|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
"คิว-คอน" แจงสงครามราคาปี 48 ส่งผลกำไรบริษัทหดเหลือแค่ 28 ล้านบาท ปี 49 ปรับขึ้นราคาอิฐมวลเบาอยู่ที่ 130-135 บาท/ตร.ม. หวังดึงกำไรเพิ่ม ยันรักษากำไรขั้นต้นไม่ต่ำกว่า 27% พร้อมตั้งเป้าโต 30% ยอดขาย 1,200 ล้านบาท หวั่นโครงการรัฐชะลอก่อสร้างส่งผลตลาดอิฐมวลเบาชะลอตาม เตรียมเพิ่มตัวแทนจำหน่ายจาก 100 รายเป็น 300 รายในปีนี้
นายพยนต์ ศักดิ์เดชยนต์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ควอลิตี้ คอนสตรัคชั่นโปรดัคส์ จำกัด (มหาชน) หรือ Q-CON เปิดเผยถึงภาพรวมของตลาดอิฐมวลเบาในช่วงปีที่ผ่านมาว่า มีการแข่งขันสูงมากโดยเฉพาะในเรื่องราคาจากในช่วง 2-3 ปีก่อนหน้านี้ราคาขายกว่า 200 บาท/ตร.ม. มาอยู่ในระดับต่ำกว่า 130บาท/ตร.ม. รวมถึงราคาต้นทุนวัตถุดิบเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้กำไรสุทธิของบริษัทในปี 2548 มีเพียง 28 ล้านบาท ลดลง จากที่ปี 2547 ที่มีกำไรสุทธิ 312 ล้านบาท ส่วนยอดขายลดลง 48% จาก 892 ล้านบาทในปี 2547 เป็น 844 ล้านบาท ในปี 2548 ต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 986 ล้านบาท
ทั้งนี้ บริษัทเชื่อว่าในปีนี้จะมีแนวยอดขายเพิ่มมากขึ้นจากปีก่อน โดยตั้งเป้าการขายจำนวน 8ล้านตร.ม.หรือมูลค่าประมาณ 1,200 ล้านบาท โต 30% จากปีที่ผ่านมา และคาดว่าจะมีกำไรสุทธิดีขึ้น โดยจะรักษาอัตรากำไรขั้นต้นไว้ไม่ต่ำกว่า 27% นอกจากนี้บริษัทฯมีนโยบายจะขยายปริมาณการใช้มากขึ้น อีกทั้งได้มีการปรับราคาขายสินค้าเพิ่มขึ้นตามต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น ซึ่งได้ปรับราคาขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 130-135 บาท/ตร.ม.เมื่อต้นปีที่ผ่านมา
อีกทั้งในปีนี้เชื่อว่าผู้ประกอบการจะไม่หันมาแข่งขันในเรื่องของราคาเช่นปีที่ผ่านๆมา เนื่องจากไม่ก่อให้เกิดผลดีต่อบริษัท แต่ในทางกลับกันก็มีผู้บริโภคหันมาใช้อิฐมวลเบามากขึ้น เนื่องจากมีราคาใกล้เคียงกับอิฐมอญ แต่คุณภาพต่างกัน
นายกิตติ สุนทรมโนกุล ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดและขาย บริษัทควอลิตี้ คอนสตรัคชั่นโปรดัคส์ฯ กล่าวว่า ในปีนี้บริษัทมีแผนที่จะขยายตลาดไปยังต่างจักหวัดเพิ่มมากขึ้น โดยผ่านตัวแทนจำหน่ายจากเดิมเน้นเฉพาะตลาดในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล ปัจจุบันบริษัทมีตัวแทนจำหน่ายประมาณ 100 ราย โดยไม่นับรวมร้านซีเมนต์ไทยโฮมมาร์ทที่เป็นพันธมิตรเดิม ในปีนี้ตั้งเป้าเพิ่มตัวแทนจำหน่ายเป็น 300 รายทั่วประเทศ ซึ่งจะทำให้บริษัทมีช่องทางการจำหน่ายมากขึ้น
