Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤษภาคม 2539








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2539
"ศิริรัตน์ โชติเวชการ นักบัญชีก็ต้องมีแฟรนไชส์"             
 


   
search resources

จีบีเอส
ศิริรัตน์ โชติเวชการ




ศิริรัตน์ โชติเวชการ จบมัธยมศึกษาจากโรงเรียนสตรีวิทยา สอบเข้า และจบเป็นบัญชีบัณฑิตจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ MBA Executive รุ่นที่ 5 จากที่เดียวกัน

เริ่มงานครั้งแรกเมื่อปี 2523 เป็นพนักงานบัญชีที่ บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารเซ็นทรัล อยู่ 2 ปี ก่อนจะมาเป็นสมุห์บัญชีที่บริษัทไทยอัน จำกัดอีก 3 ปี แล้วจึงมารับตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายบัญชีของกลุ่มบริษัท มินีแบ จนถึงปี 2538 ศิริรัตน์เริ่มมองหาและเห็นช่องทางทำธุรกิจของตัวเองจากประสบการณ์งานบัญชีที่ตนถนัด

"เริ่มต้นจากที่เรามักจะถูกเรียกไปช่วยเรื่องการจัดการบัญชีอยู่บ่อย ๆ ก็เลยคิดว่าน่าจะมีอะไรที่ทำเป็นของตัวเองได้ พอดีสนใจระบบแฟรนไชส์ก็ไปหาหนังสือแฟรนไชส์มาเพื่อดูแฟรนไชส์พวกบิสซิเนสแปลนที่เราสามารถใช้ความรู้ด้านบัญชีได้ มาเจอบริษัทจีบีเอสก็เลยเสนอตัวด้วยการเขียนจดหมายไปแจ้งจุดประสงค์และแนะนำตัว ทางจีบีเอสก็ตอบกลับมา พร้อมกับให้ทำแบบสอบถาม เพื่อวิเคราะห์ตัวเรา ใช้เวลาเกือบปีกว่าจะอนุมัติ ส่วนที่ตัดสินใจเลือกจีบีเอสเพราะเป็นระบบที่ครบวงจรในด้านการจัดการแฟรนไชส์อื่นที่มีอีกประมาณ 3-4 แห่งเป็นด้านบัญชีอย่างเดียว" ศิริรัตน์ กล่าว พร้อมกับเล่าประวัติจีบีเอสว่า

GBS (General Business System) เป็นธุรกิจด้านการเงิน การจัดการ ที่เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกาเมื่อ พ.ศ. 2505 พัฒนาขยายเป็นธุรกิจที่ใช้ระบบแฟรนไชส์ให้บริการทางด้านที่ปรึกษาทางการจัดการการเงิน บัญชี และภาษีอากร ที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา และเป็นธุรกิจแฟรนไชส์ที่ดีติดอันดับที่ 50 ของ พ.ศ. 2538 ที่จัดขึ้นโดยนิตยสารแฟรนไชส์บายเออร์ ของสหรัฐอเมริกาและเป็น 1 ใน 10 กิจการของบริษัทในเครือเดอะบายเออร์ กรุ๊ป ที่ยังมีธุรกิจอื่น ๆ ที่ค่อนข้างหลากหลาย

ศิริรัตน์ กลายเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทเน็ตเวอร์ก แอดไวซอรี่ ทีมจำกัดหรือเอ็นเอที ในปี 2539 นี้ ด้วยการเป็นผู้ถือลิขสิทธิ์ระบบบัญชีจากจีบีเอสของอเมริกาเข้ามาดำเนินงานในฐานะมาสเตอร์แฟรนไชส์ และสามารถเริ่มต้นได้ดีจากสายสัมพันธ์เดิม ๆ ของการเป็นนักบัญชีที่มีอยู่

"ตอนนี้เรามีลูกค้าที่เอ็นเอทีเข้าไปบริการให้ประมาณ 10 ราย สองรายแรกก็คือ บริษัทมินีแบ ซึ่งเคยทำงานอยู่ให้ไปช่วยจัดการเกี่ยวกับเรื่องภาษี เพราะทางญี่ปุ่นไม่ค่อยเข้าใจเกี่ยวกับระบบภาษีของเมืองไทย และกลุ่มสินธานี ซึ่งรู้จักกับคุณพนิดาภรรยาคุณสิทธิ ภาณุพัฒนพงษ์ ดูแลบัญชีให้สินธานี ก็เลยได้กลุ่มนี้มาเป็นพันธมิตรกันในการจัดตั้งเอ็นเอที โดยกลุ่มสินธานีถือหุ้นอยู่ 30% จากทุนจดทะเบียน 2 ล้านบาท"

