอกประเทศญี่ปุ่น แต่การเปิดตัวสู่ตลาดโลกในครั้งนั้น มิตซูบิชิ มอเตอร์ส คอร์ปอเรชั่น รู้ดีว่า ตนเองยังคงเป็นบริษัทเล็ก ๆ และยากที่จะเข้าต่อในตลาดอย่างยุโรปและอเมริกา ซึ่งล้วนแต่มียักษ์ใหญ่ทั้งเจ้าของพื้นที่ และยักษ์จากญี่ปุ่นเองไม่ว่าจะเป็นโตโยต้า นิสสัน หรือแม้แต่ฮอนด้าเข้าครอบครองพื้นที่ทำกินอย่างเหนียวแน่นไว้แล้ว

การตัดสินใจเข้าสู่ตลาดเอเชียจึงเกิดขึ้น

การเจาะตลาดเอเชีย ซึ่งในยุคนั้นถือว่ายังบริสุทธิ์อยู่มากเป็นไปอย่างที่ยักษ์จากญี่หลาย ๆ ราย ยังไม่มองถึง ประกอบกับอเมริกาได้ถอนทัพกลับไป เนื่องจากทิศทางด้านการเมืองที่ไม่สู้ดีนัก

มิตซูบิชิ มอเตอร์ส คอร์ปอเรชั่น ได้แพ้วทางไว้อย่างสวยหรู กระจายการลงทุนไปทั่วเอเชีย กับนักลงทุนท้องถิ่นในหลายท้องถิ่นในหลายประเทศ ไทยก็เป็นตัวอย่างหนึ่ง จนเกิด เอ็มเอ็มซี สิทธิผล ขึ้นมา และดูเหมือนว่านโยบายครั้งก่อนนั้นจะสร้างเครือข่ายทำให้มิตซูบิชิ มอเตอร์ส คอร์ปอเรชั่น เติบโตอย่างรวดเร็วทีเดียว

และแนวนโยบายของมิตซูบิชิ มอเตอร์ส คอร์ปอเรชั่นที่เกิดขึ้นเอง จึงทำให้ยักษ์ใหญ่ในอุตสาหกรรมยานยนต์ของโลกหลายรายได้หันมามองเอเชียอีกครั้ง และดำเนินรอยตามนับจากนั้นมา

แต่ภายใต้เส้นทางเดินที่ดูสวยงามนั้น กลับมีอยู่ 2 กรณีที่ชัดเจน ซึ่งนับว่าจะสร้างความชอกช้ำให้กับมิตซูบิชิ มอเตอร์สคอร์ปอเรชั่นไม่ใช่น้อยจนเป็นข้อสงสัยว่าการถ่ายทอดเทคโนโลยีขั้นสุดยอดให้กับเอ็มเอ็มซี สิทธิผล จะเกิดขึ้นได้จริงหรือ

หนึ่งคือการเข้าไปถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับฮุดได ยักษ์ของเกาหลีใต้ จนปัจจุบันเมื่อฮุนไดเติบใหญ่ จนมั่นใจในเทคโนโลยีของตนเอง ความสัมพันธ์ที่มาแต่เก่าก่อนก็เริ่มจืดจางลง แม้ว่าจะยังติดต่อสานธุรกิจเพื่อสร้างผลประโยชน์กันอยู่แต่ก็รู้กันว่าผลประโยชน์ที่มิตซูบิชิ มอเตอร์ส คอร์ปอเรชั่นได้รับนั้น นับวันจะยิ่งลดน้อยลง เสมือนว่า วิชาที่ถ่ายทอดให้นับจากอดีตนั้นหมดความขลังลงแล้ว

ยิ่งกรณีที่สองนั้น เจ็บปวดมากยิ่งขึ้น

ในยุคนั้น หลายประเทศในเอเชียต้องการที่จะเติบโตอย่างน่าอัศจรรย์แบบที่ญี่ปุ่นเป็น จึงได้พยายามก้าวตามรอยเท้า มาเลเซียก็เป็นประเทศหนึ่งในจำนวนนั้น

ครั้งนั้น มหาธีร์ โมฮะหมัด นายกรัฐมนตรีของมาเลเซีย ได้เรียกร้องให้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีโดยตรงให้กับอุตสาหกรรมยานยนต์ของประเทศ ซึ่งขณะนั้น มิตซูบิชิ มอเตอร์ส คอร์ปอเรชั่น เป็นรายหนึ่งที่พร้อมให้ในทันที ทั้งเงินลงทุนและวิทยาการความรู้

