Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน28 มีนาคม 2549
ตีกันคลังออกตั๋วแก้ถังแตก             
 


   
www resources

โฮมเพจ กระทรวงการคลัง

   
search resources

กระทรวงการคลัง
Economics
พิเชษฐ พันธ์วิชาติกุล




"พิเชษฐ" ชำแหละคลังถังแตกรอบใหม่ เกิดจากรัฐบาลทักษิณขาดวินัย ใช้เงินล่วงหน้าทำประชานิยม ล้วงงบแปรรูปรสก. จับตากรณี กฟผ. รัฐอาจถ่วงเวลาคืนเงินค่าหุ้นพนักงาน ขณะที่เลือกตั้งต้องใช้งบ 2-3 พันล้านยังลูกผีลูกคน ตีกันรัฐบาลไม่ควรออกตั๋วเงินคงคลังเพิ่มเพราะเป็นรัฐบาลรักษาการ นักวิชาการแนะต้องเหลือเงินคงคลังเพื่อใช้ 3 เดือน ไม่ใช่ 14 วัน

จากกรณีกระทรวงการคลังกำลังประสบปัญหาเงินคงคลังอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมา จนล่าสุดเหลือเงินคงคลังใช้อีกแค่ 14 วันอีกครั้งนั้น วานนี้ (27 มี.ค.) ที่พรรคประชาธิปัตย์ นายพิเชษฐ พันธุ์วิชาติกุล กรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ อดีต รมช.คลัง เปิดแถลงว่า สาเหตุของวิกฤตเงินคงคลังที่รัฐบาลกำลังเผชิญอีกครั้ง เกิดจากนโยบายของรัฐบาลที่มีการคงเงินคงคลังไว้ในอัตราต่ำมาก นโยบายการใช้เงินคงคลังล่วงหน้าในนโยบายประชานิยม นอกจากนี้มีปัญหาเฉพาะหน้าที่รัฐบาลต้องเผชิญอีกคือการจัดการเลือกตั้งที่ต้องใช้งบประมาณมากกว่า 2,000 ล้านบาทและหากการเลือกตั้งต้องยืดเยื้องบฯที่ใช้อาจมากกว่า 3,000 ล้านบาท

นายพิเชษฐกล่าวว่า ช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมามีการนำงบฯจากการขายรัฐวิสาหกิจมาใช้ล่วงหน้าไปหมดแล้ว รวมทั้งกรณีการแปรรูป กฝผ.ที่รัฐบาลต้องนำเงินมาคืนค่าหุ้นให้พนักงานนั้น น่าเป็นห่วงว่าจะมีการถ่วงเวลาคืนค่าหุ้นให้กับพนักงานกฝผ.ออกไปอีก ซึ่งเรื่องเหล่านี้เกิดขึ้นก่อนเดือนธันวาคมไม่ได้เกิดเพราะม็อบพันธมิตร เพราะรัฐบาลสร้างวิกฤติแก่ตัวเอง โดยไม่คำนึงถึงปัญหางบประจำที่กำลังวิกฤติ แต่กลับไปขึ้นเงินเดือนครู ขึ้นค่าตอบแทนกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แล้วไม่รู้ว่าจะเอาที่ไหนไปจ่าย รัฐบาลได้เตรียมหลายโครงการเพราะคิดว่าจะได้เงินจากการแปรรูป กฝผ. ถึง 60,000 ล้านบาท แล้ววันนี้จะแก้ไขปัญหาอย่างไรจากเงินดังกล่าวที่หายไป รัฐบาลต้องแถลงให้ประชาชนทราบปัญหาวิกฤตินี้อย่างโปร่งใส ซึ่งจะส่งผลต่อต่างประเทศที่มองว่าประเทศไทยไม่รักษาวินัยการคลังและงบประมาณ ซึ่งความมั่นใจของต่างชาติต่อประเทศไทยจะหายไปหากเขารู้ความจริง

"ผลกระทบที่จะตามมา จะมีวิกฤติหลายเรื่อง เช่น งบประมาณก่อสร้างที่ค้างจ่ายทั่วประเทศ โดยขณะนี้ในส่วนของการก่อสร้างสนามบินสุวรรณภูมิหรือหนองงูเห่ามีการค้างจ่ายเงินให้ผู้รับเหมาทั้งที่ถึงกำหนดจ่ายเงินแล้วหลายหมื่นล้านบาท รวมทั้งงบก่อสร้างที่เป็นงบลงทุนรายเล็กทั่วประเทศ ทั้งกรมทางหลวง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้รับเหมาส่งงานไป 6 เดือนแต่ยังไม่ได้รับเงิน ยังมีปัญหาในวงการราชการ โดยข้าราชการที่ขอเออลี่รีไทร์ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2548 ขณะนี้ยังไม่ได้รับเงินจำนวนมาก และยังมีกลุ่มข้าราชการบำนาญในบางหน่วยงานที่ร้องทุกข์ว่ามีข้อขัดข้องในการรับเงิน ดังนั้นจำนวนเงินคงคลังที่เหลือน้อยจะสร้างผลกระทบต่อทุกวงการจะนำมาสู่วิกฤติเศรษฐกิจอีกครั้ง และยากต่อการแก้ไข ซึ่งเกิดจากการขาดวินัยการเงินการคลังของรัฐบาล"

