Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ เมษายน 2549








 
นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2549
เมโทร พาร์ค Low cost Housing             
 


   
www resources

โฮมเพจ พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค

   
search resources

พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค, บมจ.
Real Estate




บ้านเดี่ยวราคาแพงขายได้ยากขึ้น ในขณะที่คอนโดมิเนียมราคาปานกลาง 1-2 ล้านบาทกลับขายได้ดี เป็นสัญญาณที่ส่อให้เห็นตั้งแต่ต้นปี 2548

ส่งผลให้นักพัฒนาที่ดินที่มองการณ์ไกลหลายรายได้ปรับสินค้าในมือ เพื่อโฟกัสไปยังผู้มีรายได้ปานกลางเป็นหลักอย่างคึกคัก แม้แต่ค่ายใหญ่อย่างพร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟคที่ไม่เคยทำคอนโดมิเนียมมาก่อนตลอดเวลา 20 กว่าปีที่ผ่านมา ก็ตัดสินใจนำที่ดินในมือที่วางแผนสร้างเป็นบ้านเดี่ยวระดับ 5 ล้านบาทขึ้นไป ลงสมรภูมิการแข่งขันด้วย ทั้งๆ ที่โมเดลบ้านและโบรชัวร์ทำเสร็จเรียบร้อยแล้ว

เพียงแต่รูปแบบของเมโทร พาร์ค อาจต่างกว่ากลุ่มอื่นคือ หวังสร้างเป็นชุมชนขนาดใหญ่ แทนโครงการเดี่ยวๆ กระจายไปตามเส้นทางรถไฟฟ้า

"ก่อนหน้านี้บริษัทได้มีโอกาสไปช่วยรัฐบาลทำการศึกษาเกี่ยวกับโครงการที่อยู่อาศัยที่ดีกว่าโครงการเอื้ออาทร เราเลยเซตทีม ทำเรื่องนี้ซึ่งหลักๆ ต้องเป็นโครงการซึ่งอยู่ในแนวรถไฟฟ้า เพื่อขนคนเข้าเมืองได้สะดวก และต้องเป็นโครงการขนาดใหญ่ที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ไว้รองรับ และจากการศึกษาพบว่า ส่วนใหญ่ในประเทศต่างๆ โครงการที่เกิดขึ้น เป็นบริษัทเอกชนทำอย่างเช่นในประเทศสิงคโปร์"

ดร.ธีระชนม์ มโนมัยพิบูลย์ ผู้บริหารโครงการเมโทร พาร์ค เล่าให้ "ผู้จัดการ" ฟังถึงที่มาของคอนโดโครงการแรกของบริษัทและอธิบายต่อว่า

ตอนนั้นยังเป็นภาพรวมที่ศึกษาให้รัฐบาลยังไม่คิดที่จะทำเอง จนกระทั่งเมื่อกลางปีที่ผ่านมา ภาพส่วนต่อขยายของระบบคมนาคมเริ่มชัดขึ้น ประกอบกับบ้านราคาแพงเริ่มขายได้ช้าลง สิ่งที่ศึกษาไว้ให้รัฐบาลเลยเอามาศึกษาใหม่อย่างจริงจัง พร้อมๆ กับเลือกแลนด์แบงก์ที่มีอยู่แล้วมาทำ

และดูเหมือนว่าเมโทร พาร์ค คอนโด ระดับราคา 1-2 ล้านบาท ของพร็อพเพอร์ตี้เพอร์เฟค บนถนนกัลปพฤกษ์ ย่านสาทร ประสบความสำเร็จในเรื่องยอดขายในระยะเริ่มต้นได้ดีทีเดียว

"ในเดือนพฤศจิกายน 2548 เราเปิด 6 ตึก ตึกละ 8 ชั้น ชั้นละ 12 ยูนิต รวมทั้งหมดประมาณ 600 ยูนิต ขายไปเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์แล้ว เปิดเพิ่มอีกในเดือนธันวาคม อีก 4 ตึก ทั้งๆที่ไม่คิดมาก่อนว่าจะเปิดขายเฟส 2 เร็วอย่างนี้"

เมโทร พาร์ค อยู่ทางฝั่งธนบุรี บนเส้นทางใหม่ของรถไฟฟ้า กทม. ส่วนต่อขยายในพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 84 ไร่ ภาพรวมที่กำหนดไว้มี 48 ตึกประมาณ 4,000 กว่ายูนิต จำนวนคนทั้งหมดที่จะเข้าอาศัยเมื่อเสร็จสิ้นโครงการ ประมาณ 1 หมื่นคน

