Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน26 ธันวาคม 2545
ผ่าทางตันแปรสัญญา เปลี่ยนรายได้เป็นภาษี             
 

   
related stories

เป้าหมายแปรสัญญาเพื่อใคร

   
search resources

กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี




หมอเลี้ยบเผยกรอบแปรสัญญาไอซีที ยืนบนหลักการเอกชนจ่ายเท่าเดิม โดยเรียงลำดับความสำคัญเป้าหมายเริ่มจากรัฐและประชาชนทั่วไป ลูกค้า รัฐวิสาหกิจเจ้าของสัมปทานและเอกชนผู้รับสัมปทาน ด้วยการเปลี่ยนส่วนแบ่งรายได้เป็นภาษีสรรพสามิต พร้อมมีระยะเวลาผ่อนปรน (Grace Period) ด้านทศท.กับกสท.ให้มีการชดเชยไม่ว่าจะเป็นยกหนี้ให้รัฐหรือตีมูลค่าการลงทุนในอดีต เพื่อการแข่งขันเสรีและเป็น ธรรม คาดไตรมาสแรกปี 2546 ทุกอย่างเรียบร้อย ด้านดีแทคส่งสัญญาณ สนับสนุนแนวทางไอซีที

น.พ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รมว. กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวถึงกรอบการแปรสัญญาตามแนวทางของกระทรวงไอซีทีว่าแนวทางการแปรสัญญาของไอซีที ผู้ประกอบการจะยังคงจ่ายส่วนแบ่งรายได้ตามเดิมต่อไป โดยเปลี่ยนรูปแบบมาเป็นการจ่ายภาษีสรรพสามิตแทน ซึ่งเป็นแนวทางที่เหมาะสมที่สุด เนื่องจาก 1.รูปแบบภาษีสรรพสามิต ที่ใช้ โครงสร้างการเรียกเก็บจะเหมือนกับภาษีสุรา หรือ บุหรี่ ซึ่งสามารถนำมาใช้กำหนดอัตราภาษีโทรคมนาคมในแต่ละประเภทบริการได้

2.สามารถอธิบายได้ชัดเจนว่ารัฐไม่เสียประโยชน์ เพราะส่วนแบ่งรายได้เดิมที่รัฐได้รับก็ยังได้รับเหมือนเดิมเพียงแต่เปลี่ยนรูปเป็นภาษีสรรพสามิตแทน ภายใต้การดูแลและจัดเก็บของกระทรวงการคลัง ส่วนทรัพย์สินโครงข่ายโทรคมนาคมต่างๆ ให้ผู้ประกอบการมีสิทธิใช้ทรัพย์สินดังกล่าวจนหมดอายุสัญญา โดยอาจมอบหมายให้อยู่ภายใต้การดูแลของหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง เช่น กระทรวงการคลัง กระทรวงไอซีทีหรือกรมไปรษณีย์โทรเลข ซึ่งจะต้องมีการกำหนดให้ชัดเจนภายหลัง

3.รูปแบบภาษีสรรพสามิต จะทำให้ผู้ประกอบการแข่งขันกันด้วยความเป็นธรรม โดยที่รัฐวิสาหกิจอย่างบริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น หรือการสื่อสารแห่งประเทศไทย(กสท.) ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาต้องลงทุนด้านโครงข่ายจำนวนมากเพื่อรองรับการเชื่อมต่อกับผู้ประกอบการ รัฐบาลก็มีความเห็นว่าจะต้องมีการชดเชยให้ อาจมีหลายรูปแบบ โดยที่ยังไม่ได้มีการสรุปไม่ว่าจะเป็นการโอนหนี้สิน หรือการชดเชยเป็นมูลค่าทรัพย์สิน เพื่อต้องการให้เกิดการแข่งขันที่เป็นธรรม ซึ่งผู้ประกอบการทุกรายจะต้องจ่ายภาษีสรรพสามิตเหมือนกันหมด

