|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
ภาษีบำรุงท้องที่ กับภาษีโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างเป็นรายได้หลักของ อปท.ที่ต้องเก็บได้มาก แต่ปัจจุบันตรงกันข้าม เพราะทุกวันนี้ ภาษีทั้ง 2 ตัวสร้างรายได้แค่เพียงหยิบมือเดียว เป็นผลมาจากการให้อำนาจ อปท. บัญญัติเงื่อนไขให้ผู้มีอันจะกินไม่ต้องเสียภาษี ทำให้ฐานภาษีที่ควรขยายกว้าง กลับจำกัดแคบแค่คนบางกลุ่ม โดยเฉพาะคนจนเสียมากคนรวยเสียน้อย ไร้ความยุติธรรม ภาพของ อปท.เปรียบเป็นแค่ลูกแหง่ที่รัฐต้องป้อนงบประมาณให้ตลอด ด้วยเหตุนี้เองภาษีทั้ง 2 ตัวจึงต้องถูกล้างออกจากระบบและเปลี่ยนมาใช้ "ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างแทน" ตัดตอนคนรวยเลี่ยงภาษี
ภาษีหลักที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.)ต้องจัดเก็บในปัจจุบันนั้นมี 2 ส่วน คือภาษีโรงเรือนและที่ดิน กับภาษีบำรุงท้องที่ แต่ที่ผ่านมาการจัดเก็บภาษีของทั้ง 2 ตัวนี้ทำรายได้ ให้อปท.ไม่มากนักทั้งที่ความเป็นจริงไม่ควรเป็นเช่นนั้นนอกจากนี้ยังมีภาษีอีกหลายตัวที่สร้างรายได้ให้ถ้องถิ่น อย่างอากรฆ่าสัตว์ ภาษีป้าย ภาษีค้าปลีกยาสูบ ภาษีค้าปลีกน้ำมัน แต่ก็ไม่ได้ทำรายได้ให้ อปท. มากนัก
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากภาษีโรงเรือนและที่ดิน กับภาษีบำรุงท้องที่เป็นภาษีหลักจึงอยากอธิบายถึงขอบเขตของภาษีแต่ละตัวว่าครอบคลุมส่วนใดบ้าง อย่างภาษีบำรุงท้องที่นั้นจะครอบคลุมแค่ที่ดินอย่างเดียว ส่วนภาษีโรงเรือนและที่ดินครอบคลุมในส่วนของสิ่งปลูกสร้างและที่ดิน ซึ่งสิ่งปลูกสร้างที่กล่าวถึงไม่ว่าจะเป็นอาคารพาณิชย์ที่ต้องเช่า บ้านเรือนที่อยู่อาศัยหากมีการประกอบธุรกิจก็จะต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน
สมชัย สัจจพงษ์ รองผู้อำนวยการการนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เล่าให้ฟังว่า ดังนั้นฐานภาษี โรงเรือนและที่ดินจะเก็บจากค่าเช่าโรงเรือน ส่วนบ้านที่อยู่อาศัยและประกอบธุรกิจเชิงพาณิชย์แม้ไม่ได้เช่าใครแต่ก็ต้องเสียภาษีเช่นกันจากการประเมินค่าเช่า เนื่องจากกรณีนี้ไม่มีราคากำหนดผู้เก็บภาษีจึงต้องประเมินจากค่าเช่าบริเวณพื้นที่ดังกล่าวซึ่งจะถูกหรือแพงแล้วแต่ทำเลที่ตั้งของบ้านที่ทำการเชิงพาณิชย์ด้วย
"เมื่อประเมินหรือได้ค่าเช่าแล้วก็ต้องคูณกับอัตราภาษีที่กำหนดซึ่งอยู่ที่ 12.5% มันเหมือนการเอาเปรียบคนจนที่ทำมาหากินเช้ายันค่ำ แต่กลับต้องมาเสียภาษี โรงเรือนและที่ดินในขณะที่พวกคนรวยมีบ้านราคา 5 ล้านบาทไม่ต้องเสียภาษีในส่วนนี้เลยสักบาทเพราะที่อยู่อาศัยไม่เข้าเกณฑ์ต้องเสียภาษี นี่คือความบกพร่องข้อแรกของภาษีโรงเรือนและที่ดิน"
