Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน3 เมษายน 2549
โบรกเกอร์คาดหุ้นทรุดยาวหลังเลือกตั้ง             
 


   
search resources

Stock Exchange




วงการโบรกเกอร์ ตลาดหุ้นหลังเลือกตั้งยังทรุดยาว เหตุเป็นการเลือกตั้งที่เกิดขึ้นท่ามกลางความขัดแย้ง และไม่แน่ใจว่าจะได้ข้อยุติหลังเลือกตั้งเสร็จสิ้น "มนตรี ศรไพศาล" ชี้ต้องรอจำนวนผู้ใช้สิทธิ จำนวนส.ส. และท่าทีนายกฯคนต่อไป ด้านบล.ไทยพาณิชย์ เชื่อตลอด 1 เดือนหลังเลือกตั้งโอกาสหุ้นซึมยาว โอกาสปรับตัวขึ้นไม่ง่าย ขณะที่บล.นครหลวงไทย แจงหากการเมืองไม่เศรษฐกิจชะลอตัว ส่วน "เกียรตินาคิน" คาดดัชนีไตรมาส 2/49 แกว่งตัวในกรอบ 700-760 จุด

ภาวะการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยช่วงที่ผ่านมา ปัจจัยหลักที่ถือว่าเป็นปัจจัยลบที่สำคัญซึ่งนักลงทุนจำนวนมากชะลอการลงทุนเพื่อประเมินสถานการณ์ คือ ปัจจัยด้านการเมืองที่ยังไม่มีข้อยุติ แม้ว่าความกังวลที่นักลงทุนไม่แน่ใจเรื่องการใช้ความรุนแรงในการแก้ไขสถานการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อยังไม่เคยเกิดขึ้นก็ตาม

ทั้งนี้ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือ ส.ส. เมื่อวานนี้ (2 เม.ย.) ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับตลาดทุนยังคงไม่แน่ใจว่า หลังจากการเลือกตั้งเสร็จสิ้นลงทิศทางตลาดหุ้นจะเป็นไปในทางใด แม้ว่าในช่วงการเลือกตั้ง 2 ครั้งในอดีตที่ผ่านมา ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ มักจะปรับขึ้นได้โดยตลอด แต่ในครั้งนี้ผู้เชี่ยวชาญด้านตลาดทุนกลับไม่กล้าฟันธง โดยให้เหตุผลที่สอดคล้องกันว่า การเลือกตั้งครั้งนี้ไม่ใช่การเลือกตั้งตามปกติ ทำให้นักลงทุนไม่มั่นใจว่าหลังการเลือกตั้งเหตุการณ์ทุกอย่างจะสงบหรือไม่

นายมนตรี ศรไพศาล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การประเมินสถานการณ์ความเคลื่อนไหวของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ภายหลังการเลือกตั้งในครั้งนี้ เป็นเรื่องที่คาดการณ์ได้ยาก เพราะจะต้องรอความชัดเจนเกี่ยวกับผลการเลือกทั้งในเรื่องคะแนนเสียงของประชาชนที่มาใช้สิทธิ จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคการเมืองแต่ละพรรค และรวมไปถึงท่าทีของนายกรัฐมนตรีคนใหม่ว่าจะมีท่าทีอย่างไรต่อสถานการณ์ในบ้านเมือง

ทั้งนี้ เชื่อว่าโอกาสที่ดัชนีตลาดหุ้นไทยจะปรับตัวขึ้นในช่วงหลังการเลือกตั้งเหมือนทุกครั้งที่ผ่านมา เป็นเรื่องที่ยาก เนื่องจากนักลงทุนยังมีความกังวลต่อสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศอยู่มาก คงจะต้องรอให้นักลงทุนมีความเชื่อมั่นมากกว่านี้

"มีอีกหลายปัจจัยที่เราต้องรอดูว่าจะเป็นอย่างไร เช่น จำนวนส.ส.ของพรรครัฐบาล จำนวนคนที่ไปใช้สิทธิ จำนวนคนที่เลือกไม่เลือกลงคะแนน และที่สำคัญท่าทีของนายกรัฐมนตรีว่าจะเป็นอย่างไร เราถึงจะประเมินสถานการณ์ได้" นายมนตรี กล่าว