เป็นโครงการหนึ่งที่บริษัทเตรียมตัวแข่งกับเวลา เพื่อตัดหน้าคู่แข่ง วิธีการเตรียมงานจึงเป็นเรื่องหนึ่งที่น่าสนใจ

ปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้ผู้บริหารต้องรีบเร่งในการตัดสินใจ นอกจากตัวเลขของฝ่ายวิจัยที่แสดงให้เห็นถึงความต้องการของผู้บริโภคแล้ว ปรากฏการณ์ของโครงการของผู้ประกอบการรายอื่นเช่น ค่ายศุภาลัย ที่เปิดตัวโครงการคอนโดฯ ราคาประมาณล้านบาทต้นๆ ในเดือนมิถุนายน 2548 แล้วขายหมดอย่างรวดเร็วในเวลาไม่กี่วัน ในขณะที่ค่ายแอลพีเอ็นเปิดตัวคอนโดระดับราคากลางขายอย่างต่อเนื่องยิ่งเป็นตัวกระตุ้นว่าช้าไม่ได้แล้ว

"ผมได้รับโจทย์ให้ทำคอนโดตัวแรกของบริษัท ภายในเวลา 4 เดือน โครงการอนุมัติเมื่อเดือนกรกฎาคม เปิดขายเดือนพฤศจิกายน จะทำได้อย่างไร เพราะที่ผ่านมาบริษัทไม่มีประสบการณ์ในเรื่องนี้มาก่อน ทำแต่โครงการบ้านเดี่ยวมาโดยตลอด"

สิ่งที่เขาตัดสินใจในตอนนั้นก็คือ ถ้าจะทำงานให้เร็ว ต้องจ้างผู้บริหารมืออาชีพจากข้างนอกทั้งหมด เริ่มจากเชิญประสงค์ ธาราไชย ซึ่งเป็นเลขาสภาวิศวกรรมสถานมาเป็นที่ปรึกษาเรื่องทีมงานก่อสร้าง

ในขณะเดียวกัน หาทีมดีไซเนอร์จากประเทศออสเตรเลีย ทีมทำแลนด์สเคป และทีมงานทางด้านทำโฆษณา รวมทั้งเริ่มมองบริษัทใหญ่มาดูในเรื่องนิติบุคคลอาคารชุด "เราให้โจทย์กับทางดีไซน์ไปว่า ต้องการทำคอนโดฯ ที่ขายดีแบบแอลพีเอ็น ศุภาลัย แต่ลุคแบบแลนด์แอนด์เฮ้าส์ ซึ่งเป็นโครงการราคาแพง โดยราคาขายไม่เกินตารางเมตรละ 4 หมื่นบาท ในห้องมีเฟอร์นิเจอร์ครบชุดตกแต่งให้ฟรี ซึ่งการทำโครงการพร้อมๆ กันจำนวนมาก ทำให้บริษัทสามารถบริหารจัดการของดีในราคาถูกได้" ธีระชนม์อธิบายต่อ

บริษัทดีไซน์ขนาดห้องตามดีมานด์เซอร์เวย์ที่จ้างทีมงานจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์วิจัย แต่เพื่อความมั่นใจเพิ่มขึ้น ได้ว่าจ้างทีมงานของอาจารย์สุขุม เฉลยทรัพย์ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ที่มีชื่อเสียงในเรื่องทำโพลด้านการเมืองมาสำรวจความต้องการรูปแบบคอนโดฯ คนส่วนใหญ่ได้ซ้ำอีกครั้ง จากเดิมได้ออกแบบขนาดห้องไว้ 4 แบบคือ ขนาด 30, 40, 50 และ 60 ตารางเมตร แต่ผลสำรวจใหม่ปรากฏว่าคนส่วนใหญ่สนใจขนาดห้องเล็กที่สุด หรือห้องใหญ่ไปเลย

เป็นอีกวิธีคิดหนึ่งของการทำคอนโดที่อยู่อาศัยท่ามกลางการแข่งขันอย่างหนัก และแม้แต่การเช่าพื้นที่บนชั้น 3 อาคารซีลิค เฮ้าส์ หัวถนนสีลม เพื่อทำเป็นห้องตัวอย่างดักลูกค้าที่มาจากสถานีรถไฟฟ้าศาลาแดง และรถไฟฟ้าใต้ดินสถานีลุมพินี ก็เป็นเทคนิคหนึ่งที่น่าสนใจ   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us