เพียงแต่อาจมีเงื่อนไขเพื่อให้เป็นธรรมกับผู้ประกอบการรายใหม่ หรือผู้ประกอบการรายเก่าแต่ให้บริการประเภทใหม่ โดยกระทรวงการคลังอาจกำหนดระยะเวลาที่แน่นอน หรือจำนวนผู้ใช้บริการเพื่อยกเว้นการเสียภาษีสรรพสามิต (Grace Period) เพื่อทำให้ผู้ประกอบการรายใหม่สามารถแข่งขันได้ เช่น อาจเป็นระยะเวลากี่ปี หรือกำหนดเป็นจำนวนฐานลูกค้า ถึงจำนวนเท่าไหร่ จึงจะต้องเสียภาษีสรรพสามิต

"เราสามารถกำหนดให้อัตราภาษีสรรพสามิตมีผลบังคับใช้เมื่อไหร่ก็ได้ เพื่อให้หน่วยงานอย่างทศท.มีเวลาปรับโครงสร้างเพื่อรับการแข่งขัน"

กรณีทศท.ในการให้บริการโทรศัพท์พื้นฐานก็อาจไม่จำเป็นต้องมี Grace Period เพราะอยู่ในธุรกิจนี้มานานมีฐานลูกค้าจำนวนมาก แต่ไทยโมบายที่ให้บริการโทรศัพท์มือถือ1900 เมกะเฮิรตซ์ ก็อาจต้องมี Grace Period ช่วงแรก

4.การจัดเก็บในรูปภาษีสรรพสามิต มีแนวทางที่จะให้เกิดประโยชน์กับประชาชนสูงสุด ด้วยการจัดสรรงบประมาณจำนวนหนึ่งให้คณะกรรมการโทรคมนาคมแห่งชาติหรือกทช.ในการพัฒนาบริการโทรคมนาคมสาธารณะในพื้นที่ห่างไกล เพื่อให้บริการทั่วถึง ซึ่งเมื่อแข่งขันเสรีแล้ว ประชาชนจะได้รับบริการด้วยอัตราค่าบริการที่ถูกลง

"จากตัวเลขส่วนแบ่งรายได้ที่เอกชนจ่ายให้รัฐในปี 2544 ประมาณเกือบ 2.5 หมื่นล้านบาท หากไม่รวมสัญญาอื่นที่แปรสัญญาไปแล้ว หากเปลี่ยนเป็นจัดเก็บในรูปภาษีสรรพสามิต ก็จะเก็บได้ไม่น้อยกว่า 2 หมื่นล้านบาท"

กรอบการแปรสัญญาดังกล่าวเกิดขึ้นจากการจัดลำดับความสำคัญในการแปรสัญญา โดยคำนึงถึงรัฐและประชาชนทั่วไปมีความสำคัญลำดับแรก รองลงไปคือผู้ใช้บริการระบบโทรคมนาคมไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์พื้นฐานหรือโทรศัพท์มือถือ ลำดับที่3 คือหน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจที่เป็นเจ้าของสัญญาร่วมการงานหรือเป็นเจ้าของสิทธิสัมปทานและลำดับที่4 คือผู้ประกอบการเอกชนคู่สัญญา

สำหรับอัตราภาษีของบริการโทรคมนาคมแต่ละประเภทนั้น ให้เป็นหน้าที่ของ กระทรวงการคลังในการกำหนดอัตราต่างๆซึ่งคาดว่าน่าจะแล้วเสร็จภายในไตรมาสแรกของปี 2546 ซึ่งอัตราภาษีของแต่ละประเภทบริการจะแตกต่างกัน ส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการสนับสนุนหรือผลักดันในเรื่องอะไร

อย่างเช่นอินเทอร์เน็ต มีความเป็นไปได้ที่จะเสียภาษีในอัตราที่ต่ำมากหรืออาจไม่เสียเลยอย่าง 0หรือ 1% เพราะรัฐบาลต้องการให้มีการใช้อินเทอร์เน็ตให้แพร่หลายมากขึ้น หรือโทรศัพท์พื้นฐาน ถ้าคิดว่าเป็นกลไกสำคัญในการแก้ปัญหา Digital Device ก็อาจให้มีอัตราภาษีที่ต่ำรองลงมา ส่วนโทรศัพท์มือถือถึงแม้จะมีการส่งเสริมแต่ก็น่าจะสูงกว่าโทรศัพท์พื้นฐาน

