Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ เมษายน 2549








 
นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2549
เวทางค์ พ่วงทรัพย์ อดีตนักเรียนทุนของหม่อมเต่า             
โดย สุจินดา มหสุภาชัย
 

   
related stories

พรชัย ฐีระเวช กับชีวิตโลดโผน
เลือดใหม่ที่น่าจับตา
กวิตม์ ศิริสรรพ์ โตจากวิกฤติเศรษฐกิจ
พงศ์นคร โภชาภรณ์ เศรษฐกรใหม่ที่ ดร.โอฬารร่วมสร้าง
สศค. องค์กรในฝันของ เอม เจริญทองตระกูล

   
www resources

สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง

   
search resources

สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
Political and Government
เวทางค์ พ่วงทรัพย์




เวทางค์ พ่วงทรัพย์ เป็นนักเรียนทุนรัฐบาล ซึ่งเกิดจากความพยายามในการคัดสรรข้าราชการคนเก่งรุ่นใหม่ในโครงการ Executive Group ของ ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล ซึ่งเข้าไปคัดตัวถึงใน The American University

เวทางค์ ลูกชายคนโตของ พล.ต.ต.สมเจตต์ พ่วงทรัพย์ อดีตผู้บัญชาการ กองบัญชาการตำรวจนครบาล มีเพื่อนร่วมรุ่นในโครงการนี้อีก 4 คน ปัจจุบันบางคน ทำงานอยู่กับ สศค.เช่นเดียวกับเขา

ชีวิตข้าราชการของเวทางค์เริ่มที่สำนักนโยบายและแผนภาษี กรมสรรพากร เขาใช้เวลาอยู่ที่นั่นราว 3 ปี ก่อนถูกดึงตัวให้เข้ามาช่วยงานหน้าห้อง ร.อ.สุชาติ เชาว์วิศิษฐ์ เมื่อครั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในปี 2547

หลังจาก ร.อ.สุชาติพ้นตำแหน่งแทนที่เขาจะได้กลับกรมสรรพากร วิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ ซึ่งเป็นผู้อำนวยการ สศค.ในเวลานั้น และคณิต แสงสุพรรณ ผู้อำนวยการสำนักงานวิจัยนโยบายเศรษฐกิจมหภาคและระหว่างประเทศ ได้ชวนให้เวทางค์ อยู่ทำงานต่อที่นี่ในตำแหน่งหัวหน้าทีมจัดทำโมเดลเศรษฐกิจ ทั้งยังจะให้ช่วยงาน วีรพงษ์ รามางกูร, โอฬาร ไชยประวัติ และชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์ ที่ปรึกษาเศรษฐกิจของรัฐมนตรีว่าการ ทนง พิทยะ ด้วย

เวทางค์จบชั้นมัธยมปลายที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา และ จบปริญญาตรีจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในคณะวิศวกรรม ศาสตร์ สาขาสิ่งแวดล้อม หลังจบจากจุฬาฯ เขาใช้เวลา 14 เดือน ทำงานในบริษัท R & D Consultant ตำแหน่ง Cost Estimator

จากนั้นจึงไปเรียนต่อโทที่ The American University, Washington D.C., USA สาขา Finance & Financial Markets ในคณะ Applied Economics และรับทุนหลวงเพื่อทำ Ph.D ในสาขา Finance, Public Finance and Econometrics จาก Cornell University NY, USA จนจบปี 2542

ที่ Cornell เวทางค์และเพื่อนๆ นักเรียนไทย ยังได้ร่วมกัน จัดตั้งวิเทศสมาคมนักศึกษาเศรษฐศาสตร์ไทยขึ้น โดยมีเขาเป็นประธานคนแรก

แม้สำนักวิจัยนโยบายเศรษฐกิจมหภาคและระหว่างประเทศ จะเป็นหน่วยงานเล็กๆ แต่ถือเป็นแหล่งรวมของนักเรียนนอกจาก มหาวิทยาลัยดังๆ ที่เพิ่งกลับถึงเมืองไทยในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำอย่างหนัก จนยากที่จะหางานทำหรือเรียกผลตอบแทนสูงๆ ได้จากบริษัทเอกชน ซึ่งกำลังง่วนอยู่กับการหั่นจำนวนพนักงานลดค่าใช้จ่าย แก้ปัญหาหนี้สินในกิจการ

แต่เมื่อเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว ธุรกิจเริ่มกลับมาขยายกิจการอีกครั้ง กองนโยบายเศรษฐกิจมหภาคฯ ก็เริ่มตกอยู่ในภาวะระส่ำระสาย ด้วยเหตุที่บริษัทเอกชนแอบเข้ามาเสนอเงินเดือนสูงๆ เพื่อ hunt คนกลุ่มนี้ออกไปมากขึ้นเรื่อยๆ และการเข้ามาของเวทาค์ก็เพื่อเสริมกำลังในส่วนที่ขาดนี้ด้วย

เช่นเดียวกับเวทางค์ที่เคยถูกทาบทามผ่านบริษัท hunter ให้ออกไปทำงานกับแบงก์เอกชน แต่ยังดีที่ว่า เขาไม่ได้คิดจริงจังอะไรกับการทาบทามเหล่านั้น จากความชัดเจนตั้งแต่แรกว่าอยากอยู่ในราชการต่อไป เพราะการทำงานในระบบนี้ทำให้เขาพิสูจน์แล้วว่า เป็นแหล่งที่ช่วยให้เขาสามารถเรียนรู้และเก็บเกี่ยวประสบการณ์ต่างๆ ได้มากยิ่งกว่าบริษัทเอกชนรายใดจะมีให้เขาได้

เมื่อต้นปี 2549 เวทางค์เพิ่งได้รับโปรโมตขึ้นเป็นผู้อำนวย การส่วนนโยบายเงินทุนเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศ

คนใน สศค.เล่าให้ "ผู้จัดการ" ฟังว่า เวทางค์ควรได้เลื่อน ตำแหน่งตั้งนานแล้ว แต่ด้วยบุคลิกทีท่าที่คนส่วนใหญ่มองว่าเข้ากับคนได้ยาก ผู้ใหญ่จึงเกรงว่า อาจทำให้เกิดความวุ่นวายในเชิงการบริหารตามมา จึงตัดสินใจชะลอการเลื่อนตำแหน่งของเขาออกไปก่อน จนกว่าจะแน่ใจว่าเวทางค์จะปรับท่าทีได้ใหม่กับเพื่อนร่วมงาน และคนส่วนใหญ่จะไม่ต่อต้านเขามากนัก   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us