Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ เมษายน 2549








 
นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2549
Bangkok Art Auction ครั้งที่ 1             
โดย อรวรรณ บัณฑิตกุล
 


   
search resources

Auctions
Art
Bangkok Art Auction




ท่ามกลางอุณหภูมิร้อนระอุของบรรยากาศทางการเมืองเมื่อกลางเดือนมีนาคมที่ผ่านมา งานประมูลศิลปะก็แทรกตัวขึ้นมาอย่างงดงาม ริมถนนราชดำเนิน

หลายคนบอกว่าช่วงเวลาจัดงานศิลปะครั้งแรกของบริษัท Bangkok Art Auction ไม่ดีนัก เป็นช่วงที่บรรยากาศทางการเมืองยังคงอึมครึม ผู้สนใจบางคนอาจไม่มีอารมณ์มาดูงานศิลปะ ทั้งๆ ที่การประมูลงานศิลปะครั้งใหญ่ในเมืองไทยหายเงียบไปนาน แต่ภาพของคนที่เข้ามานั่งรอการประมูลเต็มที่นั่งบนชั้น 5 ของหอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในช่วงบ่ายวันนั้นยืนยันว่า ความสนใจของผู้คนในงานศิลปะยังมีเพียงแต่ยอมรับว่าการชูป้ายประมูลตัวเลขไม่คึกคักเท่าที่ควร

เจ้าประจำของงานประมูลอย่าง บุญชัย เบญจรงคกุล ก็ไม่พลาดงานนี้ ซึ่งก็มาอย่างผู้สังเกตการณ์มากกว่าสนใจประมูลภาพจริงจัง เช่นเดียวกับหลายๆ คนที่เข้ามาในวันนั้น แต่นักสะสมคนหนึ่งให้ความเห็นว่า หากมีภาพที่น่าสนใจจริงๆ การประมูลราคาดีๆ ก็เกิดขึ้นไม่เกี่ยวกับเรื่องร้อนๆ ของการเมือง

งานนี้มีผลงานเข้าร่วมประมูลกว่า 250 ชิ้น แบ่งเป็นภาพเขียนและงานประติมากรรม 163 ชิ้น หนังสือหายาก 30 เล่ม แผนที่ 18 แผ่น และสิ่งพิมพ์อื่นๆ ที่น่าสนใจอีก 42 ชิ้น

งานที่นำออกมาประมูลหลายชิ้นเป็นงานขนาดใหญ่ เหมาะสำหรับการนำไปเก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษา ซึ่ง เสริมคุณ คุณาวงศ์ ผู้บริหารบริษัท Bangkok Art Auction บอกว่า เป็นอีกวิธีการหนึ่งที่ทำให้งานของศิลปินไทยได้ไปสู่ตลาดต่างประเทศ แต่น่าเสียดายที่วันนั้นผู้ที่เข้าร่วมประมูลเป็นนักสะสมส่วนตัวเป็นส่วนใหญ่

งานชิ้นใหญ่ที่หวังว่าจะได้ราคาเลยพลาดไปไม่มีใครประมูล เช่น ภาพสีน้ำมันบนผืนผ้าใบขนาดใหญ่ 180 X 200 เซนติเมตร ชื่อ "หลงใหลในยักษ์ 1"ปี 2546 ของสมศักดิ์ รักษ์สุวรรณ ที่ถือว่าเป็นประวัติศาสตร์ศิลป์ชุดหนึ่ง เพราะเคยเป็นที่ฮือฮาอย่างมากในหน้าหนังสือพิมพ์เมื่อหลายปีก่อน ภาพนี้ตั้งราคาขั้นต่ำไว้ที่ 5 แสนบาท

งานชิ้นใหญ่ของชาติชาย ปุยเปีย เขียนเมื่อปี 2543 ใช้สีสันค่อนข้างแรง เขาเป็นศิลปินอีกคนที่มีชื่อเสียงในการสร้างงาน โดยสื่อด้วยสัญลักษณ์ต่างๆ เช่น ใบหน้า ดวงตา ตั้งราคาขั้นต่ำไว้ที่ 4 แสนบาท ก็ไม่มีใครประมูล

