Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ เมษายน 2549








 
นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2549
พรชัย ฐีระเวช กับชีวิตโลดโผน             
โดย สุจินดา มหสุภาชัย
 

   
related stories

เลือดใหม่ที่น่าจับตา
เวทางค์ พ่วงทรัพย์ อดีตนักเรียนทุนของหม่อมเต่า
กวิตม์ ศิริสรรพ์ โตจากวิกฤติเศรษฐกิจ
พงศ์นคร โภชาภรณ์ เศรษฐกรใหม่ที่ ดร.โอฬารร่วมสร้าง
สศค. องค์กรในฝันของ เอม เจริญทองตระกูล

   
www resources

สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง

   
search resources

สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
Political and Government
พรชัย ฐีระเวช




ตั้งแต่เด็กๆ พรชัย ฐีระเวช ไม่ค่อยชอบเรียนหนังสือ เป็นคนที่ติดเพื่อนชอบสนุกสนาน จนก้าวสู่รั้วมหาวิทยาลัย สีสันชีวิตยิ่งจัดจ้าน ขยันตระเวนทำกิจกรรมชมรมเป็นที่หนึ่ง และไม่อายที่จะบอกว่าเขาจบมาได้เพราะเพื่อน

ปัจจุบัน พรชัย ธีระเวช เป็นผู้อำนวยการกลุ่มนโยบายการคลัง และงบประมาณ สศค.

"เด็กๆ ไม่ค่อยเรียนหนังสือ ไม่ใช่คนตั้งใจเรียนอะไร ชอบสนุกจึงไม่ค่อยมีสมาธิเท่าไร ยิ่งโตเป็นรุ่นพี่ที่ธรรมศาสตร์ ยิ่งชอบทำกิจกรรม เข้าชมรมโน้นชมรมนี้ ไม่ค่อยได้เรียนเริ่มมาเข้าห้องสมุดก็ตอนช่วงปลายๆ เทอมที่ต้องทำรายงาน ส่งอาจารย์ ชีวิตผมค่อนข้างโลดโผนกว่าเพื่อนรุ่นเดียวกัน แต่โชคดีที่จบมาได้ เพราะเพื่อนๆ มาช่วยติวให้ที่บ้าน ผมมาอ่านเลกเชอร์ก็ตอนนั้น" คือ ชีวิตวัยเรียนที่พรชัยบอกกับ"ผู้จัดการ"

พรชัยเริ่มเข้าเรียนชั้นมัธยมต้นจนจบมัธยมปลายที่สวนกุหลาบวิทยาลัย ก่อนสอบเรียนต่อในคณะบริหารศาสตร์ และการบัญชี สาขาบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

เมื่อเรียนจบเขาทำงานด้านบัญชีกับบริษัทพีค มาร์วิค สุธี ราว 3 ปี จึงบินไปเรียนต่อ MBA สาขาการเงินที่ Notre Dame De Namur University, USA

ระหว่างที่กำลังทำงานอยู่ที่ สศค. เขายังเรียนต่อจนจบปริญญาโทรัฐศาสตร์ สาขาบริหารรัฐกิจ ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชตามลำดับ

จริงๆ แล้ว พรชัยอยากเรียนสาขาการตลาดมากกว่า สาขาบัญชี แต่ที่ต้องเลือกบัญชีเพราะพ่อแม่ซึ่งมีพื้นฐานเป็น ข้าราชการอยากให้เขาเรียน

หลังจบจากธรรมศาสตร์ พรชัยสมัครงานที่บริษัทบุญรอด บริวเวอรี่ และธนาคารกรุงเทพ ทั้งที่ทั้ง 2 แห่งได้เรียกให้เขาเข้ารายงานตัวแล้ว แต่เขาตัดสินใจที่จะลองไปสมัครงานที่พีค มาร์วิค สุธี ตามคำชวนของเพื่อน

"บังเอิญอาจารย์สุธี (สิงห์เสน่ห์) เข้าบริษัท ท่านเลยสัมภาษณ์ผมเอง ตอนนั้นปี 2531-2532 ท่านเป็น รมว.คลังแล้ว ผมจบมาได้เกรด 2.3 ผมว่ามันก็ไม่น่าเกลียดอะไร แต่ท่านสงสัยว่าทำไมมันถึงได้ต่ำนัก ผมไม่อยากเริ่มต้นด้วยการโกหก หากท่านมารู้ทีหลังมันคงไม่ดีแน่ เลยบอกความจริง ท่านไม่ว่าอะไร และตกลงรับผม บอกให้มาทำงานพรุ่งนี้ เสื้อผ้าจะใส่มาทำงานผมยังไม่มีเลย ไม่คิดว่าจะได้ ยังงงว่าทำไมถึงรับเลย หรือเขากำลังขาดคนผมก็ไม่รู้นะ"

