Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ เมษายน 2549








 
นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2549
เลือดใหม่ที่น่าจับตา             
โดย สุจินดา มหสุภาชัย
 

   
related stories

พรชัย ฐีระเวช กับชีวิตโลดโผน
เวทางค์ พ่วงทรัพย์ อดีตนักเรียนทุนของหม่อมเต่า
กวิตม์ ศิริสรรพ์ โตจากวิกฤติเศรษฐกิจ
พงศ์นคร โภชาภรณ์ เศรษฐกรใหม่ที่ ดร.โอฬารร่วมสร้าง
สศค. องค์กรในฝันของ เอม เจริญทองตระกูล

   
www resources

โฮมเพจ กระทรวงการคลัง
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง

   
search resources

กระทรวงการคลัง
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
Political and Government
พรชัย ฐีระเวช
เวทางค์ พ่วงทรัพย์
กวิตม์ ศิริสรรพ์
พงศ์นคร โภชาภรณ์
เอม เจริญทองตระกูล




สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง หรือ สศค. ถูกแปลงภาพลักษณ์จนทันสมัยขึ้นอย่างผิดหูผิดตาเมื่อเทียบกับ 10 ปีก่อน ข้าราชการรุ่นใหม่เติบโตได้อย่างรวดเร็วเมื่อเทียบกับคนในยุค 40 ปีก่อน การเติบโตนี้ส่วนหนึ่งเกิดจากการแตกโครงสร้างใหม่ของ สศค. ที่ทำให้เกิดหน่วยงานเพิ่มมากขึ้น แต่บทบาทที่จะแสดงความสามารถในการเป็นผู้ให้คำแนะนำในการเสนอนโยบายแก่ รมว.คลัง ซึ่งถือเป็นสาระสำคัญหลักในหน้าที่ของคน สศค. ยังไม่เคยถูกพิสูจน์จากข้าราชการรุ่นหลังนี้

ข้าราชการเก่าแก่ของ สศค. เฝ้ามองภาพการเติบโตของข้าราชการรุ่นใหม่เหล่านี้ด้วยความทึ่ง

"การเติบโตเป็นเรื่องดี แต่ผมไม่แน่ใจว่าพวกเขาโตบนพื้นฐานอะไร เพราะบทบาท สศค. ที่ผมเห็นยุคนี้ไม่เหมือนกับที่ผมเคยอยู่ คือคล้ายว่าไม่ใช่องค์กรที่เคยมีบทบาทให้คำแนะนำปรึกษาในการกำหนดนโยบายที่ดีและเหมาะสมให้แก่ รมว.คลังอีกแล้ว แต่เป็นแค่คนแปลงนโยบายที่รัฐบาลคิดเองมาแล้วทั้งหมดให้เป็นแผนปฏิบัติอย่างที่รัฐบาลต้องการ" อดีตข้าราชการจาก สศค. กล่าวกับ "ผู้จัดการ"

กระทรวงการคลังก่อนเหตุการณ์ 14 ตุลา 16 นั้นเป็นยุคของบรรยากาศอนุรักษนิยมที่บริหารโดยนักการคลัง ที่ไม่ได้มีสายตายาวไกล แต่เป็นการบริหารงานแบบธรรมดา สามัญ ที่วางแนวตามกรอบประเพณีที่เคยอ้างกันมาอยู่แล้วคือ การดำเนินนโยบายคลังตามผู้มีอำนาจทางการทหารซึ่งเป็นผู้ปกครองประเทศ

ฉะนั้นการเกิดของข้าราชการหนุ่มที่มีอนาคตจึงเป็นเรื่องยาก นอกจากการเลื่อนขึ้นมาตามระบบอาวุโส

บุญชู โรจนเสถียร เป็นคนแรกที่เริ่มปรับปรุงองค์กรนี้ใหม่ โดยดึงอำนวย วีรวรรณ จากอธิบดีกรมศุลกากรมาเป็นปลัดกระทรวงการคลัง ข้ามหน้าคนที่มีอาวุโสมากกว่า หลายคนในขณะนั้น

การเอาอำนวย วีรวรรณ ขึ้นมาเป็นปลัดกระทรวงการคลัง คือการพังทำนบให้น้ำไหลบ่าเข้ามาเป็นครั้งแรก!

