|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ เมษายน 2549
|
|
ความพยายามที่จะปรับวัฒนธรรมเครือซิเมนต์ไทยให้เป็นองค์กรที่มี Innovation ไม่ได้มีเพียงการผลักดันนโยบายจากผู้บริหารระดับสูงลงมาในลักษณะ top down แต่เพียงอย่างเดียว แต่ยังมีการจัดกิจกรรมอย่างเป็นรูปธรรมเพื่อกระตุ้นให้พนักงานทั้งเครือมีความตื่นตัวที่จะ think out of the box มากขึ้น
งาน Innovation Change for Better Tomorrow ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2547 ที่กานต์รับบทแม่งานในวันนั้นเปรียบเสมือนปฐมบทที่สื่อไปยังพนักงานทุกคนของเครือซิเมนต์ไทยได้เข้าใจถึงความสำคัญของ Innovation ที่จะเป็นแกนกลางของวัฒนธรรมใหม่ขององค์กร ที่จะนำไปสู่เป้าหมายของการเป็นผู้นำอุตสาหกรรมในอาเซียน
วัฒนธรรมใหม่ที่กล่าวถึงเป็นวัฒนธรรมที่สนับสนุนให้พนักงานทุกคนมีความคิดสร้างสรรค์ สามารถแสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระ คุณลักษณะของพนักงานภายใต้วัฒนธรรมดังกล่าวมี 5 ประการด้วยกัน คือกล้าเปิดใจรับฟัง กล้าคิดนอกกรอบ กล้าพูดกล้าทำ กล้าเสี่ยงกล้าริเริ่ม และกล้าเรียนใฝ่รู้ สำหรับผู้บริหารยังต้องเพิ่มบทบาทของความเป็นผู้นำอีก 3 ประการ ได้แก่ นำการเปลี่ยนแปลง สนับสนุนการเปลี่ยนแปลง และบริหารการเปลี่ยนแปลงด้วยการทำเป็นแบบอย่าง
ภาพช้างก้าวออกจากกรอบ ซึ่งเป็นโลโกของงานในวันนั้นเป็นสัญลักษณ์ที่สะท้อนถึงความคิดนี้ได้เป็นอย่างดี
อีกกิจกรรมหนึ่งที่เครือซิเมนต์ไทยจัดขึ้นเพื่อกระตุ้นให้พนักงานตระหนักถึงความสำคัญและเกิดการสร้างสรรค์อย่างเป็นรูปธรรมก็คือ การประกวดรางวัล SCG Power of Innovation ซึ่งเปิดโอกาสให้แต่ละธุรกิจมีการจัดทีมคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์ (product) กระบวนการทำงาน (process) หรือรูปแบบธุรกิจ (business model) เข้าแข่งขัน โดยทีมชนะเลิศจะได้รับเงินรางวัล 1 ล้านบาท
ความตื่นตัวของพนักงานเครือซิเมนต์ไทยที่ส่งผลงานเข้าร่วมการประกวดครั้งนี้เกินกว่า 300 ทีมสร้างความประทับใจให้กับกานต์เป็นอย่างมาก ความสำเร็จที่เกิดขึ้นส่งผลกับเครือซิเมนต์ไทยทั้งในด้านโอกาสการสร้างรายได้ การลดรายจ่าย ไปจนถึงการสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าและคู่ค้ามากขึ้น
11 ทีมที่เข้ารอบสุดท้ายมีทั้งผลงานของธุรกิจซีเมนต์ กระดาษ ปิโตรเคมี ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง จัดจำหน่ายและสำนักการเงิน โดยทีม PIMAI จากบริษัท เซรามิคอุตสาหกรรมไทย ในธุรกิจผลิตภัณฑ์ก่อสร้างเป็นผู้คว้าชัยชนะในการประกวดครั้งนี้ ด้วยผลงานกระเบื้องพิมายที่เป็นกระเบื้องหินทรายที่ถือเป็นนวัตกรรมใหม่ในวงการกระเบื้อง
นอกจากการปรับวัฒนธรรมองค์กรที่เป็นเรื่องภายในแล้ว เครือซิเมนต์ไทยยังมีการสื่อสารการเปลี่ยนแปลงออกสู่สังคมภายนอกผ่านทางกิจกรรมและโฆษณาต่างๆ อีกหลายชุดด้วย
เครือซิเมนต์ไทยเริ่มบอกกล่าวให้คนภายนอกรับรู้ถึงความเปลี่ยนแปลงครั้งแรกผ่านโฆษณาทางโทรทัศน์ในชุด Rabbit ที่เริ่มออกอากาศตั้งแต่วันที่ 10 มีนาคม 2547 แนวความคิดของโฆษณาชุดนี้กระตุ้นให้เกิดการตั้งถามเพื่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์และความคิดนอกกรอบ ถือเป็นแนวความคิดโฆษณาที่แปลกใหม่มากสำหรับเครือ
ซิเมนต์ไทยในวันนั้น
ผลตอบรับจากโฆษณาชุดนี้ดีมากจนกระทั่ง TBWA\THAILAND ได้รับมอบหมายให้ทำโฆษณาต่อเนื่องมาอีก 2 ชุด ได้แก่ โฆษณาเปิดตัวกลุ่มปิโตรเคมีที่ออกอากาศในเดือนมีนาคม 2548 และกลุ่มกระดาษที่ออกอากาศตามมาในช่วงปลายเดือนกรกฎาคม ซึ่งทั้ง 2 ชุดสามารถสร้างการรับรู้ให้กับผู้ชมได้เป็นอย่างดีว่าเครือซิเมนต์ไทยไม่ได้มีเฉพาะธุรกิจซีเมนต์เท่านั้น แต่ยังมีอีก 2 ธุรกิจหลักที่คนจำนวนมากอาจจะยังไม่เคยรับรู้มาก่อนด้วย
|
|
|
|
|