Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ เมษายน 2549








 
นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2549
ชีวิตที่อิ่มสุขของคุณหญิงศศิมา ศรีวิกรม์             
โดย อรวรรณ บัณฑิตกุล
 


   
search resources

ศศิมา ศรีวิกรม์




แม้ทุกวันนี้ข่าวคราวของคุณหญิงศศิมา ศรีวิกรม์ จะเงียบหายไปบ้าง แต่เมื่อเริ่มลงมือเขียนเรื่องราว ความทรงจำของเธอก็หลั่งไหลเข้ามาอย่างต่อเนื่อง

หนังสือเรื่อง "จิ้งจกทัก" หนังสือขายดีเล่มหนึ่ง มีภาพปกสวยงามฝีมือของถวัลย์ ดัชนี ศิลปิน ชื่อดัง ผู้ไม่เคยวาดภาพปกหนังสือให้ใคร คือสาเหตุสำคัญที่ทำให้ "ผู้จัดการ" ไปสนทนากับคุณหญิงศศิมาอีกครั้งที่อาคารโกลเด้นแลนด์ คราวนี้เป็นการคุยเรื่องส่วนตัวของเธอเป็นหลัก แทนที่จะเข้าไปสัมภาษณ์ในฐานะประธานกรรมการบริหารบริษัทโกลเด้นแลนด์ อย่างหลายๆ ครั้งที่ผ่านมา

"เนื้อหาในหนังสือ หลักๆ เป็นเรื่องราวที่ใช้สอนลูกตั้งแต่เด็กจนโต จนตอนนี้มีครอบครัวกันแล้ว ยังแอบสอนเขาไปเรื่อยๆ เขียนเก็บไว้ ไม่คิดว่าจะพิมพ์หรือโดนใจใคร เพราะเป็นเรื่องราวของคนในครอบครัว เป็นเรื่องของแม่สอนลูกที่ใครๆ ก็ทำกัน"

คุณหญิงศศิมา ศรีวิกรม์ ในวันนี้ยังคงแข็งแรงและดูอ่อนกว่าวัยซึ่งหลายคนไม่มีทางคาดเดาได้ว่า ปีหน้าเธอจะมีอายุครบ 70 ปีแล้ว เป็นคุณย่า คุณยายของหลานๆ ถึง 4 คน จากลูกชายหญิง 4 คนคือ พิมล ชัยยุทธ์ วิกรม์ และทยา ทีปสุวรรณ

ผู้มีส่วนสำคัญที่ทำให้หนังสือเล่มนี้เกิดขึ้นมาคือ คุณหญิงจำนงศรี หาญเจนลักษณ์ และยุทธนา วรุณ ปิติกุล บรรณาธิการสำนักพิมพ์อมรินทร์ พิมพ์ครั้งแรกเมื่อเดือนกรกฎาคม 2547 และพิมพ์ซ้ำถึง 6 ครั้งในปีเดียวกัน

"ก็น่าแปลกใจนะว่าทำไมขายดีนักเพราะเราไม่ใช่เป็นที่รู้จักอย่างดาราคนอื่นๆ" เธอเล่าต่อยิ้มๆ และบอกว่า นอกจากตำแหน่งประธานบริษัทโกลเด้นแลนด์ที่จ้างนักบริหารมืออาชีพเข้ามาทำงาน โดยเธอจะคอยดูอยู่ห่างๆ เป็นรองประธานกรรมการบริษัทเพรสิเดนท์โฮเต็ลทาวเวอร์ และเป็นประธานที่ปรึกษาในบริษัทต่างๆ ที่ลูกดำเนินกิจการต่อ เช่น โรงเรียนศรีวิกรม์ บริษัทอุตสาหกรรมพรมไทย แล้ว สิ่งที่เธอต้องการทำต่อคือการเขียนหนังสือบันทึกเรื่องราวทั้งหมดในชีวิต และการทำกองทุนเฉลี่ยสุข

เรื่องราวในวันเวลาที่ผ่านเลยของผู้หญิงคนนี้ น่าสนใจมากทีเดียว จากเด็กผู้หญิงตัวเล็กๆ ที่วิ่งเล่น ไปมาตามโรงพักในจังหวัดต่างๆ เพราะเป็นลูกสาวของ พ.ต.อ.สวงศ์ วุฑฒินันท์ กับประกอบกูล อภัยวงศ์ โตขึ้นไปจบการศึกษาจาก Royal Academy of Music ประเทศอังกฤษ ทางด้านวิชาดนตรี ปริญญาโทสาขารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ประเทศสหรัฐอเมริกา

เคยเป็นครูสอนดนตรีอยู่พักหนึ่งก่อนที่จะแต่งงาน กับเฉลิมพันธ์ ศรีวิกรม์ ลูกชายของพระยาศรีวิกรม์มาฑิตย์ และคุณหญิงวาศ เศรษฐีที่ดินเก่าแก่ของเมืองไทย

