|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ เมษายน 2549
|
|
ชั้น 3 อาคารสำนักงานใหญ่ SCG เป็นชั้นผู้บริหารปีกขวาเป็นที่อยู่ของคณะจัดการส่วนใหญ่ในปัจจุบัน ที่ดำรงความขลังและยังไม่ได้ตกแต่งภายในใหม่ ขณะที่ปีกซ้ายตกแต่งใหม่ ดูทันสมัยมากขึ้น ที่สำคัญมีห้องทำงานของที่ปรึกษาเรียงราย มีห้องรับแขก ฯลฯ ซึ่งก็คือ อดีตคณะจัดการเก่าอย่างน้อย 2 รุ่น รวมกัน 8 คน ที่ปรึกษาชุดนี้จะเข้าร่วมประชุมคณะจัดการด้วย
วงในวิเคราะห์กันว่า นี่คือปรากฏการณ์ที่บ่งบอกว่า Succession Plan ของ SCG มิได้มีเพียง 3 ปี (2546-2549) เท่านั้น
ต้องยอมรับกันทั้งสังคมธุรกิจไทยเลยทีเดียวก็ว่าได้ว่านี่อาจจะเป็นครั้งแรกที่องค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ของไทยมีแผนการสืบทอดตำแหน่งผู้นำอย่างเป็นระบบที่สุด อวิรุทธ์ วงศ์พุทธพิทักษ์ อดีตผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ เคยบอกว่า "เป็นSuccession Plan ที่ไม่ใช่ contingency plan"
"ต้นเดือนสิงหาคม 2545 คุณชุมพลบอกอย่างเป็นทางการว่า บอร์ดจะเลือกผมขึ้นมา แต่หลายปีข้างหน้าก็อาจเปลี่ยนแปลงได้ ขึ้นอยู่กับเราทำตัวยังไง" กานต์ ตระกูลฮุน เปิดเผยความลับของจุดเริ่มต้นของแผนการนี้ให้ฟัง
ว่าไปแล้ว เวลาที่เหลือประมาณ 3 ปีครึ่ง กว่าจะดำรงตำแหน่งผู้จัดการใหญ่เป็นทางการ เป็นช่วงเวลายาวนานมากทีเดียว มองอีกนัยหนึ่ง ก็คือมีแผนงานที่วางไว้อย่างเป็นระบบที่สุด แน่ละย่อมเป็นช่วงเวลาที่เครียดสำหรับว่าที่ผู้จัดการใหญ่คนใหม่ไม่น้อย "ถามว่าผมเครียดไหม ผมเครียดเมื่อ 3 ปีที่แล้ว ตอนนี้ไม่เครียดเลย เพราะเครียดมาก่อนนานแล้ว" เขายอมรับ
พอต้นปี 2546 กานต์ ตระกูลฮุน ก็มาดูแลกิจการสำนักงานกลาง ซึ่งเป็นการเริ่มต้นของแผนการเป็นช่วงฝึกงานอย่างเต็มรูปแบบ จากนั้นมามีงานที่ต้องทำอย่างต่อเนื่อง พร้อมๆ กับแผนการคณะจัดการรุ่นก่อนเกษียณตัวเองก่อนกำหนดอย่างเป็นขั้นเป็นตอน (รายละเอียดเรื่องนี้ เคยเขียนไว้ในนิตยสารผู้จัดการแล้ว เมื่อต้นปี 2547)
จากนั้นมา "แนวความคิดใหม่" ของ SCG ดูจะอุบัติขึ้นเป็นระยะสั้น สะท้อนการทำงานอย่างหนัก ที่ย่อมได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่จากรุ่นก่อน ดูได้จากกิจกรรมสร้างสรรค์ที่จับต้องได้ผ่านสาธารณชนมากที่สุดในยุคหนึ่งก็ว่าได้ (ดูลำดับเหตุการณ์)
แต่ข้างหลังภาพการเปลี่ยนแปลงสู่ภายใน ก็มีการเปลี่ยนแปลง ขึ้นที่ชั้นสอง อาคารสำนักงานใหญ่ด้วยเช่นกัน ดังที่กล่าวข้างต้น
แม้บางคนจะแย้งว่าที่ปรึกษามิได้เพิ่งมี หากมีมาระยะหนึ่งแล้ว โดยเฉพาะหลังจากคณะจัดการเข้าโครงการเกษียณอายุก่อนกำหนด ตั้งแต่ปี 2542 (ทวี บุตรสุนทร และประมนต์ สุธีวงศ์) และต่อเนื่องมา แต่พิจารณาสาระแล้ว ดูจะแตกต่างจากโครงสร้างปัจจุบันมากทีเดียว ยุคนั้นที่ปรึกษาเป็นสมาชิกคณะจัดการที่ถือว่ามีอาวุโสต่ำกว่าผู้จัดการใหญ่ (ชุมพล ณ ลำเลียง) ทั้งหมด ซึ่งตรงกันข้ามกับยุคนี้ ที่ปรึกษายุคกานต์ ตระกูลฮุน ล้วนแต่มีอาวุโสมากกว่าเขาทั้งสิ้น
"เป็นครั้งแรกในรอบหลายสิบปีของเครือฯ ที่ทีมผู้บริหาร ใหม่หมด แต่คุณชุมพลก็ไม่ได้ไปไหน พี่ๆ ทั้งหลายก็เป็นที่ปรึกษา ข้อดีก็คือว่าเราจะ smooth transition มากๆ" กานต์อรรถาธิบาย เรื่องนี้อย่างจริงจังและตรงไปตรงมา
เขามองที่ปรึกษา "รุ่นพี่ๆ" จะมาเติมจุดอ่อนอย่างหนึ่งของเขา (และอาจจะเป็นทีมจัดการชุดใหม่ด้วย) ที่เขายอมรับในเรื่องของเครือข่ายภายนอก ในฐานะมีประสบการณ์ในคณะจัดการน้อยกว่ารุ่นก่อนมาก ในขณะที่พวกเขาจะต้องดูแลธุรกิจอย่างเข้มข้นในฐานะทีมใหม่ "พี่ๆ กรุณาช่วยเป็นที่ปรึกษา เป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะ Network กับทางราชการกับ business partner แม้เราถูกวางตัวล่วงหน้า แต่เทียบกับพี่ๆ 20 ปี สู้ไม่ได้"
กานต์ ตระกูลฮุน จะเน้นเสมอว่าชุมพล ณ ลำเลียง ไม่ได้ไปไหน ไม่เพียงแต่เป็นกรรมการบริษัทเท่านั้น เขายังเป็นที่ปรึกษาคณะจัดการด้วย ซึ่งนับเป็นโครงสร้างพิเศษสำหรับชุมพล ที่สะท้อนอิทธิพลทางความคิด ของผู้จัดการใหญ่คนก่อนยังมีอยู่ "หลายอย่างเราก็เช็กแนวคิดจากที่ปรึกษา โดยเฉพาะเรื่องบุคคล จริงๆ แล้ว ระบบเราดีมากๆ ถ้าจะเปลี่ยนอะไรบางอย่างต้องคิดดีๆ แล้วจะเปลี่ยนอะไรบางอย่าง ต้องเป็น long term policy ต้องรอบคอบมากๆ"
|
|
|
|
|