Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤษภาคม 2539








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2539
"ศิลป์ชัย ชัยสิทธิเวชช เมื่อความ "เก๋า" กับเบียร์ใหม่มาเจอกันจะเกิดอะไรขึ้น?             
 


   
search resources

เบ็คส์ ดิสทริบิวชั่น (ประเทศไทย), บจก.
ศิลป์ชัย ชัยสิทธิเวชช
Commercial and business




เมื่อไม่นานมานี้เมืองไทยได้มีโอกาสต้อนรับ "เบ็คส์" เบียร์สัญชาติเยอรมนีซึ่งเปิดตัวอย่างเป็นทางการประกาศพร้อมจะลงสนามแข่งขันอีกราย หลังปล่อยให้เบียร์นอกอย่างคาร์ลสเบอร์ก และไฮเนเก้นซึ่งเป็นคู่แข่งเจอะเจอกันในหลายประเทศทั่วโลกต่างนำร่องไปก่อนหน้าแล้ว

บริษัท เบ็ค ดิสตริบิวชั่น (ประเทศไทย) จำกัดเป็นบริษัทที่ตังขึ้นในประเทศไทยเป้าหมายคือทำหน้าที่เปิดเกมรุกอย่างจริงจัง โดยมีเบ็คจากเยอรมนีเจ้าของเบียร์ยี่ห้อเบ็คส์ถือหุ้น 50% และมีพาร์ตเนอร์รายสำคัญคือสุรัตน์ โอสถานุเคราะห์และบริษัทโอสถสภา จำกัดร่วมถือหุ้นประมาณ 30%

ปัจจุบันเบ็คส์ เป็นเบียร์ที่มีมาร์เก็ตแชร์ในเยอรมนีสูงสุดคือ 85% จากจำนวนเบียร์ที่มีจำหน่ายอยู่ถึงกว่า 2,000 ยี่ห้อคิดเป็นยอดขายรวมทั้งสิ้น 20,000 ล้านบาท และยังเป็นเบียร์ที่มียอดการส่งออกสูงสุดเป็นอันดับ 1 ของเยอรมนี โดย 48% ของการผลิตได้ถูกส่งออกไปยังกว่า 100 ประเทศทั่วโลกอาทิอังกฤษ ไต้หวัน อิตาลี แคนนาดา กรีช ญี่ปุ่นและอเมริกา

สำหรับผู้ที่อยู่เบื้องหลังซึ่งเป็นกำลังสำคัญในการหาพาร์ตเนอร์ร่วมนึกกำลังก่อตั้งบริษัท และล่าสุดยังเข้ามาดำรงตำแหน่งประธานฝ่ายบริหารก็คือศิลป์ชัย ชัยสิทธิเวชช หลังจากเปิดหมวกอำลาวงการเบียร์เมืองไทยไปได้เพียง 1 ปี

ก่อนหน้าการตัดสินใจเข้ามาช่วยบริหารงานในเบ็ค ดิสทริบิวชั่น (ประเทศไทย) จำกัด ศิลป์ชัย นับเป็นผู้หนึ่งที่คร่ำหวอดในวงการเบียร์ โดยเขาเคยร่วมงานกับคลอสเตอร์ในยุคก่อตั้งจากนั้นจึงตัดสินใจลาออกไป และหวนกลับเข้ามาร่วมงานกับไทย อมฤต บริวเวอรี่ อีกครั้งเมื่อประมาณปี 2536

อมฤตเอ็นบี เบียร์ท้องถิ่นของกลุ่มเตชะไพบูลย์ นับเป็นหนึ่งในผลงานของศิลป์ชัย ในช่วงที่เขาดำรงตำแหน่งผู้จัดการทั่วไปที่ไทยอมฤตบริวเวอรี่ หรือแม้แต่ความพยายามในการแก้ไขสัญญาการได้สิทธิ์ในการผลิตเบียร์คลอสเตอร์เมื่อ 3 ปีที่ผ่านมาส่งผลให้ในปัจจุบันไทยอมฤตบริวเวอรี่สามารถรับจ้างผลิตเบียร์ให้กับยี่ห้ออื่นได้

"การที่ผมหวนคืนตลาดเบียร์อีกครั้ง เป็นเพราะความสัมพันธ์ที่เคยมีตั้งแต่ครั้งที่อยู่คลอสเตอร์ เพราะจริง ๆ แล้วเบ็คก็คือเจ้าของลิขสิทธิ์คลอสเตอร์นั่นเอง เบ็คส์เป็นสินค้าที่ผมใฝ่ฝันอยากจะทำมาตั้งแต่สมัยนั้นซึ่งเราเคยขอไปแต่เขาไม่ให้บอกว่ายังไม่ถึงเวลา จนเบ็คติดต่อมาให้ผมทำหน้าที่หาพาร์ตเนอร์และจัดตั้งบริษัทในไทย" ศิลป์ชัย อธิบายถึงเบื้องหลังการที่เขาต้องหวนคืนวงการเบียร์อีกครั้ง หลังลาออกจากไทยอมฤตบริวเวอรี่และไปประกอบธุรกิจส่วนตัว