เขายกตัวอย่างการจัดเก็บภาษีสรรพสามิต ใน 2 บริการหลักคือโทรศัพท์มือถือและโทรศัพท์ พื้นฐาน อย่างกรณีโทรศัพท์มือถือเดิมถ้าผู้ประกอบการจ่ายส่วนแบ่งรายได้ 25% หมายถึงรัฐ คลังหรือทศท.กสท.ต้องได้รับรวมกันไม่ต่ำ กว่า 25% เท่าเดิม แต่หากคลังกำหนดกำหนดภาษีสรรพสามิต 20% หมายถึงผู้ประกอบการรายนั้นจะจ่ายภาษีสรรพสามิตให้คลัง 20% ส่วนต่างที่เหลือ 5% ให้ผู้ประกอบการเจรจา กับหน่วยงานเจ้าของสัมปทานอย่างทศท.หรือกสท.เกี่ยวกับการจ่ายในส่วนนี้ซึ่งอาจเปลี่ยนเป็นรูปการเชื่อมโยงโครงข่ายหรืออินเตอร์คอนเน็กชั่นชาร์จแทน ส่วนผู้ประกอบการที่จ่ายส่วนแบ่งรายได้ 20% แต่เสียค่าแอ็คเซ็สชาร์จ 200 บาทต่อเลขหมายต่อเดือน ก็เท่ากับ 20% เป็นภาษีสรรพสามิตทั้งหมดที่เหลืออีก 200 บาทก็เจรจากับเจ้าของสัมปทานในรูปอินเตอร์คอนเน็กชั่นชาร์จเหมือนกัน

กรณีโทรศัพท์พื้นฐานที่มีตัวเลขส่วนแบ่งรายได้ที่แตกต่างกันมาก โดยเฉพาะทีทีแอนด์ที จ่ายสูงสุด 43% หากกำหนดให้เสียภาษีสรรพ-สามิตในอัตราสูงสุด ย่อมส่งผลกระทบกับทศท. และทีเอ ดังนั้นต้องกำหนดอัตราที่ยอมรับได้ ซึ่งส่วนต่างที่เกิดขึ้นระหว่าอัตราภาษีสรรพสามิตใหม่กับส่วนแบ่งรายได้เดิม ให้ทศท.ไปเจรจากับทีทีแอนด์ทีในเรื่องทรัพย์สิน อินเตอร์คอนเน็กชั่นชาร์จ หรือจะพิจารณาว่าจะให้ผลตอบแทน ในรูปแบบอื่นใดแทน

"หลังปีใหม่ ขอให้คู่สัญญาทั้ง 2 ฝ่ายพิจารณาในรายละเอียด และหลังจากกระทรวงการคลังกำหนดอัตราภาษีสรรพสามิตที่ชัดเจน ก็จะนำไปสู่การกำหนดอัตราด้านอื่นๆไม่ว่าจะเป็นเรื่องอินเตอร์คอนเน็กชั่นชาร์จ หรือเรื่องบริการสาธารณะ (Universal Service Obligation-USO) โดยที่กระทรวงไอซีทีจะมอบให้กรมไปรษณีย์โทรเลขทำหน้าที่เป็นกทช.เงากำหนดกติกาในเรื่องเหล่านี้"

เขากล่าวว่าประเด็นการชดเชยให้ทศท.กับกสท.กรณีที่จะไม่ได้รับส่วนแบ่งรายได้จากผู้ประกอบการเอกชนนั้น ไม่ใช่เป็นการชดเชยในรูปเปอร์เซ็นต์ แต่อาจเป็นครั้งใหญ่ครั้งเดียว เช่น อาจเป็นการยกหนี้สินที่กระทรวงการคลังค้ำประกันให้ มาเป็นหนี้สินของรัฐ โดยที่ทศท.มีหนี้ สินประมาณ 2.3 หมื่นล้านบาท กสท.มีหนี้สินประมาณ 8 พันล้านบาทหรือรัฐอาจตีมูลค่าการลงทุนที่ผ่านมาและชดเชยให้เป็นก้อนใหญ่แต่อาจไม่ใช่ในรูปเงินสดก้อนเดียว

