การแปรสัญญาโทรคมนาคม เป็นความจำเป็นตามแผนแม่บทพัฒนากิจการโทรคมนาคม ที่ต้องการให้เกิดการแข่งขันเสรีและเป็นธรรมกับทุกฝ่าย
ทั้งผู้ให้บริการรายเก่า ผู้ให้บริการรายใหม่ รวมทั้งรัฐวิสาหกิจที่จะแปรสภาพเป็นบริษัทอย่าง
บริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น กับการสื่อสารแห่งประเทศไทย(กสท.) ที่หมดสภาพการเป็นผู้กำกับดูแล
เหลือไว้แต่เพียงผู้ให้บริการรายหนึ่งที่ต้องแข่ง ขันอย่างเท่าเทียมกับเอกชน
น.พ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รมว.กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารหรือไอซีทีกล่าวว่าที่ผ่านมาจำเป็นต้องมีการแปรสัญญาสัมปทานเพราะ
1.การควบคุม กำกับดูแล ซึ่งเอกชนต้องดำเนินธุรกิจภายใต้การดูแลของทศท.และกสท.
ซึ่งตามพ.ร.บ.ประกอบกิจการโทรคมนาคม ได้ระบุว่าเป็นอำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กทช.)
รวมทั้งเรื่องการออกใบนุญาตใหม่ หากไม่มีการแปรสัญญาก็จะเกิดความ ซ้ำซ้อนขึ้น
2.ปัญหาการจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนรัฐ ในรูปส่วนแบ่งรายได้ แต่ตามพ.ร.บ.ประกอบกิจการ
โทรคมนาคม กำหนดให้จ่ายเป็นค่าธรรมเนียม ค่าใช้คลื่นความถี่และค่าใช้เลขหมายแทน
ซึ่งถือเป็นรูปแบบที่ต่างจากการจ่ายส่วนแบ่งรายได้เดิมเป็นจำนวนมาก หากไม่มีการแปรสัญญา
อาจเกิดผลกระทบผู้ประกอบการรายเดิมกับผู้ประกอบการรายใหม่ ทำให้เกิดการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม
"ประเด็นนี้ที่สำคัญคือ เอกชนรายเดิมจะต้องจ่ายส่วนแบ่งรายได้ให้รัฐวิสาหกิจ
ที่กลายเป็นคู่แข่งทางธุรกิจ"
3.ทรัพย์สินในการดำเนินการ เอกชนได้มอบทรัพย์สินให้รัฐวิสาหกิจในการครอบครอง
แต่สิทธิในการใช้ทรัพย์สินนั้นยังเป็นของเอกชนอยู่ แต่เมื่อมีกทช.ผู้ประกอบการายใหม่ไม่ต้องส่งมอบทรัพย์สินให้รัฐวิสาหกิจ
หากไม่มีการแปรสัญญาก็เกิดประเด็นความไม่เป็นธรรม เพราะผู้ประกอบการรายเดิมเกรงว่ารัฐวิสาหกิจที่เปลี่ยนเป็นคู่แข่งอาจไม่ให้ความสะดวกในการเข้าไปใช้ทรัพย์สินดังกล่าว
4.ปัญหาอำนาจหน้าที่ ในการแปรสัญญา ซึ่งมองว่าเป็นเรื่องระหว่างคู่สัญญา
หรือเป็นเรื่องของรัฐ ของทศท.และกสท.หรือเป็นหน้าที่ของกทช.ซึ่งอาจดูเหมาะสมกว่าเนื่องจากเป็นองค์กรอิสระ
แต่อำนาจหน้าที่ไม่ใช่ปัญหาหลัก หากมีแนวทางที่ถูกต้อง และตามพ.ร.บ.เองก็ไม่ได้ระบุชัดเจนว่าให้เป็นหน้าที่ของกทช.
แต่ถือว่าเป็นหน้าที่ของรัฐบาล เพื่อทำให้เกิดการแข่งขันเสรีเพื่อรองรับการทำหน้าที่ของกทช.
ที่ผ่านมาการแปรสัญญาไม่ประสบความสำเร็จเพราะกระทบกับหลายผ่ายทั้งรัฐ เอกชน
รัฐวิสาหกิจคู่สัญญาและประชาชนผู้ใช้บริการ โดยเฉพาะรัฐวิสาหกิจที่เดิมมีรายได้จากส่วนแบ่งรายได้ประมาณ
2 หมื่นล้านบาทก็จะได้รับผลกระทบ เอกชนที่ต้องจ่ายเงินให้รัฐวิสาหกิจก็เกรงไม่ได้รับความเป็นธรรมเพราะเป็นคู่แข่งกัน
ส่วนประชาชนก็มองว่าส่วนแบ่งรายได้ทำให้ค่าบริการมีราคาแพง
"การแปรสัญญาที่เดิมทำไม่สำเร็จเพราะอาจไม่ได้กำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน ซึ่งเมื่อเรากำหนดเป้าหมายให้ชัดเจนก็จะเห็นแนวทางแก้ปัญหา
ซึ่งทางออกจะทำให้เท่าเทียมกันทุกฝ่ายก็เป็นไปไม่ได้ บางกลุ่มอาจได้ประโยชน์ในระยะสั้น
บางกลุ่มอาจได้ประโยชน์ในระยะยาว และบางกลุ่มอาจส่งผ่านประโยชน์ไปถึงประ-
ชาชนผู้บริโภคในท้ายสุด"