***ตีกันรบ.รักษาการออกตั๋วคงคลัง

นายพิเชษฐกล่าวว่า แม้รัฐบาลจะแก้ไขด้วยการขยายเงินตั๋วคงคลังจาก 80,000 ล้านบาทเป็น 160,000 ล้านบาทเพื่อให้เพียงพอนั้นก็จะเกิดปัญหาคือ 1.การเป็นครม.รักษาการจะสามารถอนุมัติเงินกู้ก้อนนี้ได้หรือไม่ 2.แม้รัฐบาลจะหาทางอนุมัติได้ แต่ในขณะนี้อยู่ในช่วงอัตราดอกเบี้ยสูง ภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้จะเอาตั๋วเงินคงคลังที่ออกมาขายให้กับใคร ทางออกหนึ่งคือ รัฐบาลน่าจะชะลอเงินที่จะส่งให้กับกองทุนประกันสังคมไว้ได้ เพราะกองทุนประกันสังคมมีเงิน 300,000 กว่าล้านบาท แต่นำเงินไปเล่นหุ้น ซื้อหุ้นชินคอร์ปฯ และยังไปซื้อหุ้นเพื่อไปพยุงหุ้นในแต่ละตัวตามคำสั่งของผู้มีอำนาจในรัฐบาล รวมทั้งรัฐบาลต้องเลิกนโยบายประชานิยมทั้งหมดไม่เช่นนั้นจะเกิดปัญหาวิกฤติในการจัดทำงบประมาณในปี 2550 เพราะจะยิ่งเป็นการสร้างตัวเลขหลอกประชาชน

**ชี้ต้องสำรองอย่างน้อย3เดือน

เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร รักษาการนายกรัฐมนตรี ไม่แสดงความกังวลภาวะคงเงินคงคลังของประเทศไทยที่มีข่าวว่า เหลือเพียง 40,000 ล้านบาท หรือ ดำเนินการได้อีก 14 วัน โดยเห็นว่า เรื่องนี้ไม่น่ามีปัญหาน่าเป็นห่วง เพราะรัฐบาลได้ใช้ตั๋วเงินคงคลัง ซึ่งไม่กระทบกับการเบิกจ่ายของส่วนราชการแน่นอน ปรากฏว่านายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า เป็นห่วงเงินคงคลังของประเทศไทยที่มีเพียง 40,000 ล้านบาท หรือ ดำเนินการได้อีก 14 วัน อย่างมาก โดยส่วนหนึ่งคงมาจากนโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล รัฐวิสาหกิจส่งเงินช้า หน่วยงานภาครัฐ และรัฐวิสาหกิจจ่ายเงินเกินความจำเป็น ดังนั้นอยากให้ภาครัฐชะลอการเบิกจ่ายงบประมาณแก่โครงการที่ไม่เร่งด่วนก่อน รวมถึงกระทรวงการคลังต้องเตรียมแผนรองรับกับปัญหาต่างๆที่อาจเกิดขึ้นอย่างฉุกเฉินล่วงหน้าด้วย เช่น เลือกตั้งใหม่ หรือ เหตุการณ์ที่คล้ายคลึงกับ กฟผ. เป็นต้น

นอกจากนี้กระทรวงการคลังควรบริหารเงินคงคลังให้มีเพียงพอดำเนินการอย่างน้อย 3 เดือน เพื่อสร้างความมั่นใจแก่คนในประเทศ รวมถึงรักษามาตรฐานการเก็บภาษีให้มีประสิทธิภาพด้วย เช่น ให้ครอบคลุมทุกกลุ่มอาชีพอย่างเป็นธรรม เพื่อให้มีรายได้เป็นไปตามเป้าที่วางไว้

“เป็นห่วงเรื่องนี้อย่างมากจึงอยากให้รัฐบาลชะลอการเบิกจ่ายแก่โครงการที่ไม่จำเป็นก่อน ส่วนที่จำเป็นก็ต้องให้เป็นตามปกติเพื่อให้เศรษฐกิจไทยเดินหน้าได้ต่อเนื่อง ขณะที่ในปี 49 นโยบายการเร่งรัดเบิกจ่ายให้เร็วขึ้นก็มีส่วนทำให้เงินคงคลังลดลงเร็ว เพราะบางส่วนมีการเบิกจ่ายที่ผิดจังหวะ หรือมาเน้นช่วงใดช่วงหนึ่งเป็นพิเศษ อย่างไรก็ตามปัญหาดังกล่าวอาจเกิดขึ้นได้อีกในอนาคต ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็ต้องมีแผนไว้รองรับกับเหตุการณ์ที่คาดไม่ถึงด้วย”

อย่างไรก็ตาม ปัญหาเงินคงคลังที่มีน้อยคงไม่กระทบต่ออัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจนัก เพราะเชื่อว่าสิ้นเดือน มี.ค. นี้รัฐบาลจะมีรายได้เพิ่มอีกมากจากภาษีนิติบุคคล ขณะที่เดือน เม.ย. และ พ.ค. ก็จะมีรายได้ทางท่องเที่ยวด้วย

ส่วนนายสมชัย จิตสุชน ผู้อำนวยการวิจัยสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวว่า จะกังวลหรือไม่นั้นต้องดูในส่วนของ กฟผ.ว่ามีการขอยืมเงินรัฐบาล เป็นการชั่วคราวแล้วใช้คืนเมื่อมีเงินเพียงพอหรือว่ารัฐบาลจะต้องดำเนินการจ่ายให้ทั้งหมด ซึ่งในความเป็นจริงแล้วทาง กฟผ.ควรจะต้องออกเอง อย่างไรก็ตามต้องติดตามรายละเอียดอีกครั้ง   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us