การทำงานของเอ็นเอทีในปีแรก เป็นในรูปของการจำลองสาขาแฟรนไชส ์ที่ให้บริการลูกค้าเองแต่เพียงผู้เดียว ยังไม่เริ่มหาแฟรนไชส์ซีตามที่ได้สิทธิ์ เพราะแม้ว่าธุรกิจแฟรนไชส์จะเป็นที่นิยมในเมืองไทย แต่สำหรับแฟรนไชส์ระบบบัญชียังถือว่าเป็นขั้นเริ่มต้นสำหรับเมืองไทย ซึ่งตัวศิริรัตน์เอง แม้จะมีความเชี่ยวชาญด้านบัญชีอยู่แล้วแต่ด้านการจัดการต่าง ๆ ก็ยังต้องมีการเดินทางไปประชุมเพื่อศึกษางานกับ GBS ที่อเมริกาปีละครั้งด้วย

สำหรับทางจีบีเอสประธานบริษัท นายโรเบิร์ต อี. เทินไมรอ์ กล่าวถึงการที่จีบีเอส เลือกขยายสาขามาสู่ประเทศไทย เพราะเล็งเห็นว่าประเทศไทยมีขนาดไม่เล็กไม่ใหญ่เหมาะกับการดูแลได้ทั่วถึงสำหรับการเริ่มต้นขยายแฟรนไชส์ของจีบีเอสในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เพราะอัตราการเติบโตของแฟรนไชส์ในไทยสูงมาก ดูตัวอย่างจากแฟรนไชส์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นแมคโดนัลด์, บาสกิ้นรอบบิ้น, เชลล์ ซึ่งก็เป็นลูกค้าของจีบีเอสในอเมริกาอยู่เช่นกัน

"สถิติยอดขายแฟรนไชส์ในอเมริกาใน พ.ศ. 2537 มีอัตราเพิ่มขึ้น 40% ทั้งนี้เพราะทุกคนต้องการทำงานกับบริษัทที่มั่นคงและเชื่อถือได้ ซึ่งคงไม่ต่างกับเจ้าของธุรกิจในประเทศไทยในการเลือกทำงานกับระบบแฟรนไชส์ และสำหรับความน่าเชื่อถือจีบีเอสก็มีเครื่องยืนยันได้จากการมีสาขาอยู่ใน 30 ประเทศทั่วโลก และอีกจำนวน 400 แห่งในอเมริกาและแคนาดา" นายโรเบิร์ต กล่าว

ทั้งนี้นายโรเบิร์ตยังให้เหตุผลว่า การที่ประเทศไทยยังคงมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจมากกว่า 8.5% ต่อปี จะยังผลให้ธุรกิจขนาดกลางลงมาของประเทศไทย จำเป็นที่จะต้องมีการบริการที่ปรึกษาทางด้านการจัดการการเงินบัญชีและภาษีฯ ในรูปแบบที่เป็นระบบมากขึ้น

จีบีเอสจึงถือเป็นแฟรนไชส์ด้านการจัดการและระบบบัญชีรายแรกที่เข้ามาในประเทศไทย ที่หวังจะให้บริการได้อย่างเป็นระบบและมีคุณภาพเป็นที่เชื่อถือได้ รวมถึงรองรับปัญหาต่าง ๆ ที่มีอยู่ของกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและย่อม ซึ่งเป็นกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของเอ็นเอที ได้ ก็คือ

หนึ่ง-เรื่องของการแข่งขันอย่างรุนแรงทางธุรกิจ ที่ทำให้ธุรกิจต่าง ๆ ต้องทราบสถานะที่แท้จริงของตนเอง และยอมรับว่าการวางระบบบัญชีที่ดีจะทำให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องมีงบการเงินที่แสดงถึงผลประกอบการที่แท้จริง เพื่อให้สามารถดำเนินกลยุทธ์ต่าง ๆ เพื่อพัฒนาผลประกอบการให้ดีขั้นอย่างทันท่วงที