"โปรตอน" คือโครงการอุตสาหกรรมยานยนต์ของมาเลเซีย ที่มิตซูบิชิ มอเตอร์ส คอร์ปอเรชั่น ทุ่มช่วยเหลือ จนปัจจุบันกลายเป็นบริษัทที่มีมูลค่าการตลาดถึง 30,000 ล้านบาทต่อปี

ปัจจุบัน โปรตอน ของมาเลเซีย ได้แยกตัวออกจากมิตซูบิชิ มอเตอร์ส คอร์ปอเรชั่น อย่างสิ้นเชิง แม้แต่การสั่งซื้อชิ้นส่วนจากทางมิตซูบิชิ มอเตอร์ส คอร์ปอเรชั่น ก็ยังไม่ใช่เรื่องจำเป็น

มหาธีร์หันไปผูกมิตรกับฝรั่งเศส โดยระบุว่าญี่ปุ่นไม่จริงใจในการถ่ายทอดเทคโนโลยี เมื่อเทียบกับชาติในยุโรปและล่าสุดรถโปรตอนรุ่นแรกที่ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากซีตรองก็เพิ่งปรากฎโฉมเมื่อเร็ว ๆ นี้

บทเรียนที่เกิดขึ้นย่อมชัดเจน แต่เพราะความซบเซาที่เกิดขึ้นในตลาดรถยนต์ญี่ปุ่น โดยเฉพาะตลาดปิกอัพ บวกกับต้นทุนราคาที่นับวันจะสูงขึ้น จึงทำให้มิตซูบิชิ มอเตอร์ส คอร์ปอเรชั่น จำกัดต้องกัดฟัน หาเพื่อนรู้ใจที่จะเพิ่มความสัมพันธ์ให้ลึกซึ้งเพิ่มขึ้นไปอีก

เอ็มเอ็มซี สิทธิผล จึงมีวันนี้

"เพราะไว้ใจจึงให้เอ็มเอ็มซี สิทธิผล ผลิตและจำหน่ายแต่เพียงผู้เดียวในโลก" คำกล่าวของเรจิโรซึ่งไม่รู้ว่าแอบแฝงความนัยไว้หรือไม่

"วันหนึ่งข้างหน้าญี่ปุ่นจะต้องเข้ามาถือหุ้นมากขึ้น เมื่อย้ายทุกอย่างของการผลิตปิกอัพเข้ามาเมืองไทยแล้วจากปัจจุบันที่โครงสร้างยังเป็นไทยถืออยู่ 52% และญี่ปุ่น 48% เพราะมองไม่เห็นว่าญี่ปุ่นจะได้ประโยชน์จากตรงไหนถ้าให้ทุกอย่างกับ เอ็มเอ็มซี สิทธิผล จนหมด แต่ถ้ากรณี เอ็มเอ็มซี สิทธิผล เป็นผู้รับจ้างคิดโครงการ ออกแบบและผลิตแล้วส่งรถยนต์ปิกอัพให้มิตซูบิชิ มอเตอร์ส คอร์ปอเรชั่น จำจำหน่ายก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง" ผู้ที่อยู่ในวงการอุตสาหกรรมยานยนต์ให้ความเห็น

"ทำไม จะต้องคอยมองว่าญี่ปุ่นจะเข้ามาเทกโอเวอร์" วัชระกล่าวด้วยเสียงค่อนข้างดังต่อ "ผู้จัดการ"

"อนาคตการเปลี่ยนแปลงจะมีหรือไม่ เราไม่รู้ และไม่อาจกล่าวไปถึงตรงนั้น เพียงแต่ขอว่าอย่าไปมองตรงนั้นมาก เพราะทุกวันนี้ผลประโยชน์ที่เขาได้รับจากการย้ายฐานมาเมืองไทยก็มีแล้ว เพราะเขาถือหุ้นที่นี่ถึง 48% การที่ต้องเพิ่มการถือหุ้นอีกหรือไม่นั้น ไม่น่าจะเป็นเรื่องสำคัญ" วัชระกล่าว

อย่างไรก็ตาม ถึงวันนี้ คงกล่าวได้ว่า เอ็มเอ็มซี สิทธิผลยังคงเป็นเพียงโรงงานรับจ้างประกอบเท่านั้นในส่วนของการส่งออก ยังไม่ใช่การประกอบเพื่อจำหน่ายด้วยตัวเอง จนถึงวันที่ทุกอย่างได้รับโอนมายังฐานการผลิตแห่งนี้เสียก่อน โครงสร้างตรงนี้จึงจะต้องพิจารณากันใหม่ และภายใต้เงื่อนไขโครงสร้างการถือหุ้นที่ต้องพูดคุยกันใหม่ด้วย ประเด็นเหล่านี้วัชระไม่อาจกล่าวปฏิเสธได้

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us