จุดที่หน้าสนใจสำหรับการตัสินใจเข้ามารุกตลาดอย่างเต็มตัวของเบ็คในครั้งนี้ จะเห็นได้ว่าเบ็ค มีพันธมิตรที่ค่อนข้างแข็งแกร่งอย่างสุรัตน์ ซึ่งเข้ามารับตำแหน่งประธาน บริษัท เบ็ค ดิสทริบิวชั่น (ประเทศไทย) จำกัดและโอสถสภานั้น น่าจะมีความหมายในการนำเบ็คส์เข้าสู่ตลาดเมืองไทยอยู่ไม่น้อย

ศิลป์ชัยกล่าวถึงสาเหตุในการตัดสินใจทาบทามสุรัตน์และโอสถสภาเข้ามาร่วมถือหุ้นในเบ็ค ดิสทริบิวชั่น (ประเทศไทย) จำกัดว่า เหตุผลแรกก็คือชื่อเสียงและความแข็งแกร่งด้านเน็ตเวิร์กในสายเครื่องดื่มของโอสถสภา ซึ่งคนทั่วไปจะยอมรับในชื่อเสียงของสุรัตน์ โอสถานุเคราะห์

ขณะเดียวกันโอสถสภามีหลายสิ่งที่จะช่วยสนับสนุนด้านการทำกิจกรรมด้านการตลาด โดยเฉพาะความแข็งแกร่งในด้านสื่อ และโปรแกรมการร่วมสนับสนุนด้านรายการกีฬา ซึ่งมีกิจกรรมด้านนี้ตลอดเวลา และที่สำคัญคือสุรัตน์คือนายเก่าของศิลป์ชัยซึ่งเขาเคยร่วมงานกับโอสถสภามานานร่วม 10 ปี หลังจากลาออกจากคลอสเตอร์ โดยทำหน้าที่เป็นผู้จัดการฝ่ายขายทั่วไปให้กับโอสถสภาหรือ บริษัท โอสถสภา (เต็กเฮงหยู) ในสมัยนั้น

"การตัดสินใจเข้ามาตั้งบริษัทในไทยของเบ็ค ไม่ได้มองแค่ประเทศไทยตลาดเดียว แต่เขามองว่าไทยจะเป็นประตูเปิดสู่ตลาดอินโดจีนตรงนี้เป็นเพียงจุดเริ่มต้นซึ่งเบ็คไม่ได้มองแค่ประเทศไทยตลาดเดียว แต่เขามองว่าไทยจะเป็นประตูเปิดสู่อินโดจีน ตรงนี้เป็นเพียงจุดเริ่มต้นซึ่งเบ็คพยายามที่จะจุดประกาย และทำให้ไทยเป็นตลาดแม่แบบซึ่งในระยะยาวต้องแข็งแรงพร้อมที่จะขยายสู่อินโดจีน" ประธานบริหารบริษัทเบ็ค ดิสทริบิวชั่น (ประเทศไทย) จำกัดกล่าว

จะเห็นได้ว่า ประเทศไทยนับเป็นตลาดแรกที่เบ็คยอมมอบหมายและว่าจ้างให้ไทยอมฤตบริวเวอรี่เป็นผู้ผลิตแทนการนำเข้า ทั้งนี้เป็นเพราะในยุคการค้าไร้พรมแดนเบ็คเยอรมนีจำเป็นต้องปรับกลยุทธ์เพื่อลดต้นทุนและเพิ่มความรวดเร็ว โดยในช่วงแรกจะเป็นการส่งวัตถุดิบในการผลิตและผู้เชี่ยวชาญเข้ามาคุมการผลิต

กล่าวกันว่าหากการว่าจ้างให้บริษัทท้องถิ่นผลิตประสบความสำเร็จ เบ็คอาจจะเริ่มปรับเปลี่ยนการดำเนินงานจากการเน้นส่งออกไปขายอย่างเดียวเป็นการว่าจ้างบริษัทผู้ผลิต ในแต่ละประเทศผลิตให้ก็เป็นได้

ดังนั้นเป้าหมายของเบ็คในการตัดสินใจลงหลักปักฐานในไทย นอกเหนือจากการขยายตลาดเข้าสู่เมืองไทยซึ่งปัจจุบันมีมูลค่าตลาดโดยรวมสูงถึงกว่า 30,000 ล้านบาทซึ่งเป็นตลาดที่น่าสนใจ ตลอดจนการใช้ไทยเป็นสปริงบอร์ดเพื่อเจาะสู่อินโดจีนแล้ว ไทยยังเป็นตลาดชิมลางในการเปลี่ยนระบบการดำเนินธุรกิจของเบ็คจากสินค้านำเข้ามาเป็นผลิตในประเทศอีกด้วย