สอง-กรมสรรพากรมีการพัฒนาประสิทธิภาพในการจัดเก็บภาษี และมีมาตรการตรวจสอบที่เข้มงวดยิ่งขึ้น ในขณะที่ธุรกิจขนาดย่อมซึ่งขาดบุคลากรที่มีความรู้ทางบัญชีและภาษีอากร เมื่อถูกตรวจสอบจึงมีความเสี่ยงกับการถูกเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง พร้อมเงินเพิ่มและเบี้ยปรับอันจะเป็นผลเสียหายให้กับธุรกิจ

"โครงสร้างภาษีของไทยใน 5 ปี จะเน้นการจัดเก็บในอัตราที่ต่ำลง แต่ถูกต้องและครบถ้วนมากขึ้น เรียกว่ากรมสรรพากรจะเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษี และเพื่อขจัดปัญหาตัวนี้ ธุรกิจขนาดกลางและเล็กที่ขาดความชำนาญก็จะสามารถมีระบบการจัดการที่ดีได้ และที่สำคัญการจัดระบบบัญชียังจะเป็นการเริ่มต้นของฐานข้อมูลที่ดีสำหรับกิจการทุกขนาด อย่างประเทศญี่ปุ่นหากจะร่วมทุนกับใคร ก็จะให้ความสำคัญกับระบบบัญชีก่อน ถ้าไม่ดีก็จะไม่สนใจร่วมทุนด้วย" สิทธิ ภาณุพัฒนพงษ์ กรรมการผู้จัดการบริษัท สินธานี กรุ๊ป หุ้นส่วนของเอ็นเอทีกล่าว

สาม-เศรษฐกิจขยายตัวเร็วทำให้มีบริษัทใหม่ ๆ เกิดขึ้นมากมายส่งผลให้เกิดภาวะนักบัญชีขาดแคลน เพราะสามารถเลือกงานได้มากขึ้น มีอัตราการเปลี่ยนงานสูง ผลกระทบคือ ธุรกิจขนาดย่อมไม่สามารถจูงใจให้นักบัญชีทำงานอยู่ด้วยนาน ๆ การที่นักบัญชี เข้า-ออก บ่อยทำให้เกิดความไม่ต่อเนื่องในงานบัญชี ซึ่งมีผลเสียหายต่อธุรกิจ

เพื่อแก้ปัญหาทั้ง 3 ข้อหลัก เอ็นเอทีจึงดำเนินการภายใต้ระบบของจีบีเอสด้วยการให้บริการตั้งแต่ด้านระบบบัญชี เช่น รับวางระบบบัญชีโดยให้สอดคล้องกับแต่ละธุรกิจ รับปรึกษาการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในงานบัญชี รับจัดทำบัญชีและรายงานงบดุลและงบกำไรขาดทุน บัญชีเงินเดือนและค่าแรง

การบริการด้านภาษีอากร ซึ่งนายโรเบิร์ต อี. เทินไมรอ์ ประธานจีบีเอสยืนยันว่า ระบบด้านภาษีของจีบีเอสที่มีอยู่สามารถนำมาปรับใช้กับระบบภาษีของเมืองไทยได้อย่างไม่มีปัญหา เพราะโครงสร้างภาษีของแต่ละประเทศไม่ได้แตกต่างกัน สิ่งที่แตกต่างคือส่วนของรายละเอียดที่ปรับปรุงได้ไม่ยาก

"เราเชื่อว่านักบัญชีจะต้องดีใจเมื่อมีการนำระบบของจีบีเอสเข้ามาใช้ เพราะนักบัญชีจะไม่ต้องปวดหัวกับระบบบัญชีที่ยุ่งยาก เมื่อมีระบบที่ชัดเจน นอกเหนือจากการแก้ปัญหาเรื่องนำบัญชีขาดแคลนให้กับเจ้าของกิจการขนาดเล็กแล้ว ยังสามารถทำให้นักบัญชีที่แต่ละบริษัทรับเข้ามาทำงานสามารถสานต่องานได้ทันที เพราะระบบบัญชีไม่เปลี่ยนไปเป็นตามสไตล์ของนักบัญชีแต่ละคน ทุกคนทำตามระบบได้เลย" ศิริรัตน์ กล่าว

