Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤษภาคม 2539








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2539
"ตั๋วบี/อี มหาภัย ระวังโง่-งก-เงิน"             
โดย สุปราณี คงนิรันดรสุข ปิยาณี รุ่งรัตน์ธวัชชัย อนุสรา ทองอุไร
 

   
related stories

"ไพรเวท แบงกิ้ง ทำไมหละหลวมถึงขนาดนี้ ?"
"จินดา จรุงเจริญเวชช์ เมื่อนางสิงห์ต้องสะอื้น"
"หนี้ที่ต้องล้างด้วยกฎหมาย เป้าหมายคือแบงก์กรุงเทพ"

   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารกรุงเทพ

   
search resources

ธนาคารกรุงเทพ, บมจ.
ปราณบุรี พร๊อพเพอร์ตี้ส์
Banking




จากตั๋วบี/อีปลอมกระดาษแผ่นเดียวหลายกอปปี้ที่เขียนข้อความว่า "ตั๋วแลกเงิน" (BILL OF EXCHANGE) ของบริษัทปราณบุรี พร๊อพเพอร์ตี้ส์ ที่สุรพงษ์ ใจงาม กรรมการผู้จัดการ เซ็นชื่อเป็นผู้รับรองการจ่ายเงินและสั่งจ่ายแบบ WITHOUT RECOURSE ที่ไม่ต้องรับผิดชอบกรณีตั๋วเงินถูกปฏิเสธ กลายเป็นเรื่องไฟลามทุ่งที่ขยายไปถึงตลาดซื้อขายตั๋วแลกเงินที่กำลังสะพัดมูลค่าถึง 3-4 แสนล้านบาท

บางทีเศรษฐีหัวโบราณที่เคยแต่กินดอกเบี้ยเงินฝากประจำอาจจะสนใจแค่ผลตอบแทนดอกเบี้ยสูงๆ โดยไม่เข้าใจว่า "ตั๋วบี/อีมหาภัย" นี้ คืออะไรแท้จริง จึงทำให้หละหลวมในการตรวจสอบและตกเป็นเหยื่ออันโอชะให้นิตยาและพวกพ้องหลอกเงินไปหมุนจำนวนถึง 266 ล้านบาท

"ตั๋วแลกเงิน" (BILL OF EXCHANGE) หรือเรียกว่า"ตั๋วบี/อี" ทำหน้าที่คล้ายพันธบัตรตรงที่บริษัทผู้ออกตั๋วแลกเงินออกมาเพื่อระดมทุนเอาไปขยายกิจการ ส่วนผู้ซื้อตั๋วแลกเงินนี้ก็คือนักลงทุนทั้งบุคคลธรรมดาและสถาบันลงทุน โดยมีคนกลางคือแบงก์พาณิชย์ที่จับคู่ระหว่างบริษัทเจ้าของตั๋วบี/อีกับลูกค้าผู้ซื้อ

ในขณะนี้ตลาดซื้อขายตั๋วบี/อีเป็นไปอย่างซื้อง่ายขายคล่อง เพราะบริษัทที่ต้องการใช้เงินทุนระยะสั้น 3-6 เดือนต่างนิยมช่องทางตั๋วบี/อีนี้ระดมทุนด้วย "สะดวกและต้นทุนต่ำ" กว่าเสียดอกเบี้ยอัตราไพรม์เรทลูกค้าชั้นดีที่กู้จากแบงก์พาณิชย์ ขณะที่ลูกค้าผู้ซื้อตั๋วบี/อี ก็พอใจกับผลตอบแทนที่ให้อัตราสูงกว่าฝากประจำแบงก์เล็กน้อย

แต่ใช่ว่าใครๆ จะออกตั๋วบี/อีได้ง่ายๆ เพราะความน่าเชื่อถือของกระดาษแผ่นเดียวนี้ขึ้นอยู่กับใครเป็นคนค้ำประกันหรือรับผิดชอบ ถ้าหากเป็นแบงก์พาณิชย์อาวัล ตั๋วบี/อี ประเภทนี้คนซื้อก็อุ่นใจเพราะแบงก์ต้องตรวจสอบฐานะกิจการและให้บริษัทเอาหลักทรัพย์ค้ำประกัน ซึ่งแบงก์ชาติถือว่าเป็นการปล่อยสินเชื่อรูปแบบหนึ่ง โดยผู้ออกตั๋วบี/อีเอาหลักทรัพย์มาค้ำประกันกับแบงก์ แบงก์จึงจะปล่อยเงินกู้ออกไป

หากเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่มีชื่อเสียงดีมากต้องการออกตั๋วบี/อีเพื่อระดมทุนเหมือนสิบปีที่แล้วที่บริษัทไทยออยล์ทำ บางทีสถาบันการเงินก็ไม่จำเป็นต้องอาวัล เพราะนักลงทุนก็จ้องจะซื้อเก็บไว้เป็นสินทรัพย์อยู่แล้ว ตั๋วประเภทนี้แบงก์ชาติเสนอว่าอาจจะมีการจัดเครดิตเรตติ้งกำกับ

แต่ตั๋วบี/อีที่เสี่ยงที่สุดน่าจะเป็นตั๋วบี/อีประเภท "BACK TO BACK" คือผู้ออกตั๋วและผู้ซื้อตั๋วเป็นทั้ง "เจ้าหนี้และลูกหนี้" เสร็จสรรพในคน ๆ เดียว โดยทางเจ้าของบริษัทจะออกตั๋วบี/อี และผู้ที่จะเข้ามาซื้อตั๋วบี/อี

ก็คือผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัท เจ้าของตั๋วนั่นเองเหมือนกรณีตั๋วบี/อี ของบริษัทปราณบุรี พร๊อพเพอร์ตี้ส์ที่ขายดีเป็นเทน้ำเทท่า เพราะดอกเบี้ยงามเป็นพิเศษ

ตั๋วบี/อี สามารถซื้อขาย "เปลี่ยนมือ" ได้เหมือนใบหุ้นเพียงแต่สลักหลังตั๋ว ซึ่งจะมีเงื่อนไขรับผิดชอบไว้ 2 กรณี คือ กรณีแรกมีคำว่า "RECOURSE" แสดงว่าผู้ถือตั๋วคนสุดท้ายสามารถไล่เบี้ยทวงสิทธิ์เมื่อตั๋วถูกปฏิเสธการจ่าย กรณีที่สอง "WITHOUT RECOURE" คือ ผู้ซื้อคนสุดท้ายต้องรับความเสี่ยงเองเพราะไล่เบี้ยกับใครไม่ได้เลย ซึ่งปรากฏในตั๋วของปราณบุรีพร๊อพเพอร์ตี้ส์

ผลตอบแทนที่ทุกฝ่ายแฮปปี้ก็คือ "ดอกเบี้ย" ฝ่ายเจ้าของตั๋วก็ได้ต้นทุนดอกเบี้ยต่ำแทนที่จะกู้แพงจากแบงก์หรือเพิ่มทุนก็ช้า ส่วนฝ่ายผู้ซื้อตั๋วก็ชอบเพราะได้ดอกเบี้ยสูงกว่าฝากประจำ ขณะที่แบงก์พาณิชย์ที่อาวัลตั๋วในฐานะเจ้าหนี้จะได้ดอกเบี้ยจากการปล่อยกู้แก่เจ้าของตั๋ว หรือแบงก์ได้ส่วนลดที่หักค่าบริการ 1% จากยอดหน้าตั๋วกำหนดไว้ นอกจากแบงก์อาจกินหลายต่อ ถ้าหากตั๋วบี/อีน่าเชื่อถือและให้ผลตอบแทนด้านดอกเบี้ยสูงน่าพอใจ แบงก์ก็อาจจะซื้อเก็บไว้เก็งกำไรเอง แล้วถ้าขายต่อให้ลูกค้า แบงก์ก็จะได้ส่วนลดอีกด้วย

จึงไม่ต้องสงสัยว่า ในโลกการเงิน อิทธิพลของกระดาษแผ่นเดียวที่เขียนว่า "ตั๋วบี/อี" จึงมีมากพอที่จะทำให้เศรษฐีผู้หลงคารมไพรเวทแบงเกอร์ผู้ชำนาญการอย่างนิตยา วิรัชพันธุ์ ยิ่งกว่าญาติมิตรตนเอง ยอมเซ็นเช็คเป็นสิบ ๆ ล้านจ่ายซื้อตั๋วบี/อีปลอม เพียงเพราะต้องมนต์ดอกเบี้ยงาม ๆ เท่านั้นเอง

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us