เจเนอเรชั่นเอ็กซ์บ้านเรานี่ต้องยกนิ้วให้ว่าเทรนดี้จริงๆ ไม่เพียงแต่การแต่ง
กาย และสไตล์การใช้ชีวิตเท่านั้น ที่เข้าลู่วิ่งร่องเดียวกันกับเจเนอเรชั่นเอ็กซ์ตา
น้ำข้าว แม้กระทั่งลักษณะของงาน ที่กำลังม าแรง และเป็นที่หมายปองของ เอ็มบีเอสดๆ
ซิงๆ ที่อเมริกาก็กำลังได้รับความนิยมมากขึ้นๆ จนเรียกได้ว่า นี่เป็นงานของคนรุ่นใหม่ไปเสียแล้ว
งาน ที่ว่านี่คือ อะไรหรือ?
ขอย้อนกลับไปเล่าว่า เมื่อเดือน ก่ อน ชาวเจเนอเรชั่นเอ็กซ์ในซอยเดียวกันเล่าให้ฟังว่า
เพื่อนรุ่นราวคราวเดียว กันเพิ่งลาออกจากงานในบริษัทข้าม ชาติระดับทอปไฟว์ในวงการนั้น
เพื่อไปจัดตั้งบริษัทธุรกิจอินเตอร์เน็ตให้ เพื่อนหนุ่มผู้กล้าหาญร ายนี้ได้ทิ้งเงินเดือนหกหลัก
เพื่อริเริ่มธุรกิจ ที่มีอายุเพียง 5 ขวบปีเอง
ปัจจุบันนักศึกษาเอ็มบีเอ เช่น ที่ Harvard Business School ให้ชื่อ เล่นอินเตอร์เน็ตว่า
"เดอะสเปซ" (The Space)
ถามว่าเทรนด์นี้เป็นไงมาไงก่อนจะแจงว่าทำไม น่าจะเรียกน้ำย่อยได้ดีกว่า
สถิติบอกว่าเมื่อ 4 ปีที่แล้ว 65% ของมนุษย์ทองคำ ที่เพิ่งจบเอ็มบีเอ จาก
Harvard จะหางานทำกับอินเวสต์เม้นท์ แบงก์ และบริษัทที่ปรึกษา ท างการบริหาร
แต่เมื่อ 3 ปีที่แล้วมีหญิงคนหนึ่ง ที่ตัด สินใจไม่เหมือน มนุษย์ทองคำรุ่นเดียวกับเธอ
เธอปฏิเสธงานจากแบงก์ชั้นนำ และตัดสินใจไป ทำงานให้กับบริษัท ที่ เพื่อนร่วมรุ่นประณามว่า
"..ทั่มีชื่องี่เง่า" ในซานฟราน ซิสโก โดยจะได้เงินเดือนเพียงหนึ่งในสามของแบงก์นั้น
เสนอให้เท่านั้น
สามปีให้หลัง หญิงคนนี้ เอลิซาเบธ โคลเล็ต ได้กลายเป็นตำนานไปแล้ว บริษัท
ที่มีชื่องี่เง่านั้น คือ Yahoo! ปัจจุบันสต็อกออปชั่นของเธอตีราคา ค่างวดได้เกินกว่าหกสิบล้านดอลลาร์สหรัฐ
เอลิซาเบธ โคลเล็ต เป็นคนแรกแต่ไม่ใช่คนเดียว ที่เห็นโอกาสในเดอะ สเปซ นับแต่ปี
ค.ศ.1996 เป็นต้นมามีมนุษย์ทองคำ ที่จบเอ็มบีเอในแต่ละ รุ่นท ี่ทยอยอ้าแขนรับการผจญภัยในวงการที่เพิ่งจะก่อตัวเกิดขึ้น
ในจำนวนนี้ มีเจสัน คิล่าร์ ที่ตัดสินใจทำงานให้กับ Amazon.com และเดวิด
แพร์รี่ กับ Chemdex ที่เข้าตลาดหลักทรัพย์ไปเมื่อต้นเดือนกันยายน
มนุษย์ทองคำเหล่านี้ได้กลายเป็นเพชรเจียระไนไปแล้วในสายตาของ เอ็มบีเอรุ่นต่อๆ
ไป และเป็นสาเหตุหลัก ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้ง สำคัญต่อการวางแผนการหางาน
นักวิเคราะห์บางคนเชื่อว่าหนึ่งในสามของ เอ็มบีเอจาก Harvard จะก้าว เข้าไปทำงานในเดอะสเปซในปี
2000 บ้างก็จะประสบความสำเร็จดัง ตัวอย่างที่กล่าวถึง แต่ในเมื่อธุรกิจนี้จะเริ่มอยู่ตัวโดยจะมีการ
takeover หรือรวมตัวกัน การแข่งขันจะทวีความรุนแร งขึ้น และแน่นอนผู้เล่น
ที่อ่อนแอกว่าก็จะโดนกลืนไป เอ็มบีเอบางคนก็คงจะต้องกลับไปหางานทำในลู่วิ่งเดิม
ทีนี้ถามว่าทำไมล่ะ? เดอะสเปซมีอะไรดีนักหรือ ที่สามารถดึงดูดมนุษย์ทองคำให้ทิ้งทองคำเพียง
เพื่อมาขุดหาเพชรในตม ที่นับวันก็จะมีนักขุดมาก ขึ้นๆ ความเป็นไปได้ ที่จะกลายเป็นอภิมหาเศรษฐีดังเช่นเอ็มบีเอรุ่นบุกเบิก
นั้น นับวันก็มีแต่จะน้อยลงๆ
คำตอบมีหลายข้อดัวยกัน
เอาข้อธรรมดาก่อน นั่นก็คือ เรื่องเงินแม้ว่าความเป็นไปได้จะน้อยลงมา แต่โอกาสก็พอมีอยู่บ้าง
พวก ที่ชอบเสี่ยงโชคจึงเลือกลองดู
ส่วนข้อกึ่งธรรมดากึ่งน่าท้าทาย คือ เรื่องของความรับผิดชอบ ที่เมื่อ เทียบกับธุรกิจ
ที่อยู่ตัวแล้วจะสูงมาก และสำหรับเอ็มบีเอ ที่เพิ่งจะจบมาอายุ เพียง 20-something
นั้น ธุรกิจเช่นแบงก์ หรือเคมีภัณฑ์ จะไม่ให้โอกาสเด็ดขาด แต่งานในเดอะสเปซนั้น
ต้องการความรวดเร็ว ทั้งในการบุกเบิก ธุรกิจ และการแก้ปัญหา การ ทำงานมุ่ง
ที่ผลของงานเป็นสำคัญ กาลเวลาเพียงหกเดือนในเดอะสเปซมีความหมายเยี่ยงชั่วกัลป์ชั่วกาล
ไม่มีใคร สามารถนั่งตบยุงรอราย งานจาก ที่ปรึกษาด้านบริหารได้
แต่คำตอบ ที่เอ็มบีเอหลายคนพูดถึง และฟังเข้าท่าที่สุด แถมยังเข้ากับคอนเซ็บต์ของอวกาศคือ
"...ความรู้สึกว่าเขากำลังจะมีส่วนสร้างประวัติศาสตร์ในธุรกิจนี้...
และแม้ว่าอาจจะพลาด แต่มันคงสนุกในความพยายาม ที่จะทำให้สำเร็จของเรา"
(เก็บความเรื่องเอ็มบีเอ ของ Harvard จากบทความ "Classmates compete
for places in the Sapce" นสพ.ไฟแนนเชียลไทมส์ ฉบับวันที่ 19 กันยายน
2542)