Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์3 เมษายน 2549
ปฏิวัติโฉมน้ำตาลให้หลากหลายเพื่อสนองความต้องการที่แตกต่าง             
 


   
search resources

Agriculture
Consumer Products




แม้ว่าในการบริโภคน้ำตาลประจำวันของผู้คนไม่ว่าจะเป็นชาติ ภาษาและวัยใดๆ จะดูเหมือนว่าเป็นเรื่องปกติที่ไม่น่าจะมีความแปลกใหม่พิสดารให้ต้องกล่าวถึงกันในวันนี้ แต่เชื่อหรือไม่ว่า นักการตลาดในต่างประเทศกลับเชื่อว่า การปรับแต่งรูปแบบของน้ำตาลที่บริโภคเพื่อให้ความหวานให้มีความหลากหลาย ยังคงมีความสำคัญ เพราะจะทำให้น้ำตาลธรรมดาๆ สามารถตอบสนองความต้องการที่มีลักษณะแตกต่างกันของผู้บริโภคได้อย่างมากมาย

การที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะน้ำตาลเป็นสารให้ความหวานที่นำไปใช้ในการบริโภคหลากหลายของผู้บริโภคทั่วโลก ในอาหารและของขวานที่แตกต่างกันนับร้อยนับพันชนิด ดังนั้น น้ำตาลจึงต้องมีส่วนผสมและองค์ประกอบที่แตกต่างกัน เพื่อให้พอเหมาะกับระดับความหวาน และลักษณะของความหวานที่ต้องการที่ไม่เท่ากัน

น้ำตาลแทรกเข้าไปในอาหารมากมายที่บริโภคในชีวิตประจำวัน เช่น น้ำตาลที่เป็นส่วนผสมของซอสบาร์บีคิว ที่ไม่ต้องการระดับของความหวานมากจนทำให้เอียน

นักการตลาดกลุ่มหนึ่งให้ความเห็นว่า การที่แยกสายผลิตภัณฑ์ของน้ำตาลออกไปเป็นประเภทต่าง ๆ ที่แตกต่างกันนั้น จะทำให้ผู้บริโภคเกิดความสับสนแทนที่จะเป็นผลดีหรือไม่ เพราะหากเป็นเช่นนั้น ก็คงทำให้ผู้บริโภคตัดสินใจเลือกประเภทน้ำตาลที่ตนคุ้นเคย จากการที่เคยใช้เติมในกาแฟเป็นอันดับแรก เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยง

อย่างไรก็ตาม นักการตลาดที่สนับสนุนการแบ่งแยกประเภทของน้ำตาลที่ใส่ในอาหาร เชื่อว่าเรื่องความไม่รู้หรือไม่แน่ใจ ไม่ใช่เรื่องยากเพราะนักการตลาดสามารถให้การอบรม การป้อนข้อมูลข่าวสารเพื่อการเรียนรู้แก่ผู้บริโภคจนกระทั่งมีความเข้าใจได้เหมือนสินค้าอื่นที่เข้าตลาดใหม่ ๆ

น้ำตาลเป็นสารให้ความหวานจากวัสดุธรรมชาติที่เกิดจากคาร์โบไฮเดรทในผลไม้และผัก ส่วนที่มีคุณภาพดีที่สุดมาจากอ้อย หัวบีท จึงมีการแยกและผ่านกระบวนการออกไปใช้ในเชิงพาณิชย์แตกต่างกัน

การแบ่งประเภทของน้ำตาล อาจจะแยกออกไปเป็น กลุ่มแรก fine หรือ extra filne ใช้กับกาแฟ ชา กลุ่มที่สอง superfine หรือ ultrafine ใช้กับเค้กหรือขนมหวาน กลุ่มที่สาม น้ำตาลผงหรือแป้งน้ำตาล powdered sugar มีการเติมแป้งข้าวโพดเข้าไปประมาณ 3% เพื่อป้องกันการแข็งตัว ในในการทำไอซิ่ง และวิปครีม ใช้เพื่อการอุตสาหกรรม