พอจะพูดได้ว่า ยุคที่อำนวย วีรวรรณ เป็นปลัดกระทรวงการคลังนั้น เป็นยุคที่คนหนุ่มกระตือรือร้นมากที่สุด และผลพวงอันนี้ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงในกระทรวงการคลัง ในรูปของบุคลากรอย่างมากที่สุด ที่เห็นได้ชัดคือเป็นยุคที่คนหนุ่มเป็นอธิบดีกันมาก ในขณะที่คนอายุใกล้เกษียณแล้ว จะไม่ได้รับความสนใจ

เช่นพิพัฒน์ โปษยานนท์ สมัยที่เป็นอธิบดีกรมสรรพสามิต แทบจะไม่มีบทบาทและเกือบจะโดนย้ายมาประจำกระทรวงหลายครั้ง ถ้าไม่ใช่มีการขอกันในระดับผู้ใหญ่

สมัยที่บุญชู โรจนเสถียร เป็นรัฐมนตรีคลัง และอำนวย วีรวรรณ เป็นปลัดกระทรวงเรียกได้ว่าเป็นช่วงเวลา ของการทำงานที่ให้โอกาสคนหนุ่มๆ เช่น ชาญชัย ลี้ถาวร, นุกูล ประจวบเหมาะ, ไกรศรี จาติกวณิช, วิโรจน์ เลาหพันธุ์, บัณฑิต บุณยปานะ, ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล ฯลฯ ได้แสดง ฝีมืออย่างเต็มที่

อาจจะเป็นเพราะบุญชูมาจากภาคเอกชน ฉะนั้นการบริหารงานราชการจึงแตกต่างจากรัฐมนตรีที่มาจากข้าราชการประจำ

ในยุคอำนวย วีรวรรณนั้น หนึ่งในหลักการทำงานที่อธิบดีทั้งหลายพออกพอใจมากเป็นพิเศษ คือการที่ทุกคนสามารถทำงานกันอย่างเต็มที่ โดยไม่ต้องเสียเวลาในการเอาอกเอาใจเจ้านาย

พอหมดยุคบุญชู โรจนเสถียร และอำนวย วีรวรรณ ก็ถูกการเมืองเล่นงานในสมัยรัฐบาลธานินทร์ กรัยวิเชียร ก็ถึงยุคสมัยของสุพัฒน์ สุธาธรรม ที่ถูกข้ามหัวไปในยุคบุญชู และสุพัฒน์ก็หันเข้าไปในรูปแบบเดิมของระบบอาวุโสและอนุรักษนิยม

กระทรวงการคลังในสมัยสุพัฒน์ สุธาธรรม คือกระทรวงการคลังที่ทำงานในลักษณะของผู้ตามนโยบายการคลัง ที่รัฐบาลมักจะเป็นผู้ชี้แนะ อาจจะเป็นเพราะว่ากระทรวงการคลังมีรัฐมนตรีที่ไม่มีลักษณะของผู้นำทางเศรษฐกิจ แต่กลับเป็นผู้เดินตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรี

สมัยบุญชู โรจนเสถียร กลับมาเป็นรองนายกรัฐมนตรี และอำนวย วีรวรรณ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวง การคลัง บทบาทของกระทรวงการคลังก็พลิกกลับขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง จากการเป็นผู้ตามมาเป็นผู้นำในนโยบายการเงินการคลัง และบทบาทนี้ก็มีต่อมาเรื่อยจนถึงยุคสมหมาย ฮุนตระกูล กระทรวงการคลังก็เริ่มเล่นบทนี้มาตลอด

สมหมายเข้ามาในกระทรวงการคลังโดยไม่มีฐานของตัวเองที่จะทำงานให้ นอกจากหลานชาย (ลูกของเพื่อน) ที่ชื่อนิพัทธ พุกกะณะสุต

