|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ เมษายน 2549
|
|
ก่อนวันงานเปิดประมูลงานศิลปะของบริษัท Bangkok Art Auction บริษัทได้จัดให้มี Exclusive Press Preview ขึ้นที่ชั้น 7 อาคารเพ็ญชาติ ซึ่งเป็นสถานที่เก็บงานศิลปะ ก่อนย้ายมาจัดประมูลในวันอาทิตย์ที่ 12 มีนาคม 2549
ในวันนั้นนอกจากเปิดโอกาสให้สื่อมวลชนได้ชมผลงานอย่างใกล้ชิดแล้ว ไฮไลต์ของงานคือได้เชิญขนงนุช ยิ้มศิริ บุตรสาวคนโตของอาจารย์เขียน ยิ้มศิริ มาทุบโมผลงานเสียงขลุ่ยทิพย์ ซึ่งเป็นผลงานประติมากรรมที่มีชื่อเสียงของบิดา ต่อหน้าสื่อมวลชนด้วย
น่าเสียดายนักที่วันนั้นมีนักข่าวมาร่วมงานน้อยมาก ทั้งที่การทุบโมของเขียน ยิ้มศิริ ครั้งนี้มีนัยสำคัญอย่างมาก และไม่ใช่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบ่อยนักในแวดวงศิลปะของไทย เมื่องานเสียงขลุ่ยทิพย์ Edition ที่ 9 ซึ่งขายไปเมื่อปีที่ผ่านมา ราคายังสูงถึง 8 แสนบาท และราคาขั้นต้นของงานชิ้นที่ 8/9 ที่นำมาประมูลเริ่มที่ 8 แสนบาท
"เป็นความตั้งใจที่จะให้งานของคุณพ่อมีแค่ 9 ชิ้น ซึ่งตอนนี้ก็ได้ทำขายครบไปแล้ว ดังนั้นไม่ว่าใครเอาไปแอบอ้างหรือเลียนแบบ ก็จะได้เป็นที่รู้ว่าไม่ใช่งานของเขียน ยิ้มศิริ ของจริง หลายคนอาจทำงานชิ้นนี้คล้ายงานของคุณพ่อ เพราะได้รับแรงบันดาลใจ แต่บางคนตั้งใจเลียนแบบเลยโดยดัดแปลงให้ชิ้นงานเล็กลง ยังจำได้ว่าเมื่อก่อนคุณแม่เคยให้ตำรวจไปจับ จับทีก็หายไปที แล้วมีอีกแต่ตอนนี้ไม่ค่อยมีแล้ว อาจเป็นเพราะงานศิลปะกว้างขวางขึ้น"
ขนงนุชอธิบายถึงการทุบโมที่มีอายุนานถึง 57 ปีชิ้นนี้ ปัจจุบันเธอและน้องสาว ขนงนาฎ มีบริษัทผลิตและส่งออกสินค้าเซรามิกในแบรนด์ "เขียน"มาประมาณ 18 ปี โรงงานอยู่ในซอยวัชรพล ส่วนใหญ่ส่งออกในประเทศแถบยุโรปและญี่ปุ่นเป็นหลัก
เขียน ยิ้มศิริ เกิดวันที่ 22 พฤษภาคม 2465 ที่ธนบุรี ภายหลังจากจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนอัมรินทร์โฆษิต ได้เข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนประณีตศิลปกรรม ปี 2493 ได้รับทุนกระทรวงศึกษาธิการ ไปศึกษาวิชาประติมากรรมที่ Chelsca School of Art ในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ภายใต้การดูแลและแนะนำของ Henry Moore เป็นเวลา 1 ปี ต่อมาปี 2496 ได้รับทุนจากรัฐบาลอิตาลีไปศึกษาประติมากรรมและประวัติศาสตร์ศิลป์ ณ สถาบันศิลปะแห่งกรุงโรม
ปี 2496 ได้รับการยกย่องเป็นศิลปินชั้นเยี่ยม สาขาประติมากรรม
ปี 2507 รักษาการตำแหน่งคณบดีคณะจิตรกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์ สืบต่อจากอาจารย์ศิลป์ พีระศรี และถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2514 รวมอายุได้ 49 ปี
ผลงานของเขียนแสดงออกด้วยเรื่องราวและลักษณะของไทย คล้ายประติมากรรมสมัยสุโขทัยมาผสมผสานกับทัศนะส่วนตัวนำเสนอในลักษณะสมัยใหม่ เสียงขลุ่ยทิพย์เป็นผลงานชิ้นสำคัญที่สร้างชื่อเสียงให้เขาอย่างมาก
สำหรับซากของโมชิ้นนี้จะเก็บไว้เป็นอนุสรณ์ เพื่อให้คนรุ่นหลังได้ระลึกถึงศิลปินท่านนี้ที่ศูนย์ประติมากรรมกรุงเทพ
|
|
|
|
|