นายอดิพงษ์ ภัทรวิกรม ผู้อำนวยการฝ่ายกลยุทธ์การลงทุน บริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์ จำกัด กล่าวว่า โดยปกติดัชนีตลาดหลักทรัพย์ภายหลังการเลือกตั้งจะปรับตัวขึ้นเสมอ แต่การเลือกตั้งในครั้งนี้แตกต่างออกไปจากทุกครั้ง โดยเชื่อว่าตลอด 1 เดือนหลังจากนี้โอกาสที่ดัชนีจะปรับขึ้นได้เป็นไปได้ค่อนข้างน้อย ทั้งนี้ ความกังวลต่อสถานการณ์ต่างๆ ในประเทศ และต่างประเทศเป็นเรื่องที่นักลงทุนไม่ชอบ ประกอบกับปัจจุบันปัจจัยทางการเมืองยังไม่มีความชัดเจนตลาดทุนจะกลับมาเป็นปกติอีกครั้งเหมือนก็อย่างเป็นปกติ

นายไพบูลย์ นลินทรางกูล รองกรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ ทิสโก้ จำกัด กล่าวว่า การเลือกตั้งในครั้งนี้เรียกได้ว่าเป็นการเลือกตั้งที่ผิดปกติไม่เหมือนกับการเลือกตั้งในอดีต ซึ่งทำให้การประเมินสถานการณ์ในตลาดทุนเป็นไปได้ยากหุ้นขึ้น คือ ไม่สามารถเปรียบเทียบกับตลาดหุ้นช่วงหลังเลือกตั้งของ 2 ครั้งที่ผ่านมาได้

ทั้งนี้ ในการเลือกตั้ง 2 ครั้งล่าสุด คือ ครั้งแรก เมื่อวันที่ 6 ม.ค. 2545 ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ปิดการซื้อขายในวันแรกหลังการเลือกตั้ง(7 ม.ค.) ที่ระดับ 317.69 จุด เพิ่มขึ้น1.96 จุด หรือ 0.62% ขณะที่ในช่วง 1 เดือนหลังจากนั้นเมื่อวันที่ 7 ก.พ. ดัชนีปิดที่ 346.77 จุด โดยดัชนีเปิดขึ้น 29.08 จุด หรือ 9.15% จากราคาปิดวันแรกหลังการเลือกตั้ง

ขณะที่ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 6 ก.พ. 2548 ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ปิดการซื้อขายในวันแรกหลังการเลือกตั้ง (7 ก.พ.) ที่ระดับ 725.76 จุด เพิ่มขึ้น 6.66 จุด หรือ 0.93% ขณะที่ในช่วง1 เดือนหลังจากนั้นเมื่อวันที่ 7 มี.ค. ดัชนีปิดที่ 737.42 จุด โดยดัชนีเปิดขึ้น 29.08 จุด หรือ 9.15% จากราคาปิดวันแรกหลังการเลือกตั้ง 11.66 จุด หรือ 1.60% จากราคาปิดวันแรกหลังการเลือกตั้ง

***การเมืองไม่จบกระทบเศรษฐกิจ**

นางสาววิริยา ลาภพรหมรัตน ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายวิเคราะห์ บริษัทหลักทรัพย์ เกียรตินาคิน จำกัด กล่าวว่า สำหรับแนวโน้มตลาดหุ้นไทยในไตรมาส 2 ปี 2549 ประเด็นที่จะต้องมีการติดตามประเด็น คือ ปัจจัยทางการเมืองหลายหลังการเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายนนี้ ว่าจะสามารถมีข้อมูลใหม่ที่จะทำให้ปัจจัยทางการเมืองมีความผ่อนคลาย และสามารถหาข้อยุติความขัดแย้งทางความคิดได้หรือไม่

ทั้งนี้ หากปัจจัยทางการเมืองมีความยืดเยื้อต่อไปอีก 3 เดือน ก็จะมีผลทำให้นักลงทุนต่างประเทศและนักลงทุนภายในประเทศมีการชะลอการลงทุนในตลาดหุ้นไทย แต่ส่วนตัวมองว่าหากปัจจัยการเมืองมีความยืดเยื้อ แต่ไม่มีความรุนแรง ก็เชื่อว่านักลงทุนต่างประเทศก็ยังคงลงทุนในตลาดหุ้นไทยอยู่ เนื่องจากผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนก็ยังคงเติบโต และตลาดหุ้นไทยมีค่า P/E ต่ำ มีการจ่ายเงินปันผลที่ดี จึงทำให้นักลงทุนต่างประเทศยังไม่ขายหุ้นไทยทิ้ง