สมชัย กล่าวต่อว่า ในส่วนภาษีบำรุงท้องที่ นี้เก็บเฉพาะที่ดินเพียงอย่างเดียว และสำหรับผู้ที่เสียภาษีโรงเรือนและที่ดินก็ไม้ต้องเสียภาษีบำรุงท้องที่ เนื่องจากภาษีที่ดินได้ถูกประเมินไปในส่วนของภาษีโรงเรือนและที่ดินแล้วจึงไม่ต้องจ่ายซ้ำซ้อน
"แต่ข้อบกพร่องของภาษีบำรุงท้องที่คือเมื่อให้อำนาจท้องถิ่นจัดเก็บเอง ทำให้เกิดช่องโหว่เพื่อการช่วยเหลือคนรวยได้ เพราะ อปท.สามารถออกบัญญัติยกเว้นการจัดเก็บภาษีหากที่ดินดังกล่าวไม่ถึงตารางวาที่กำหนดไว้ ซึ่งแต่ละท้องถิ่นก็จะมีอำนาจในการกำหนดแตกต่างกันไป เช่น ที่ดินไม่เกิน 50 ตารางวาก็ไม่ต้องเสียภาษี บางถ้องถิ่นก็ให้ถึง 100-200 ตารางวา ทำให้ฐานภาษีแคบลง เมื่อแคบก็เก็บได้น้อย"
อีกทั้งการจัดเก็บภาษีบำรุงท้องที่ยังเป็นการเก็บในอัตราที่ถดถอย ซึ่งหมายความว่า ยิ่งมีที่ดินมากย่างเสียภาษีน้อย เช่น ที่ดิน 1 ไร่เสีย 5 บาท ถ้ามากกว่า 1ไร่ ก็จะเสียน้อยลง ตรงข้ามถ้ามีน้อยกว่า 1 ไร่ ก็จะเสียมากขึ้น ซึ่งอัตราภาษีในส่วนนี้มีมากกว่า 30 อัตราขึ้นอยู่กับขนาดของที่ดิน มิหนำซ้ำอัตราที่ใช้ในการประเมินที่ดินยังเก่าคร่ำครึ มาตั้งแต่สมัย 2524 ขณะที่ปัจจุบัน ราคาที่ดินแต่ละพื้นที่กลับเปลี่ยนไปเพิ่มมากไม่รู้ว่ากี่ร้อยเท่าแล้วยังจะใช้อัตราประเมินเดินที่แสนจะโบราณอีก
ถ้าจะถามว่าเหตุใดจึงต้องบัญญัติออกมาเช่นนี้ คำตอบที่ดูเหมาะสมที่สุดคงหนีไม่พ้นเรื่องการรักษาฐานเสียงเพื่อการเลือกตั้งครั้งต่อไปจะได้กลับเข้ามาออมอกของอปท.อีกสมัยหนึ่ง
สมชัย ย้ำว่า ภาษี โรงเรือนและที่ดิน กับภาษีบำรุงท้องที่คือข้อบกพร่อง ที่ทำให้ อปท.ไม่โตสักที ไม่ยุติธรรมเพราะเอาใจแค่คนบางกลุ่ม ดังนั้นจากการศึกษาของสศค. เห็นควรยกเลิกภาษีบำรุงท้องที่ กับภาษีโรงเรือนและที่ดิน โดยมารวมเป็นภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเพราะเป็นการจัดเก็บจากทรัพย์สินที่มีอยู่จริง ไม่ใช่มาจากค่าเช่า หรือการยกเว้นอภิสิทธิ์ให้คนบางกลุ่มที่มีที่ดินไม่ถึงเกณฑ์ที่กำหนด
ทำให้ต่อจากนี้ไปคนในท้องถิ่นหรือในท้องที่ทุกคนจะตองเสียภาษีหมด คนมีบ้านที่อยู่อาศัยไม่ประกอบธุรกิจเชิงพาณิชก็ต้องเสีย เรียกว่าเสียกันถ้วนหน้า ไม่มีการยกเว้นให้คนกลุ่มหนึ่งกลุ่มใด กระนั้นก็ตามอัตราภาษีที่กำหนดไว้ก็ไม่ได้สูงมาก เช่นบ้านราคา 1-2ล้านบาท ก็เสียภาษีประมาณ 200-300 บาทต่อปี ส่วนภาษีใหม่นี้จะบังคับเมื่อไรนั้นอยู่ที่ภาครัฐ ตอนนี้ก็คงได้แต่เฝ้ารอจนกว่าการเมืองจะสงบและความชัดเจนเกิดขึ้น
