|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ เมษายน 2549
|
|
เมื่อปีก่อน ทีมวิจัยการลงทุนต่างประเทศของ บลจ.เอ็มเอฟซี เพิ่งจะเสร็จสิ้นการสร้างดัชนีผลตอบแทนในตลาดหุ้นต่างประเทศทั่วโลก และการวิเคราะห์หุ้นรายตัว เพื่อให้กองทุน MFC Global Alpha Fund ซึ่งเป็นกองทุน FIF ของเอ็มเอฟซี นำไปใช้เป็นพื้นฐานการตัดสินใจเลือกหุ้นในพอร์ตกองทุนของ Smith Barney
แต่หลังเปิดศักราชใหม่ได้เพียงไม่นาน บลจ.เอ็มเอฟซีก็ออกมาประกาศอีกครั้งว่า นับแต่ปีนี้ถึงปี 2553 บลจ.เอ็มเอฟซีจะมุ่งพัฒนาตัวเองขึ้นสู่การเป็นบริษัทชั้นนำด้านการบริหารความมั่งคั่งให้แก่นักลงทุนไทยทั้งที่อยู่ในประเทศและต่างประเทศ บนมาตรฐานการให้บริการที่เป็นเลิศในระดับภูมิภาคเอเชียอาคเนย์
อีกทั้งยังมีความมุ่งมั่นที่จะขยายขนาดมูลค่ากองทุนสุทธิภายใต้การบริหารจัดการให้ใหญ่ขึ้นเป็น 400,000 ล้านบาท โดยคิดเป็นสัดส่วนของการขยายตัวแบบสม่ำเสมอปีละ 11% ภายในระยะเวลา 5 ปี
ทั้งนี้เมื่อปีก่อน มูลค่าสินทรัพย์สุทธิภายใต้การบริหารจัดการของ บลจ.เอ็มเอฟซีมีทั้งสิ้น 182,000 ล้านบาท และในปีนี้ บลจ.เอ็มเอฟซี ได้กำหนดเป้าหมายที่จะเพิ่มมูลค่าสินทรัพย์ให้เป็น 200,000 ล้านบาท
สำหรับมูลค่าสุทธิของกองทุนที่ระดับ 400,000 ล้านบาทนี้ ถือเป็นหนึ่งในมาตรฐานสากลที่ต้องมีสำหรับกองทุนที่จะเข้าลงทุนโดยตรงในตลาดขนาดใหญ่ อย่างสหรัฐอเมริกา และจีน
การขยายขนาดมูลค่าสินทรัพย์สุทธิในกองทุนของ บลจ. เอ็มเอฟซี ครั้งนี้ เป็นไปตามวัตถุประสงค์การจัดโครงสร้างกิจการและการทำธุรกิจของตัวเองใหม่ จากสถานภาพในปัจจุบันที่เป็นเพียงบริษัทจัดการกองทุน ซึ่งมีกระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ขึ้นไปเป็นกิจการ holding company ของรัฐบาล ซึ่งจะเป็นเจ้าของกองทุนขนาดใหญ่อีกรายแห่งภูมิภาคเอเชีย ที่สามารถเข้าลงทุนตลาดต่างประเทศขนาดใหญ่ทั่วโลกได้
โดยศักยภาพของกองทุนที่รัฐบาลไทยจะเป็นเจ้าของนี้ ต้องมีไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากองทุนเทมาเส็ก ซึ่งอยู่ภายใต้โครงสร้างการถือหุ้นของบริษัท เทมาเส็ก โฮลดิ้ง จากรัฐบาลสิงคโปร์
แม้จะยังไม่มีความชัดเจนในปัจจุบันถึงรูปแบบการจัดโครงสร้างธุรกิจใหม่ของ บลจ.เอ็มเอฟซี จะออกมาเป็นเช่นไรก็ตาม แต่ในปีนี้ดูเหมือนว่าจะมีกลยุทธ์หลายประการที่บริษัทจัดการกองทุนแห่งนี้จำเป็นต้องดำเนินการ อาทิ การเริ่มต้นใช้ปรัชญาการ บริการลูกค้าที่เน้นการตอบสนองความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก ภายใต้แนวคิด Wealth Management และอาศัยสาขาธนาคารออมสินเข้ามาเป็นช่องทางกระจายสินค้าสู่ตลาดในต่างจังหวัด
อีกทั้งยังจะใช้นโยบายเน้นการเปิดตลาดใหม่ๆ ทั้งในระดับ ภูมิภาคในตลาดตะวันออกกลาง และในตลาดคนไทยที่อยู่ในต่างประเทศ ตลอดจนถึงตลาดรัฐบาล รวมถึงปรับปรุงระบบการทำงาน ใหม่ในอีกหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นด้านเทคโนโลยีการบริหารกองทุน การบริหารความเสี่ยงระบบควบคุมการปฏิบัติงาน และพัฒนาระบบดัชนีชี้วัดความสำเร็จในการดำเนินงานของบริษัทเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานที่ดีภายในองค์กร
|
|
|
|
|