ในช่วงอายุประมาณ 25 ปี เธอได้ก่อตั้งโรงเรียนศรีวิกรม์ โดยใช้การบริหารแบบธุรกิจมาผสมผสานกับการศึกษา ปัจจุบันมีตั้งแต่ชั้นอนุบาลถึงระดับบริหารธุรกิจ หลังจากนั้นเธอยังเข้าไปบริหารบริษัทอุตสาหกรรมพรมไทย เข้าไปช่วยสามีบริหารธุรกิจโรงแรม และเป็นกรรมการบริษัทเอกชนอีกหลายแห่ง รวมทั้งเข้าไปเล่นการเมือง ก่อนที่จะถอนตัวออกมาเพื่อทำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์อย่างเต็มตัว และยังเคยเป็นเจ้าของค่ายเพลง "เฉลี่ยสุข" ที่สนับสนุนเด็กวัยรุ่นที่มีความสามารถทางด้านเสียงเพลง

หลายคนคงจำเพลง "Reach For The Star" ที่ไพเราะและเต็มไปด้วยความหมาย ซึ่งทา ทา ยัง เป็นผู้ขับร้องในพิธีเปิดกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 13 ได้ เป็นเพลงที่คุณหญิงแต่งเนื้อร้อง และทำนองเอง ทั้งๆ ที่ตอนนั้นเธอมีภาระหนักมากในการนำพาธุรกิจของบริษัทแผ่นดินทอง พร็อพ เพอร์ตี้ ให้พ้นวิกฤติเศรษฐกิจทางการเงินให้ได้ในปี 2540 และเป็นบริษัททางด้านอสังหาริมทรัพย์บริษัทแรกๆ ของเมืองไทยที่ผ่านวิกฤติในช่วงนั้นมาได้

ทุกวันนี้เธอบอกว่า ชีวิตเธออิ่ม และต้องการเฉลี่ยสุขให้ผู้อื่นบ้าง การตั้งกองทุนเฉลี่ยสุขเป็นสิ่งที่เธอคิดมานาน

"ดิฉันเริ่มทำงานตั้งแต่อายุ 21 ปี ปีหน้าอายุ 70 ปี ก็เท่ากับทำงานมานานถึง 50 ปี ถ้าเอาเงินเก็บที่ได้ปีละล้านบาท เป็นเงิน 50 ล้านบาท ซึ่งเงินส่วนนี้เป็นเงินเก็บที่ไม่คิดว่าจะให้ลูกเพราะเขามีแล้ว พ่อของเขาก็รวย แล้วเขาก็ได้โอกาสเกินกว่าคนอื่นตั้งเยอะแล้ว วิธีการบริหารกองทุนนี้จะให้ลูกๆ เป็นกรรมการหารายได้เข้ามา ปันผลได้เท่าไรก็เอาไปทำโครงการเฉลี่ยความสุขให้กับคนอื่น ถ้าไม่ตายเสียก่อนก็จะสะสมไปเรื่อยๆ ไม่เรี่ยไรจากใคร"

คุณหญิงศศิมาพูดถึงความตั้งใจ และเล่าต่อว่าในเรื่องงานเขียนหนังสือนั้นได้เริ่มต้นบันทึกไปบ้างแล้ว เค้าโครงของหนังสือ เป็นเรื่องราวของตนเองที่เชื่อมโยงร้อยรัดไปกับเหตุการณ์บ้านเมืองในแต่ละช่วงเวลา

"เป็นหนังสือที่จะไว้แจกตอนงานศพของตนเองนะคะ ไม่ได้มีไว้ขาย เขียนไว้หลายเรื่อง เช่น เรื่องตั้งแต่เป็นเด็กมาเป็นอย่างไร เจออะไรบ้างในชีวิต ช่วงไหนคิดอย่างไร การเข้ามาทำธุรกิจ เข้ามาทำงานการเมือง ได้เป็นคุณหญิง ทำงานดนตรีเพื่อการกุศล ลูกแต่งงาน การเจอวิกฤติทางเศรษฐกิจ การปรับโครงสร้างบริษัท ใครมีบุญมีคุณบันทึกไว้หมดค่ะ"

ที่อำเภอเขาใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา คุณหญิงศศิมาได้สร้างบ้านไว้หลังหนึ่ง ที่นั่นมีห้องสมุดขนาดใหญ่ที่ได้รวบรวมเรื่องราว และเก็บความทรงจำทั้งหมดในชีวิตของเธอไว้ มีทั้งภาพ ข่าวคราวต่างๆ ที่ตัดจากหนังสือพิมพ์ ภาพเหตุการณ์ต่างๆ ขณะไปเที่ยวกับสามี สามีไปดูการแข่งกีฬาโอลิมปิก ไปแข่งฟุตบอล ไปเล่นสกี ลูกๆ ทั้ง 4 คนก็มีตู้ส่วนตัวเก็บสิ่งของที่มีค่าควรจดจำเก็บไว้ในห้องนี้เช่นกัน

ธุรกิจของครอบครัวกำลังถูกปล่อยวางให้ทายาทรับช่วงต่อ ตัวเธอใช้เวลาไปอยู่ที่บ้านเขาใหญ่ เพื่อเขียนหนังสือที่ค้างคาและมีความสุขอยู่ในห้องแห่งความทรงจำของครอบครัว   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us