สำหรับการเข้าสู่ตลาดเมืองไทยในปีแรก ศิลป์ชัยตั้งเป้ามาร์เกตแชร์ไว้ที่ 4% โดยมีเบียร์นอกที่นำมาผลิตในประเทศอันได้แก่ คาร์ลสเบอร์กและไฮเนเก้นเป็นคู่แข่ง ซึ่งศิลป์ชัยมีความเชื่อมั่นว่าเบ็คส์จะสามารถแจ้งเกิดในตลาดเมืองไทยได้สำเร็จอย่างแน่นอน

โดยกลยุทธ์ที่ทางเบ็ค ดิสทริบิวชั่น(ประเทศไทย) จะนำมาใช้เปิดเกมรุกก็คือการชูจุดขายการเป็นเบียร์ตำรับเยอรมนี พร้อมงบโฆษณาและโปรโมชั่นในปีแรกประมาณ 100 ล้านบาท

ศิลป์ชัยเชื่อมั่นว่าแม้เบ้คส์จะเข้ามาในฐานะน้องใหม ่ซึ่งทั้งคาร์ลสเบอร์ และไฮเนเก้นต่างรุกหน้าไปหลายช่วงตัวแล้วนั้นไม่ได้ทำให้เบ็คส์มีข้อเสียเปรียบด้านการแข่งขันแต่อย่างไร ซึ่งกลับจะเป็นผลดีต่อเบ็คส์ เพราะตลาดเบียร์นอกได้ถูกกรุยทางโดย 2 ค่ายจนผู้บริโภคยอมรับในระดับหนึ่งและตลาดก็เริ่มโตขึ้น

ขณะเดียวกันหากพิจารณาอัตราตัวเลขการบริโภคเบียร์ของคนไทยยังพบว่ามีอัตราส่วนที่ยังต่ำอยู่คือ 8 ลิตรต่อคนต่อปี ซึ่งเขามั่นใจว่าตลาดเบียร์เมืองไทยยังเติบโตได้อีกมหาศาล

อย่างไรก็ตามจากการศึกษาสภาพการแข่งขันในตลาดเบียร์เมืองไทย โดยเฉพาะในส่วนของช่องทางจำหน่าย ศิลป์ชัยพยายามหลีกเลี่ยงการปะทะกันในส่วนของเอเยนต์ โดยทางเบ็ค ดิสทริบวิชั่น (ประเทศไทย) จะใช้วิธีผสมผสานระหว่างการจำหน่ายผ่านเอเยนต์และตั้งทีมงานขายเพื่อเจาะตลาดโดยตรงโดยเฉพาะในเขตกรุงเทพฯ

รวมถึงการมองหาช่องทางจำหน่ายใหม่ ๆ เพื่อเป็นช่องทางเสริม ซึ่งอาจจะออกมาในรูปการเข้าไปร่วมทุนกับนักธุรกิจที่สนใจเปิดร้านอาหารเป็นต้น ซึ่งศิลป์ชัยนับเป็นผู้มีประสบการณ์ด้านการพัฒนาในเรื่องช่องทางจำหน่าย เขากล่าวว่าเบียร์ การ์เด้นคือหนึ่งในผลงานของเขาสมัยที่อยู่คลอสเตอร์ จนปัจจุบันกลายเป็นรูปแบบที่ค่ายเบียร์ทุกค่ายนำมาใช้สร้างยอดขายกัน

"ผมไม่หนักใจแต่กลับรู้สึกสนุกและท้าทายกว่าครั้งที่อยู่ที่คลอสเตอร์เสียอีก เพราะนี่คือการเล่นกับตลาดที่มีมูลค่าเกือบ 40,000 ล้านบาท ในแง่นักการตลาดแล้วท้าทายมาก" ศิลป์ชัยกล่าว

เป็นที่คาดการณ์กันว่า "เบ็คส์" เบียร์น้องใหม่จะเริ่มวางตลาดในเดือนพฤษภาคมนี้อย่างแน่นอน คงเป็นเรื่องที่ต้องติดตามกันต่อไปว่าการหวนคืนตลาดเบียร์ครั้งที่ 3 ของศิลป์ชัย ชัยสิทธิเวชชจะสามารถอาศัยความเก๋าฝ่าปราการที่สิงห์ตั้งไว้อย่างเหนียวแน่น และผงาดขึ้นไปแจ้งเกิดได้สำเร็จหรือไม่

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us