เมื่อกว่า 40 ปีก่อน ทั้ง ม.ร.ว.จัตุมงคล หรือหม่อมเต่า และนิพัทธต่างเป็นนักเรียนนอกที่เข้ามาทำงานที่ สศค. ในรุ่นเดียวกัน ตอนนั้นจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ต้องการคนใช้ภาษาอังกฤษได้เข้ามาช่วยงาน เพราะรัฐบาลเริ่มคิดที่จะออกไปกู้เงินจากต่างประเทศเข้ามาพัฒนาประเทศ

การเข้าสู่ระบบราชการของ ม.ร.ว.จัตุมงคลที่จบจากฮาร์วาร์ด ส่วนนิพัทธมาจากมหาวิทยาลัยฮาวาย จึงเป็นเรื่อง ที่เกิดขึ้นได้ไม่ยาก เพราะรัฐบาลก็อยากจะจูงใจให้คนกลุ่มนี้ เข้ามามากๆ จึงมีกฎง่ายๆ แค่จ่ายเงินเดือนเด็กจบนอก 1,800 บาท สูงกว่าเด็กในประเทศ 600 บาท เป็นเวลานานถึง 6 ปี

ม.ร.ว.จัตุมงคลไม่เคยคิดว่าเรียนจบกลับมาจะทำงาน ในบริษัทเอกชน ไม่ว่าจะเป็นปูนซิเมนต์ไทย หรือธนาคารกรุงเทพ เนื่องจากเป็นเพียงกิจการที่เล็กอย่างมาก มีพนักงาน เพียง 2,000 คน และไม่เคยกู้ยืมเงินเองในต่างประเทศสักครั้งในชีวิต จนกระทั่งเมื่อ 20 ปีที่ผ่านมา

"ตอนนั้นหากอยากทำอะไรที่จะมีที่ให้เรียนรู้ได้จริงๆ ก็ต้องรับราชการ" ม.ร.ว.จัตุมงคลบอกเหตุผลกับ "ผู้จัดการ"

ความที่เป็นเด็ก Harvard ม.ร.ว.จัตุมงคลจึงถูกวางตัวให้ทำงานในสายเงินกู้ต่างประเทศตั้งแต่แรก เขาบอกว่าตอนนั้นยังไม่มีการอบรมอะไรกันทั้งสิ้น นอกจากเรียนรู้งานไปเรื่อยๆ แต่ผู้ใหญ่จะคอยพิจารณาเองว่า ควรจะเลือกฝึกใครหรือไม่เลือกฝึกใครในภายหลัง

ผ่านมา 6 เดือน บุญมา วงศ์สวรรค์ ปลัดกระทรวงการคลัง และ ดร.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ผู้อำนวยการ สศค. ในยุคนั้น จึงตัดสินใจย้ายหม่อมเต่ามาลงในสายนโยบายภาษีอากร ซึ่งเป็นสายวิชาการ นอกเหนือจากเจ้าสำนักที่คอยเรียกเขาเข้าไปสอนงานแล้ว เขาก็ยังมีปลัดฯ บุญมาเป็นติวเตอร์ส่วนตัว

ส่วนนิพัทธ เพื่อนร่วมรุ่นของ ม.ร.ว.จัตุมงคลที่เดิมนั้นถูกวางให้ไปลงที่สำนักงบประมาณ แต่ด้วยมีทักษะภาษา อังกฤษที่ดียิ่งกว่าภาษาไทย จากการไปเรียนเมืองนอกตั้งแต่ จบชั้น ป.4 สศค.จึงดึงตัวเขามาไว้ที่กองนโยบายการคลัง

แต่นิพัทธอาจต่างจาก ม.ร.ว.จัตุมงคลตรงที่ยิ่งอยู่นานเขาก็ยิ่งว่างงาน เพราะเจ้านายไม่รู้ว่าควรจะหาอะไรมาให้ทำเหตุเพราะในยุคนั้นงาน สศค.มีไม่มากจนขนาดจะทำกันไม่หวาดไม่ไหวเหมือนเช่นในยุคนี้ โครงสร้างภายในองค์กรก็ยังเล็กมาก หน่วยงานจึงมีน้อย

