|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
กระทรวงการคลังเร่งแก้ถังแตก กรมบัญชีกลางปรับระเบียบเบิกจ่าย กยศ. มั่นใจไม่กระทบนักศึกษากู้เรียน ด้านผอ.กยศ. ชี้ยังไม่รู้อนาคต หวั่นถ้าแก้ระเบียบแล้วจ่ายเงินให้ไม่ทันวุ่นวายแน่ ขณะที่การยุบกองทุนเงินนอกงบประมาณยังไม่พบมีการเคลื่อนไหว ลุ้นยอดจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสัปดาห์นี้
นายบุญศักดิ์ เจียมปรีชา อธิบดีกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า กรมบัญชีกลางจะสรุปผลการศึกษาเรื่องการแก้ไขระเบียบการเบิกจ่ายของกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ภายในสัปดาห์นี้ โดยจะมีการแก้ไขระเบียบเดิมเพื่อไม่ให้ กยศ.เบิกเงินครั้งละเป็นจำนวนมาก แล้วนำไปฝากกับธนาคารก่อนที่จะนำไปให้แก่สถาบันการศึกษา และนักศึกษาที่กู้ยืมเงินจากกองทุนในภายหลัง การแก้ไขระเบียบดังกล่าวเพื่อความคล่องตัวของสภาพคล่อง ทั้งนี้ ไม่ส่งผลกระทบต่อนักศึกษาที่ต้องกู้เงินของ กยศ.เรียน เพราะระเบียบที่แก้ไขนี้ จะยังคงให้เบิกจ่ายได้ตามปกติ เพียงแต่ต้องเบิกตามความจำเป็นเท่านั้น
"เราจะต้องแก้ระเบียบการเบิกจ่าย ว่าจะจัดสรรค่าใช้จ่ายใหม่อย่างไร ที่ไม่ใช่เป็นการเอาเงินก้อนใหญ่ ๆไปฝากธนาคารเอาไว้เฉย ๆ ผมก็ให้เขาศึกษาอยู่" นายบุญศักดิ์กล่าว
ด้านความคืบหน้า การยุบกองทุนเงินนอกงบประมาณ ซึ่งปัจจุบันมีอยู่กว่า 90 กองทุน เนื่องจากบางกองทุนมีความจำเป็นน้อยลง หรือบางกองทุนมีลักษณะซ้ำซ้อนกันนั้น นายบุญศักดิ์กล่าวว่า ไม่ได้เข้าไปเร่งรัดแต่อย่างใด เพราะเห็นว่าปกติแล้ว ทุกปีก็จะมีการยุบกองทุนที่ไม่จำเป็นทิ้งเป็นปกติอยู่แล้ว
นายเปรมประชา ศุภสมุทร ผู้จัดการ กยศ. กล่าวว่า การแก้ไขระเบียบการเบิกจ่ายของ กยศ.นั้น คงจะไม่มีผลกระทบเนื่องจากเป็นการแก้ไขให้มีการเบิกจ่ายตามความจำเป็นเท่านั้น ซึ่งหากกรมบัญชีกลางสามารถจ่ายเงินใหักับกองทุนฯ ได้ทันเวลาที่ กยศ.จะต้องจ่ายให้กับสถาบันการศึกษาและนักศึกษาที่มีอยู่กว่า 8 แสนราย ได้ทัน ก็ไม่น่าจะมีปัญหาแต่อย่างใด
"หากเขาจ่ายได้ทัน ก็จะไม่ต่างกับระเบียบเก่าเท่าไหร่ แต่แทนที่เราจะเอาไปฝากแบงก์เอาไว้ ก็ค่อยมาเบิกเอาเมื่อต้องใช้แทน ก็ไม่มีปัญหาถ้าให้เราได้ตามเวลา ตอนนี้ก็ยังไม่รู้ว่าอนาคตจะเป็นยังไง แต่ถ้าพลาดก็โกลาหลแน่" นายเปรมประชากล่าว
ส่วนกรณีที่รัฐบาลต้องประสบกับภาวะขาดดุลเงินสด ทำให้ทางกรมบัญชีกลางได้มาขอยืมเงินจาก กยศ. 7,000 ล้านบาท ไปใช้รองรับการเบิกจ่ายของส่วนราชการต่างๆ ก่อนภายในช่วงนี้ โดยระบุว่าจะคืนเงินให้ทันภายในเดือนมิ.ย. นี้ นายเปรมประชาเห็นว่า หากกรมบัญชีกลางสามารถคืนเงินให้ได้ตามกำหนด ก็ไม่น่าจะมีผลกระทบแต่อย่างใด แต่ถ้ามีปัญหาคืนให้ไม่ทันก็จะเกิดผลกระทบอย่างมหาศาลต่อนักศึกษาดังกล่าว
"กยศ. มีภาระต้องจ่ายเงินส่วนดังกล่าวให้แก่สถาบันการศึกษาและนักศึกษาที่กู้ยืมเงินจากกองทุนฯ รวมกว่า 8 แสนราย ในช่วงประมาณเดือน พ.ค.-มิ.ย."
ทั้งนี้ โดยตามปกติแล้ว กยศ. จะตั้งฎีกาเบิกเงินล่วงหน้าประมาณ 3 เดือน เพื่อนำไปฝากธนาคารเอาไว้ สำหรับเตรียมรองรับการจ่ายให้แก่สถาบันการศึกษาและนักศึกษาทั่วประเทศเพราะถ้าไม่เตรียมไว้ก่อน อาจจะทำให้มีผลกระทบต่อการให้กู้ยืมได้
แหล่งข่าวกระทรวงการคลังกล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่พบว่ามีข้อเสนอให้มีการพิจารณายุบเลิกกองทุนนอกงบประมาณแต่อย่างใด โดยการจะยุบกองทุนนั้น เป็นเรื่องแล้วแต่สถานการณ์ความจำเป็น อย่างเช่นปี 2548 ที่ผ่านมาก็มีการยุบไป 1 กองทุน โดยที่ส่วนราชการที่ดูแลกอง
ทุนนั้นอยู่เห็นชอบด้วย อย่างไรก็ดี เห็นว่าหากฝ่ายนโยบายมีแนวคิดที่จะยุบกองทุนใดกองทุนหนึ่งนั้น ก็สามารถทำได้ โดยกองทุนที่กระทรวงการคลังมีอำนาจยกเลิกได้นั้น จะต้องเป็นกองทุนที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีฯ เท่านั้น ส่วนบางกองทุนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายเฉพาะ จะเป็นอำนาจของสภา ในการพิจารณาว่าจะให้ยุบได้หรือไม่
ด้านความคืบหน้าการจัดเก็บรายได้ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาซึ่งมีแนวโน้มต่ำกว่าเป้าหมายนั้นจะมีการแถลงตัวเลขอย่างเป็นทางการในสัปดาห์นี้ คาดว่าการเก็บภาษีดังกล่าวจะต่ำกว่าเป้า ทำให้แนวโน้มการจัดเก็บรายได้ปีนี้ต่ำกว่าเป้า ส่งผลกระทบต่อฐานะการคลังของประเทศ
|
|
|
|
|