สำหรับภาพรวมของตลาดอิฐมวลเบาคาดว่าจะมีอัตราการเติบโตประมาณ 10% หรือประมาณ 20-25 ล้านตร.ม. ในขณะที่ตลาดรวมพื้นพนังทั้งหมดมีจำนวน 300 ล้านตร.ม. ซึ่งกว่า 80% เป็นอิฐมอญ และส่วนที่เหลือเป็นพนักไม่และอื่นๆ
ปัจจุบันบริษัทมีโรงงานผลิต 3 แห่ง กำลังการผลิตแห่งละ 3 ล้านตร.ม./ปี หรือ 9 ล้านตร.ม. แต่ปัจจุบันใช้กำลังการผลิตเพียง 60-70% เท่านั้น ส่วนโรงงานแห่งที่ 4 ได้สร้างเสร็จแล้ว โดยมีกำลังการผลิต 3 ล้านตร.ม./ปี เช่นเดียวกัน แต่ขณะยังไม่เดินการผลิตเนื่องจากอยู่ในช่วงทดสอบคุณภาพ อีกทั้งโรงงานดังกล่าวเครื่องจักรยังเป็นเทคโนโลยีใหม่จากประเทศเยอรมันนีจึงต้องมีการฝึกอบรมพนักงงานให้มีความเชี่ยวชาญก่อน ซึ่งเมือโรงงานแห่งที่ 4 เดินกำลังการผลิตจะทำให้บริษัทมีกำลังการผลิตเต็ม 12 ล้านตร.ม./ปี
นอกจากนี้บริษัทยังมีแผนที่จะส่งออกสินค้าอิฐมวลเบาไปขายยังต่างประเทศ โดยตั้งไว้ส่งออกไว้ที่ 7-8% ของยอดขายทั้งหมด จากที่ในปี 2548 บริษัทส่งออกเพียง 1-2% เท่านั้น ซึ่งล่าสุดได้เจรจาขายให้โครงการที่ประเทศญี่ปุ่น มัลดีฟ ออสเตรเลีย นิงซีแลนด์ สิงคโปร์ เวียดนาม กัมพูชา ลาว และพม่า
"ราคาขายที่เราส่งออกจะขึ้นอยู่กับประเทศที่จะส่งไปหากอยู่นอกเอเชียตะวันออกจะมีราคาที่สูงกว่าเนื่องจากมีต้นทุนค่าขึ้นส่งสูงกว่า นอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับกำลังซื้อของประเทศนั้นๆ อย่างมัลดีฟก็จะซื้อในราคาสูงได้ บางประเทศก็ส่งออกไปถูก เพราะเค้าทำโครงการขนาดใหญ่ก็จะมีการต่อรองราคากันได้" นายกิตติกล่าว
นายกิตติกล่าวต่อว่า ตลาดอิฐมวลเบาในอนาคตยังมีแนวโน้มเติบโตเพิ่มขึ้น โดยจะไปกินส่วนแบ่งตลาดอิฐมอญ เนื่องจากราคาไม่แตกต่างกันมากนัก แต่มีน้ำหนักเบากว่าและมีคุณสมบัติที่ดีกว่า นอกจากนี้การผลิตอิฐมอญยังมีแนวโน้มลดลง เนื่องจากไม้ที่นำมาทำเชื้อเพลิงในการเผาอิฐหายาก ส่วนเชื่อเพลิงที่นำมาทดแทนก็มีราคาที่สูง นอกจากนี้ในฤดูฝนยังไม่สามารถผลิตได้เนื่องจากปัญหาเรื่องน้ำท่วมเตาเผา ดังนั้นจึงเชื่อว่าผู้บริโภคจะหันมาใช้อิฐมวลเบามากขึ้น
อย่างไรก็ตาม ปัจจัยลบต่อตลาดอิฐมวลเบาที่น่าจับตามองคือ ความล่าช้าของโครงการภาครัฐ โดยล่าสุดโครงการศูนย์ราชการที่แม้ว่าจะมีการประมูลไปแล้ว แต่ต้องรอการอนุมัติของคณะรัฐมนตรีชุดใหม่เข้ามา ซึ่งอาจส่งผลต่อโครงการอื่นๆด้วย
|
|
|
|
|