เด็กจบเมืองนอก แม้จะมีแค่ 18 คน แต่ก็ถือว่ามากที่สุดแล้วในยุคนั้น ต่างก็ต้องแข่งขันกันสร้างผลงานกันอย่าง ดุเดือด ถึงขนาดที่ว่าพวกที่ได้งานก่อนมักหวงงานเอาไว้ ไม่อยากให้เพื่อนเข้ามามีส่วนร่วม ใครสะสมผลงานเด่นๆ ได้มากเท่าไรในวันนั้นย่อมหมายถึงโอกาสที่จะเติบโตต่อไปในวันข้างหน้า เพราะตำแหน่งผู้บริหารในเวลานั้นยังมีอยู่น้อย ไม่มากเหมือนตอนนี้

เวลาของนิพัทธตอนนั้น แต่ละวันจึงหมดไปกับการอ่านหนังสือพิมพ์ จน ดร.ป๋วยมารู้เข้าทีหลังก็เริ่มจะเป็นห่วง อนาคตของนิพัทธ ดร.ป๋วยจึงก้าวเข้ามาเป็นทั้งเทรนเนอร์ และผู้สั่งงานให้เขาทำเสียเอง ก่อนจะปล่อยให้ออกไปเรียนรู้ งานต่อด้านการวิเคราะห์โครงการและบริหารเงินกู้รัฐบาลร่วมกับทีมเจ้าหน้าที่ของเวิลด์แบงก์ และไอเอ็มเอฟ เริ่มเข้ามาสำรวจเส้นทางและพื้นที่ที่จะใช้ทำโครงการร่วมกับ สศค.แล้ว

"อย่างคนรุ่นผม ใช้วิธีจับวางไว้ข้างหน้า 6 ปีตั้งแต่แรก ถ้าทำงานได้ดีพอสมควร เราก็จะเดินนำหน้าตลอดเวลา คนไม่ดีออกไปก็มีเยอะ โดยเฉพาะข้าราชการทางสายของผม ซึ่งก็มีนิพัทธด้วย ถ้าสุจริต ทำดี ก็ได้เลื่อนเร็ว ถ้าไม่เก่ง ดร.ป๋วยท่านก็จะแป็กคุณไว้เลย คนที่ทำเก่งก็จะเดิน"ม.ร.ว.จัตุมงคลขยายความให้ฟัง

พอมาช่วงหลัง 14 ตุลา ประเทศไทยเริ่มมีประชา ธิปไตย คนก็เรียกร้องความเป็นธรรม ไม่ว่าจะจบในเมืองไทยหรือเมืองนอก ข้าราชการต้องได้เงินเดือนเท่ากัน รัฐบาล จึงต้องหันมาใช้หลักการเงินเดือนที่เท่าเทียม จนส่งผลกระทบถึงเกณฑ์คัดเลือกตัวคนที่เหมาะสมให้เข้ามารับราชการต่อเนื่องมาถึงระบบการพิจารณาผลงานเลื่อนขั้นตาม ความสามารถของแต่ละคน ซึ่งแต่เดิมก็ไม่ค่อยจะดีอยู่แล้ว ต้องมีปัญหาหนักขึ้นไปอีก

หลังยกเลิกเงื่อนไขความต่างของเงินเดือน เศรษฐกิจ ก็เริ่มก้าวหน้า ภาคเอกชนเจริญขึ้นเรื่อยๆ นักเรียนนอกที่เก่งจริงจนกระทรวงการคลังต้องการดึงตัวเข้ามาทำงานก็เริ่มมีใจโอนเอียงไปทางอื่น ครั้นหน่วยงานราชการจะหันมาใช้วิธีพัฒนาคนที่มีอยู่ โดยการส่งข้าราชการของตนไปร่วมอบรมร่วมกับภาคเอกชน ก็ติดปัญหาว่าไม่รู้จะเอาเงินมาจาก ไหน เพราะกรมบัญชีกลางอนุมัติจ่ายให้ได้แค่คนละร้อยกว่าบาทต่อวัน