สมชัย เล่าอีกว่า กระนั้นก็ตาม รัฐไม่ได้เข้าไปบังคับให้แต่ละท้องถิ่นต้องเสียภาษีในอัตราที่กำหนดเป็นฐานเดียวกัน รัฐเพียงแต่กำหนดอัตราขั้นต่ำและขั้นสูงไว้เท่านั้นเพื่อให้แต่ละท้องถิ่นนำไปปรับให้เหมาสมกับพื้นที่ของตัวเอง ดังนั้นถ้าพื้นที่ไหนห่วงแต่ฐานเสียง อัตราการจัดเก็บก็ต่ำเกินและไม่เหมาะสมกับท้องถิ่นที่เจริญ
"ซึ่งหมายความว่า ถ้าจัดเก็บได้ต่ำการพัฒนาพื้นที่หรือท้องถิ่นก็ทำได้ยาก ความเจริญไม่เกิด หวังของบจากรัฐก็ใช่ว่าจะได้ง่าย ๆ เพราะรัฐเองก็ต้องใช้งบเพื่อนำไปพัฒนาประเทศ และเชื่อว่าเมื่อถึงจุดหนึ่งคนในท้องถิ่นที่เสียภาษีทุกคนไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงหรือพื้นที่ได้รับการพัฒนา ความสนใจในสิทธิประโยชน์ของตนในฐานะผู้เสียภาษีย่อยเกิดขึ้น นั่นหมายถึงประชาชนจะให้ความใส่ใจในการบริหารของอปท.มากขึ้น"
สมชัย ถึงกับกล่าวว่า "การที่คนในท้องที่ไม่สนใจการบริหารงานของ อปท. เพราะไม่รู้สึกถึงความเจ็บปวดเพราะพวกเขาเหล่านี้ไม่ได้เสียภาษีให้อปท. แต่เมื่อต้องเสียเสียภาษีให้แล้ว ความเจ็บปวดจะเกิดขึ้น เพราะถ้า อปท.ไม่ได้ทำอะไรให้กับท้องถิ่นตนเองความน่าสงสัยเคลือบแคลงใจว่าภาษีที่จ่ายไปนั้นตกหล่นอยู่ที่ไหน นำไปใช้อะไร ทำให้มีการตรวจสอบและเกิดความโปร่งใส และใสใจกับการจัดทำงบประมาณส่วนท้องถิ่น"
ที่สำคัญเหมือนเป็นการสนับสนุนให้เกิดประชาธิปไตยขึ้นในท้องถิ่นให้คนในพื้นที่สนใจการเมืองมากระดับท้องถิ่นมากขึ้น ขณะเดียวกันเงินที่เก็บไปหากประชาชนไม่เห็นการพัฒนา ผลที่เกิดสะท้อนกลับไปสู่ผู้ลงเลือกตั้ง อปท. ซึ่งหมายถึงถ้าทำดีก็ได้เข้ามาบริหารต่อ แต่ถ้าไม่พัฒนาเลยเก็บเงินไปก็ไม่เห็นผลงาน เสียงของประชาชนที่สนับสนุนย่อมน้อยลง
อย่างไรก็ตามไม่ได้หมายความว่ารัฐจะไม่ให้ความช่วยเหลือท้องถิ่นอีกเลย เนื่องจากในแต่ละท้องถิ่นมีความแตกต่างกันบางพื้นที่ยังต้องการความช่วยเหลือจากรัฐเนื่องจากเป็นท้องถิ่นที่ยังไม่เจริญ แต่อย่าง กรุงเทพฯ หรือเทศบาลเชียงใหม่ ในส่วนนี้ควรจะเก็บภาษีและดูแลตัวเองได้โดยพึ่งงบของรัฐให้น้อย
การปรับโครงสร้างภาษีให้องค์กรปกครองท้องถิ่นจัดเก็บภาษีได้มากขึ้นไม่เพียงแค่ลดภาระภาครัฐเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการกระจายอำนาจของภาครัฐไม่สู่ชุมชนและท้องถิ่น เพื่อให้แต่ละพื้นที่ได้มีโอกาสพัฒนาท้องที่ของตัวเองด้วยการสร้างโครงการดี ๆ โดยไม่ต้องนั่งรอเงินจากรัฐป้อน
สมชัย เล่าเพื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจนถึงการจัดเก็บภาษีในส่วนของอปท.ว่า ถ้าเทียบการจัดเก็บ 100% อปท.สามารถจัดเก็บภาษีท้องถิ่นได้เพียง 10% เท่านั้น ที่เหลือ 90% เป็นเงินที่จัดสรรมาจากงบประมาณของภาครัฐทั้งนั้น และยังมีในส่วนภาษีมูลค่าเพิ่ม(VAT) ที่เก็บในอัตรา 7% โดย 0.7% ต้องแบ่งให้ อปท.