เช่นเดียวกับงานใหญ่ทั้ง 2 ชิ้นของถวัลย์ ดัชนี เริ่มต้นที่ 3 แสนบาท และ 1.5 ล้านบาท ก็ผ่านไปโดยไม่มีใครยกป้าย

สำหรับงานที่นักสะสมทั่วไปไม่ควรพลาดเช่นของอาจารย์ทวี นันทขว้าง ชุด "บัวรุ่งอรุณ" ปี 2521 ซึ่งตั้งราคาประมูลขั้นต่ำสูงกว่าทุกภาพในงานคือ 1,850,000 บาท ก็ผ่านเลยไปอย่างน่าใจหาย เช่นเดียวกับภาพบัวราตรี ที่ตั้งราคาขั้นต่ำไว้ที่ 1.5 ล้านบาท

ภาพบ้านที่ดูเงียบเหงา งานของสุเชาว์ ศิษย์คเณศ ศิลปินที่เขียนภาพจากเรื่องราวของชีวิตและสภาพแวดล้อมที่สะท้อนความเป็นตัวเองของเขา 2 ภาพ ราคาเริ่มต้นที่ 4.2 แสนบาท และ 6.5 แสนบาท ก็ไม่มีใครประมูลไป ภาพลายเส้นของอาจารย์เฟื้อ หริพิทักษ์ หลายภาพก็ยังคงอยู่ เช่นเดียวกับผลงานของ จ่าง แซ่ตั้ง ศิลปินที่แทบจะไม่ได้ขายผลงานตนเองเลยตลอดเวลาที่มีชีวิตอยู่ ชื่อภาพ "รอบๆ บ้านของผม" ปี 2531 ราคาเริ่มต้นที่ 2 แสนบาท

ภาพสีน้ำ "กิงกาหล่า" ปี 2546 ขนาด 45 X 35 เซนติเมตร ผลงานของจักรพันธุ์ โปษยกฤต เมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา ทำรายได้สูงสุดในวันนั้นราคาเริ่มต้นที่ 1 ล้านบาท ปิดที่ 1.2 ล้านบาท โดยเจ้าของภาพต้องการรายได้ไปบริจาคเพื่อการกุศลให้กับมูลนิธิจำรัส เกศก้อง

ภาพดอกไม้ในแจกันแก้ว ที่เหมือนจริงของศิลปินรุ่นใหม่ ไพรวัลย์ ดาเกลี้ยง เริ่มต้นที่ราคา 1.8 แสนบาท ทำราคาปิดได้สูงพอสมควรที่ 3 แสนบาท

"นกสีรุ้งเหนือทุ่งข้าว" ภาพสีน้ำมันขนาด 67 x 90 เซนติเมตร ของทวี รัชนีกร ศิลปินแห่งชาติสาขาทัศนศิลป์ ปี 2549 เป็นอีกภาพที่ทำให้บรรยากาศการประมูลตื่นเต้นขึ้นมาบ้างจากราคาเริ่มต้นที่ 7 หมื่นบาท จบที่ 1.2 แสนบาท

สรุปแล้วงานครั้งนี้ประมูลไปได้ทั้งหมด 90 ชิ้น เป็นเงิน 1 ล้าน 2 หมื่นบาท ซึ่งผู้จัดประมูลก็บอกว่า แม้ผลออกมาไม่ค่อยดีนักแต่ก็พอใจ และยอมรับว่ายังมีข้อบกพร่องหลายจุด เช่น แค็ตตาล็อกภาพที่ออกมากระชั้นจนเกินไป หรือข้อมูลที่ให้ประกอบการตัดสินใจยังมีน้อย แต่นับว่าเป็นการเริ่มต้นที่ดีในการหาประสบการณ์ในการทำธุรกิจเพื่อเป็นกลไกสำคัญในการส่งเสริมอาชีพของศิลปินให้ก้าวหน้าต่อไป

คาดหวังกันว่าการประมูลครั้งที่ 2 ที่บริษัทจะจัดขึ้นในเดือนพฤศจิกายน 2549 นั้นความพร้อมของผู้จัดและการเข้าร่วมประมูลของผู้ที่ชื่นชอบงานศิลปะจะตื่นเต้นกว่านี้   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us