เอ็นเอทีได้ตั้งเป้าหมายสำหรับการเข้าไปบริการระบบเหล่านี้ว่า จะไม่เข้าไปด้วยกลยุทธ์การตัดราคากับสำนักงานตรวจสอบบัญชีที่มีลักษณะงานใกล้เคียงกันอยู่ เพราะถือว่าระบบที่นำมาจะแตกต่างจากการตรวจสอบระบบบัญชีเดิม โดยเอ็นเอที จะเน้นการวิเคราะห์ปัญหาให้เจ้าของกิจการได้แก้ไขและปรับปรุงในจุดที่บกพร่องด้วยนอกเหนือจากการจัดทำระบบต่าง ๆ ทั้งนี้การคิดค่าบริการสูงหรือต่ำจะขึ้นอยู่กับว่าให้บริการในลักษณะใดบ้าง อาทิ ให้วิเคราะห์ปัญหาเป็นกรณี ๆ หรือรับทำระบบบัญชีเป็นรายเดือน เป็นต้น

หลังปี 2539 เอ็นเอทีตั้งเป้าไว้ว่าจะมีลูกค้าที่ใช้บริการของบริษัทไม่น้อยกว่า 100 ราย แล้วจากนั้นจึงจะเริ่มขายแฟรนไชส์ให้ผู้สนใจในปี 2540 และเมื่อถึงปี 2545 เอ็นเอทีตั้งเป้าว่าทุกจังหวัดในประเทศไทยจะต้องมีสำนักงานแฟรนไชส์ของระบบจีบีเอสตั้งอยู่อย่างน้อยจังหวัดละ 1 แห่ง

"ค่าแฟรนไชส์ที่เราตั้งไว้ประมาณ 5 แสนกว่า รวมแล้วจะต้องใช้เงินในการเริ่มต้นสำหรับผู้ซื้อแฟรนไชส์ประมาณ 750,000 ขึ้นไป รวมค่าเช่าสำนักงานและอุปกรณ์ต่าง ๆ โดยเราจะให้ระบบสำหรับการเป็นบริษัทที่ปรึกษา อาทิ ซอฟท์แวร์ต่าง ๆ การอบรมเพื่อปฏิบัติงาน แต่ทั้งนี้ผู้จะซื้อแฟรนไชส์เองก็ควรมีพื้นฐานด้านบัญชี ถ้าไม่มีเลยก็คงจะทำไม่ได้ สัญญาค่าแฟรนไชส์จะกินระยะเวลา 5 ปี ส่วนเอ็นเอทีก็จะมีรายได้จากค่ารอยัลตี้จากยอดขายของแฟรนไชส์ซีอีกเดือนละ 9% และต้องใช้เวลาประมาณ 2 ปี จึงจะถึงจุดคุ้มทุนเช่นเดียวกับบริษัท" ศิริรัตน์กล่าว

อย่างไรก็ตาม เป้าหมายของเอ็นเอทีไม่ได้หยุดที่การขายแฟรนไชส์จีบีเอสให้ได้ทั่วไทย เพื่อหวังจะช่วยพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศในการเปิดโอกาสให้ผู้บริการระดับกลางสามารถมีธุรกิจเป็นของตนเองได้เท่านั้น แต่เอ็นเอทียังมีโครงการที่จะขยายแฟรนไชส์ไปยังประเทศใกล้เคียง อย่างเช่น สิงคโปร์ และมาเลเซีย ต่อไปในอนาคต ตามแผนที่บริษัทแม่ในอเมริการ่วมวางไว้ด้วย

แต่สิ่งที่ต้องคอยดูกันก่อนสำหรับเอ็นเอทีก็คือ อีก 2 ปีต่อจากนี้ การดำเนินงานของเอ็นเอทีจะถึงจุดคุ้มทุนตามระยะเวลาที่กำหนดไว้หรือไม่ เพราะแม้แต่จีบีเอสบริษัทแม่ของเอ็นเอทีเองก็บอกไว้ในงานเปิดตัวของเอ็นเอทีเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2539 ที่ผ่านมาว่า

"95% ของกิจการเปิดใหม่มักจะล้มเหลวในปีแรก"

ศิริรัตน์เองก็คงต้องใช้คำพูดประโยคนี้เป็นคติเตือนใจเหมือนกับที่เอ็นเอทีจะนำไปใช้แนะนำกับลูกค้าเช่นกัน

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us