ตามกฎหมายนั้นเงินที่ต้องจัดสรรลงท้องถิ่นอจะอยู่ในสัดส่วน 35% แต่ทังหมดไม่ได้มาจากงบประมาณเพียงอย่างเดียว กระนั้นก็ตามโดยเฉลี่ยที่รัฐต้องจ่ายอุดหนุนงบประมาณให้แต่ละปีสูงถึง 80,000 -100,000 ล้านบาท ยัไม่รวมภาษีVAT ที่แบ่งให้ 0.7% ด้วยซ้ำ
จึงไม่อาจปฏิเสธถึงความบกพร่องและการขาดประสิทธิภาพของ อปท. ต่อการจัดเก็บภาษี จนทำให้รัฐต้องเข้ามารับผิดชอบดูแลและจัดสรรงบประมาณส่วนหนึ่งให้ ซึ่งถ้าเทียบกับกลุ่มประเทศที่มีการพัฒนาแล้ว ภาษีท้องถิ่นสามารถจัดเก็บได้สูงถึง 90% อย่างนิวซีแลนด์ หรือแม้แต่ประเทศเพื่อบ้านที่กำลังพัฒนาอย่างมาเลเซีย บทบาท อปท. ก็มีมากกว่าประเทศไทยด้วยซ้ำ และถ้า อปท.ทำได้มากขนาดนั้นก็เป็นการลดภาระของภาครัฐในการจัดสรรงบประมาณส่วนหนึ่งลงท้องถิ่น และได้นำงบประมาณไปใช้ในส่วนอื่นที่สำคัญต่อการพัฒนาประเทศ
อย่างไรก็ตามคงมีภาษีอีกหลายตัวที่ต้องปรับใหม่ เพื่อให้ อปท.สามารถยืนอยู่ด้วยขาของตัวเอง โดยพึ่งเงินงยประมาณจากภาครัฐน้อยที่สุด
ช่องโหว่ของ อปท.ที่ถูกที่ให้สิทธิประโยชน์คนบางกลุ่ม และการจัดเก็บภาษีที่ขาดประสิทธิภาพกำลังถูกปิดด้วยโครงสร้างภาษีตัวใหม่ "ภาษีทรัพย์สินและสิ่งปลูกสร้าง"จะเพิ่มความเท่าเทียมให้คนในท้องถิ่นต้องเสียภาษีกันถ้วนหน้าไม่ยกเว้นใคร แต่กระนั้นก็ตามแม้ช่วงโหว่จะถูกปิดแล้วแต่ก็ยังไม่มิด ด้วยอัตราภาษีที่ไม่ได้กำหนดตายตัวให้ทุกท้องถิ่นต้องจ่ายเท่ากันหมด อาจยังสร้างผลกระโยชน์ให้กับคนบางกลุ่มได้อยู่
เพราะรัฐกำหนดอัตราภาษีมาแค่ขั้นต่ำสุดและสูงสุดเท่านั้นไม่ได้กำหนดอัตราเดียว ทำให้อปท.มีอำนาจในการกำหนดว่า อัตราภาษีทรัพย์สินและสิ่งปลูกสร้าง ที่นำมาใช้ในแต่ละท้องถิ่นจะใช้ที่ระดับไหน จะต่ำหรือสูงขึ้นอยู่ที่ความพอใจ
|
|
 |
|
|