กลุ่มที่สี่ น้ำตาลสีน้ำตาลเข้มหรือสีน้ำตาลอ่อน เช่น น้ำตาลแบบเทอร์บินาโด ใช้ได้ดีในการดื่มชา โดยระดับความเข้มของสีน้ำตาลในน้ำตาลนั้น คือ ระดับที่แตกต่างกันของกากน้ำตาลหรือโมลาสส์ ไซรัปที่มีอยู่บนก้อนน้ำตาล ที่เข้มกว่าก็จะมีกากน้ำตาลมากกว่า เช่นน้ำตาลมัสโควาโด ที่มีระดับสีเข้มมากที่สุด เกล็ดน้ำตาลจะเล็กและผอมกว่าน้ำตาลประเภทอื่น และน้ำตาลเดอเมราร่า ที่เข้มน้อยที่สุด มีเกล็ดใหญ่

กลุ่มที่ห้า น้ำตาลเหลว ที่ออกมาจำหน่ายหลายรูปแบบ โดยที่น้ำตาลวูครอสเหลว เป็นชนิดที่ใช้กันมากที่สุดในระดับครัวเรือน

นอกเหนือไปจากการใช้ในการบริโภคแล้ว ขณะนี้ตลาดต่างประเทศเช่นในอังกฤษ ได้พยายามปฏิวัติการใช้น้ำตาลจากอ้อยไปทำเป็นไบโอดีเซลหรือไบโอเอธานอล ซึ่งถือว่าเป็นทางเลือกในการใช้เป็นเชื้อเพลิงสะอาดอีกประเภทหนึ่งสำหรับรถยนต์ เพื่อลดการทำลายภาวะและชั้นบรรยากาศด้วย เพราะลดระดับของการก่อคาร์บอนไดออกไซต์ลงไปถึง 70%

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยังถือว่าแรงจูงใจที่จะทำให้ผู้บริโภคหันไปใช้เชื้อเพลิงไบโอยังไม่มากพอ แถมผู้ซื้อรถยนต์ที่ใช้พลังงานสะอาดได้ยังต้องรับภาระรายจ่ายเพิ่มจากปกติแทนที่จะมีรายจ่ายค่ารถลดลง

ประกอบกับการสร้างโรงงานสำหรับผลิตเชื้อเพลิงจากไบโอเอธานอล ก็ยังมีขนาดเล็กไม่เพียงพอกับการใช้จ่ายและน้อยมากเมื่อเทียบกับปริมาณการใช้เชื้อเพลงจากฟอสซิลที่ใช้กันอยู่ในตลาดโลกขณะนี้

แม้ว่าจะพยายามสร้างความแปลกใหม่ และหลากหลายให้กับผลิตภัณฑ์น้ำตาลสำเร็จรูปตามที่กล่าวมาแล้ว แต่สถานการณ์การสูงขึ้นของต้นทุนการผลิตน้ำตาลก็กลายมาเป็นปัญหาอย่างหนึ่งสำหรับผุ้ผลิตในแทบจะทุกประเทศ

ด้วยเหตุนี้ ผู้ประกอบการส่วนใหญ่จึงพยายามแสวงหาช่องทางที่จะสร้างมูลค่าเพิ่มและทำเงินจากกากน้ำตาล และผลผลิตที่เคยทิ้ง ๆ ขว้าง ๆ จากกระบวนการผลิตน้ำตาล โดยหวังว่าจะสามารถสร้างรายได้มาชดเชยต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้นในขณะที่ให้ผลผลิตเท่าเดิม

ด้วยเหตุนี้ นักการตลาดก็วนกลับมาที่แนวทางที่กล่าวมาแล้ว ว่าการปรับลักษณะของผลผลิตขั้นสุดท้ายให้แตกต่างกัน และระบุประเภทการใช้งานที่ต่างกัน พร้อมกับคิดราคาขายน้ำตาลที่แตกต่างกันออกไปก็คงเป็นหนทางหนึ่งที่ทำเงินรายได้รวมจากกิจการนี้มากขึ้นได้   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us