จนเมื่อ ม.ร.ว.จัตุมงคลเติบโตขึ้นเป็นอธิบดีกรมบัญชีกลาง เขาจึงเข้ามาแก้ไขระเบียบใหม่ โดยให้กรมบัญชีกลาง ออกค่าใช้จ่ายให้เต็มจำนวนหากงานอบรมนั้นมีเอกชนเข้าร่วมถึงครึ่งหนึ่ง การพัฒนาข้าราชการจึงได้เริ่มต้นจาก ตรงนี้

ยังเป็นเรื่องที่รู้กันดีในกระทรวงการคลังว่า หน่วยงานใดก็ตามที่ ม.ร.ว.จัตุมงคลเคยนั่งเป็นผู้บริหาร มักจะมี "ว่าที่ข้าราชการหนุ่มสาวนักเรียนนอกรุ่นใหม่" ซึ่งจะถูกสร้างขึ้นจากโครงการ Executive Group ที่ ม.ร.ว.จัตุมงคล ต้องลงทุนเข้าไปคัดนักศึกษาด้วยตัวเองถึงในรั้วมหาวิทยาลัย เพื่อเสนอทุนเรียนต่อในต่างประเทศอยู่เสมอ

โครงการนี้สร้างขึ้นจากพื้นฐานประสบการณ์ที่เป็น นักเรียนนอกรุ่นเก่าใน สศค.ของ ม.ร.ว.จัตุมงคล ที่ทำให้เข้าใจว่าระบบราชการเป็นระบบที่เน้นความเท่าเทียม ใครจะเก่งกว่าใครไม่ใช่เรื่องสำคัญ หากวุฒิเท่ากันและเข้ามาพร้อมกันก็ต้องเติบโตพร้อมกัน คนที่ทำงานเก่งกว่าจึงไม่อาจเติบโตได้ก่อน

แม้กระทั่งปัจจุบันที่ระบบราชการมีความพยายามผลักดันการเลื่อนขั้นแบบ fast track ม.ร.ว.จัตุมงคลมองว่า ยังไงก็ไม่เวิร์กจากปัญหาในแบบเดียวกัน แถมยังทำให้เกิดการเข้าคิวเพื่อรอขึ้นตำแหน่งที่ยาวมากขึ้น เพราะจะมีคนเพียงไม่กี่คนที่ได้รับการพิจารณาเป็นกรณีพิเศษ

"เด็กเก่งไม่จำเป็นต้องมีเงิน พ่อแม่ทุกคนก็อยากจะหาที่ดีที่สุดให้ลูกตัวเอง ผมถึงทำโครงการนี้ขึ้นมา ออกไปหาเด็กเก่งตามมหาวิทยาลัยของรัฐ เช่น จุฬาฯ ที่เหลือเวลาเรียน อีกแค่ปีเดียวก็จะจบแล้ว และส่งให้ไปเรียนมหาวิทยาลัย top 10 อย่าง Harvard, Yale หรือ Tokyo พอกลับมาแล้วก็ใช้ทุนคืนแค่ 2 ปี หมดแล้วอยากจะไปไหนก็เชิญ ไม่ว่ากัน ส่งไปเรียน 10 คนจะเหลือแค่ 2 คน โตเป็นปลัดหรืออธิบดีก็ยังดี เอกชนทำอย่างนี้ไม่ได้หรอก พอกลับมาทำงานสักพักก็จะถูกที่อื่นมาซื้อตัวไปแล้ว"

"แต่ผมรับรองได้เลยว่าไม่มีที่ไหนจะให้คุณเรียนรู้การ ทำงานจริงๆ ได้มากเท่าระบบราชการ เพิ่งจะจบมาเองทำไม ต้องรีบร้อนไปก้าวหน้าในภาคเอกชน เพราะการทำงานยังไง มันก็ต้องขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของเวลาอยู่ดี ลูกชายผม ผมก็จัดให้แบบนี้ ทำราชการก่อน 2 ปี จากนั้นจะไปทำอะไรผมไม่ว่า" ม.ร.ว.จัตุมงคลกล่าว   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us