ส่วนประประเด็นอัตราดอกเบี้ย ที่มีแนวโน้มการปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น และราคาน้ำมันที่มีการทรงตัวและมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นในปลายเดือนมีนาคมนั้น บริษัทจดทะเบียนจะต้องมีการควบคุมต้นทุนในเรื่องของอัตราดอกเบี้ยและราคาน้ำมันที่จะมีผลกระทบต่อการดำเนินงานได้ รวมถึงจะต้องมีการติดตามในเรื่องผลประกอบการในไตรมาส1/49ของบริษัทจดทะเบียนที่จะมีการประกาศออกมาในไตรมาส2/49 ซึ่งจะทำให้มีการเก็งกำไรหุ้นเป็นรายตัวที่มีผลประกอบการที่เพิ่มขึ้น ทำให้ราคาหุ้นปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ โดยคาดว่าดัชนีตลาดหุ้นไทยในไตรมาส 2/49 จะแกว่งตัวในกรอบ 700-760 จุด

นายสุกิจ อุดมศิริกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายพัฒนาตลาดทุน บริษัทหลักทรัพย์ นครหลวงไทย จำกัด กล่าวว่า แนวโน้มตลาดหุ้นไทยในไตรมาส 2/49 ซึ่งหากปัจจัยภายทางการเมืองยังไม่สามารถหาข้อสรุปได้ จะมีผลกระทบทำให้เศรษฐกิจของไทยมีการชะลอตัว รวมถึงกดดันอุตสาหกรรมการบริโภคของประชาชน

ส่วนปัจจัยภายนอกประเทศนั้นมองว่ายังเป็นทิศทางที่ดีเนื่องจาก ค่าเงินในเอเซียมีการแข็งค่าขึ้น ค่าเงินดอลล่าร์มีการอ่อนตัวลง ดังนั้นจึงทำให้เม็ดเงินต่างประเทศยังคงไหลเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นในเอเซียรวมถึงตลาดหุ้นไทย ซึ่งมูลค่าจะเท่าไรนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยภายในประเทศ แต่ในด้านปัจจัยพื้นฐานทางด้านเศรษฐกิจไทยยังคงดีอยู่

สำหรับราคาน้ำมันคาดว่ายังคงทรงตัวในระดับที่สูง เนื่องจากความต้องการใช้น้ำมันยังคง รวมถึงสถานการณ์ในต่างประเทศซึ่งยังไม่สามารถยุติได้ ส่วนในเรื่องอัตราดอกเบี้ยก็อยู่ในช่วงขาขึ้นจากสหรัฐอเมริกามีการปรับอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม คาดว่าดัชนีฯจะมีการปรับตัวลดลงมากที่สุด ที่ 715 จุด หากกำไรของบริษัทจดทะเบียนในไม่ขึ้น โดยมีค่า P/E ที่ 8-9เท่า และหากภาวะต่างๆปรับตัวเพิ่มขึ้นดัชนีฯ มีโอกาสปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ถึง 760 จุด

นายสุกิจ กล่าวว่า ดัชนีตลาดหุ้นไทยในช่วงไตรมาส 1/49 ถือว่ามีการปรับตัวดีขึ้นกว่าในไตรมาส1/48 เนื่องจาก ในไตรมาส 1/48 นั้น ถือว่าเป็นช่วงที่ไม่ดี จากค่าเงินบาทที่อ่อนตัว มีการลอยตัวราคาน้ำมันทำให้ราคาน้ำมันมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นสูง รวมถึงมีการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด อัตราเงินเฟ้อมีการปรับตัวเพิ่มขึ้น

ส่วนในช่วงไตรมาส1/49 นั้น ดัชนีฯไม่ได้มีการปรับตัวลดลงแต่จะเป็นลักษณะซึมๆ จากนักลงทุนมีความกังวลในปัจจัยทางการเมือง ซึ่งดุลบัญชีเดินสะพัด อัตราเงินเฟ้อก็มีการปรับตัวลดลง   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us