เขาควรเริ่มต้นทำงานนักวิเคราะห์บัญชี แต่น้องชายของสุธีซึ่งเป็นหัวหน้าทีมผู้ตรวจสอบบัญชี ขอตัวพรชัยให้มาทำหน้าที่ผู้ช่วยผู้ตรวจสอบบัญชีตั้งแต่เช้าแรกที่เขามารอเข้างาน

ทำงานจนเห็นถึงวงจรในระบบบัญชีได้อย่างครบถ้วน พรชัยจึงเริ่มรู้สึกว่า บัญชีเป็นงานจำเจไม่ท้าทาย จึงไม่เหมาะกับคนแบบเขา อีกทั้งหากอยากมีทางเลือกมากขึ้นที่จะทำให้ เขาเข้าได้ทั้งเอกชนและราชการแล้ว เขาควรไปเรียนต่อ MBA ในสาขาการเงิน

ด้วยความเป็นคนตัดสินใจเร็ว เขาจึงยื่นใบลาออกจากพีค มาร์วิคฯ ก่อนจะไปบอกให้พ่อแม่ตกใจกับการตัดสินใจของลูกชายคนโต ใช้เวลา 2 สัปดาห์ยื่นขอวีซ่าเรียนต่อที่สหรัฐฯ พรชัยก็บินไปเข้าคอร์สเรียนภาษาที่มหาวิทยาลัยใน Golden Gate จนได้เข้าเรียนต่อที่ Notre Dame De Namur University

เรียนจนใกล้จบก็มีเหตุให้ต้องบินด่วนกลับเมืองไทย เพราะพ่อของเขาเสียชีวิต ความที่เป็นลูกคนโต พรชัยจึงคิดจะเลิกเรียน เพื่ออยู่ดูแลแม่และน้องชาย แต่อาจารย์ที่ปรึกษาของเขาที่นั่นเห็นว่าเขาควรกลับไปเรียนให้จบ เพราะเหลือเพียงไม่กี่วิชา พรชัยจึงไปเรียนต่อ แต่เพื่อให้จบเร็วขึ้นจึงต้องเรียนในระบบ Individual Study ที่เขาต้องออกไปหาอาจารย์มาสอนให้เอง จากตรงนี้ทำให้เขาค้นพบตัวเอง

"อาจารย์ที่ปรึกษาคนที่ 2 ซึ่งเป็นทูตทหารสหรัฐฯ ประจำประเทศจีนเป็นคนชี้ทางให้ ท่านบอกว่า ผมไม่สามารถทำงานเอกชนได้ เพราะใจอ่อนเกินไป จากทำ test ในวิธีคิด ลักษณะนิสัย หรือ model และ performance แล้วผมไม่น่าจะทำได้ เพราะไม่เหี้ยมพอที่จะตัดกำไรส่วนต่างในการทำ arbitrage ให้บริษัท ถ้าผมอยากทำบริษัทก็ให้ทำของตัวเอง แต่หากเลือกทำราชการน่าจะไปได้ดีกว่า" พรชัยเล่าถึงที่มาในการเข้ารับราชการของเขาเมื่อปี 2536

หลังใช้ชีวิตสนุกสนานกับการทำกิจกรรมในมหาวิทยาลัยอย่างไม่รู้เบื่อ พรชัยก็ต้องตกอยู่ท่ามกลางความวิตกถึงอนาคตในการเรียนของตัวเอง เมื่อถึงช่วงปีสุดท้าย แต่ชีวิตที่พลิกผันขึ้นมาได้ในอีกทาง โดยส่วนหนึ่งมาจากการที่เขาเริ่มรู้คิดเมื่อถึงเวลา และอีกส่วนจากความช่วยเหลือของกลุ่มเพื่อน ทำให้เขาเชื่อว่าทุกคนจะมีกระบวนทางความคิดที่จะทำให้คิดอะไรได้เอง และระบบเพื่อนช่วยเพื่อนนั้นถือเป็นระบบที่ดีที่สุดในการทำงาน

"เวลาผมสอนเด็กใหม่ผมมักชอบใช้วิธีจับคู่กันทำงาน เพื่อเขาจะได้ช่วยเหลือกัน ใครเห็นว่าอะไรดีหรือไม่ดีก็เอามาแลกเปลี่ยนกัน ผมก็แค่คอยดู หากเห็นว่าเขามีปัญหาจริงๆ ผมถึงค่อยเข้าไปช่วย" พรชัยสรุปหลักการแนวคิดพื้นฐานที่เขาใช้สอนข้าราชการน้องใหม่ในสายงานของเขา   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us