Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ เมษายน 2549








 
นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2549
พงศ์นคร โภชาภรณ์ เศรษฐกรใหม่ที่ ดร.โอฬารร่วมสร้าง             
โดย สุจินดา มหสุภาชัย
 

   
related stories

พรชัย ฐีระเวช กับชีวิตโลดโผน
เลือดใหม่ที่น่าจับตา
เวทางค์ พ่วงทรัพย์ อดีตนักเรียนทุนของหม่อมเต่า
กวิตม์ ศิริสรรพ์ โตจากวิกฤติเศรษฐกิจ
สศค. องค์กรในฝันของ เอม เจริญทองตระกูล

   
www resources

สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง

   
search resources

สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
Political and Government
พงศ์นคร โภชาภรณ์




เขาเป็นเด็กต่างจังหวัดที่ตั้งใจจะเป็นนักเศรษฐศาสตร์มาตั้งแต่ชั้นมัธยม จึงเริ่มวางแผนการเรียนไว้ตั้งแต่ต้นเพื่อจะเดินมาให้ได้ในอาชีพนี้

พงศ์นคร โภชาภรณ์ ผู้อำนวยการส่วนแบบจำลองและประมาณการเศรษฐกิจ สำนักงานนโยบายเศรษฐกิจมหภาคและระหว่างประเทศ ใช้เวลาเพียง 6 ปีกับการเติบโตก้าวหน้ามาเป็นข้าราชการรุ่นใหม่ที่มีอนาคตของ สศค.

"ผมเลือกทำในสิ่งที่ผมชอบคือเป็นนักเศรษฐศาสตร์ ครอบครัวเราเป็นคนต่างจังหวัด แต่ไม่เคยมีใครทำราชการ พ่อแม่ก็อยากเห็นสักคน ผมจึงเลือกเป็นอย่างที่พ่อแม่ชอบคือรับราชการ" ผอ.ส่วนแบบจำลองและประมาณการเศรษฐกิจ วัย 31 ปี บอกกับ "ผู้จัดการ"

พื้นเพของพงศ์นครเป็นคนนครศรีธรรมราช เริ่มเรียนหนังสือที่โรงเรียนแถวบ้านในชั้นมัธยม เขาชอบเรียนวิชาด้านสังคมศาสตร์ ซึ่งสอนเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์พื้นฐาน เช่น การบริโภค การใช้จ่าย หลักซัปพลาย-ดีมานด์ เริ่มหลงใหลในวิชาเศรษฐศาสตร์นับแต่นั้นมา ตั้งปณิธานว่าต้องเอาดีทางนี้ให้ได้

เรียนจบจากต่างจังหวัด จึงเดินทางเข้ากรุงเทพฯ เมื่อปี 2536 เลือกเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยหอการค้า ในสาขาเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ โดยเศรษฐมิติถือเป็นวิชาสุดโปรด จากนั้นจึงเข้ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เรียนต่อจนจบปริญญาโทในสาขาเดียวกันเมื่อปี 2542

เดิมพงศ์นครตั้งใจว่า จบ ม.เกษตรฯ แล้ว เขาจะสอบเข้าแบงก์ชาติ เพราะไม่รู้ว่าที่กระทรวงการคลังยังมี สศค. หน่วยงานซึ่งจะกลายมาเป็นทั้งจุดเริ่มต้นการเติบโตอย่างรวดเร็วในอาชีพการงาน และเป็นที่ที่เขาจะพบรักและเริ่มสร้างครอบครัวกับข้าราชการสาวอีกคน

"ก่อนสอบวันเดียว เกิดป่วยหนักจนไปสอบไม่ได้ แต่คงเพราะโชคชะตาอีกแหละที่ทำให้ผมต้องมาเข้า สศค. พอหายป่วย ผมก็เริ่ม search ดูตามอินเทอร์เน็ตว่ามีตรงไหนอีกที่น่าสนใจ จนมาเจอ สศค.พอได้อ่านเรื่องหลักการทำงานของที่นี่ ผมก็ยิ่งสนใจก็เลยมา"

พงศ์นครเริ่มต้นจากการเป็นลูกจ้างชั่วคราวของกองนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ในปี 2542 ใช้เวลา 2 ปี จึงสอบบรรจุเป็นข้าราชการประจำและถูกดึงตัวมาเป็นเศรษฐกร ที่กองนโยบายเศรษฐกิจมหภาคและระหว่างประเทศ จากนั้นไม่นานก็ถูกส่งตัวไปช่วยงานในออฟฟิศนอกกระทรวงการคลัง กับ ดร.โอฬาร ไชยประวัติ ประธานปรึกษากองนโยบายเศรษฐกิจมหภาคฯ

ในประเทศไทย นักเศรษฐศาสตร์ที่เชี่ยวชาญด้านสาขาเศรษฐมิตินั้นอาจมีไม่มาก นอกจาก ดร.วีรพงษ์ รามางกูรแล้ว ดร.โอฬารยังเป็นนักเศรษฐศาสตร์อีกคนที่มีชื่อโด่งดังในเรื่องความเชี่ยวชาญด้านการจัดทำแบบจำลอง และการวิเคราะห์ตัวเลขเศรษฐกิจ

การที่พงศ์นครถูกส่งออกไปทำงานใกล้ชิดกับ ดร.โอฬาร นานถึง 2 ปี ทำให้เขามีโอกาสมากขึ้นในการตักตวงความรู้และประสบการณ์ตรงมาจาก ดร.โอฬาร ซึ่งเป็นอาจารย์ ผู้พยายามถ่ายทอดทุกความรู้และแนวคิดในทางเศรษฐศาสตร์ให้ลูกศิษย์อย่างเขา

"อาจารย์สอนให้รู้ทุกอย่างอย่างที่นักเศรษฐศาสตร์ที่ดีต้องรู้ ตอนแรกที่รู้ว่าผมต้องไปอยู่กับท่านแน่แล้ว ผมไม่อยากไปเลยจริงๆ อยากทำที่นี่มากกว่า แต่ผู้ใหญ่บอกว่าเด็กรุ่นใหม่อย่างผม มีโอกาสทำงานกับนักเศรษฐศาสตร์รุ่นเก่าอย่างอาจารย์โอฬารได้ ก็นับว่าที่สุดแล้ว ขนาดเจ้านายผมยังอยากไป แต่ยังไปไม่ได้เลย"   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us