นอกจากนี้ทศท.และกสท.ก็จะยังได้รับการชดเชยในเรื่องการให้บริการโทรคมนาคมสาธารณะในพื้นที่ห่างไกล ที่ไม่มีความคุ้มค่าในการลงทุนหรือ USO จากกระทรวงการคลัง ไอซีที และกทช.ด้วย โดยที่กระทรวงการคลังจะดูแลเรื่องกฎหมาย และอัตราภาษีสรรพสามิต ที่จำเป็นต้องนำเข้าครม.ส่วนกรอบแปรสัญญาของกระทรวงไอซีทีสามารถเดินหน้าได้เลย ซึ่งกระทรวงไอซีทีก็จะดูแลเรื่องอินเตอร์คอนเน็ก-ชั่นชาร์จด้วย

ส่วนการกระจายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ฯของทศท.นั้น คาดว่าไม่ทันภายในไตรมาสแรกของปี 2546 เนื่องจากต้องรอความชัดเจนในเรื่อง อัตราภาษีสรรพสามิตที่กระทรวงการคลังเป็นผู้กำหนด ส่วนต่างจากการจ่ายวิธีใหม่กับแบบเดิมจะจ่ายในรูปแบบไหน การคิดเรื่องอินเตอร์คอนเน็กชั่นชาร์จต่างๆ ซึ่งหุ้นทศท.เข้าตลาดหลักทรัพย์ฯเมื่อไหร่นั้น ไม่ใช่ประเด็นสำคัญ มากกว่าความพร้อมและแผนธุรกิจที่ชัดเจนซึ่งนักลงทุนจะให้ความสนใจ

"กรอบแปรสัญญาของไอซีที ไม่มีผลกระทบกับค่าบริการ เพราะผู้ประกอบการเอกชน ไม่ได้จ่ายเพิ่มมากขึ้นเลย และเอกชนก็ต้องแปรสัญญาทุกรายเพราะไม่เช่นนั้นจะต้องจ่าย 2 ต่อคือภาษีสรรพสามิตกับส่วนแบ่งรายได้" ดีแทคขานรับแนวทางหมอเลี้ยบ

นายพิทยาพล จันทนะสาโร ผู้ช่วยประธาน เจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมู-นิเคชั่นหรือ ดีแทค ให้ความเห็นกรอบแปรสัญญาของกระทรวงไอซีทีโดยแบ่งเป็นประเด็นต่างๆ ดังนี้ 1.ส่วนแบ่งรายได้ จะใช้หลักการแปลงเป็นภาษีสรรพสามิต ซึ่งทั้งรัฐและเอกชนจะจ่ายในอัตราเดียวกัน ดีแทคเห็นว่าเป็นความคืบหน้าที่ดี

2.ค่าเชื่อมโยงโครงข่ายดีแทคสนับสนุน รมว.กระทรวงไอซีที ที่ให้มีการใช้ระบบการคิดค่าเชื่อมโยงโครงข่าย(Interconnection Charge) ผนวกกับการเก็บภาษีสรรพสามิต แทนการเก็บค่าเชื่อมโยงเดือนละ 200 บาทต่อหมายเลข ที่ผู้ประกอบการบางรายต้องจ่ายอยู่ในปัจจุบัน ซึ่ง บางรายก็มีการจัดเก็บในรูปแบบอื่นๆที่ไม่เท่ากัน

นายพิทยาพล ย้ำว่าการใช้ระบบส่วนแบ่งรายได้โดยแปลงเป็นภาษีสรรพสามิต จำเป็นต้องใช้ควบคู่ไปกับการคิดค่าเชื่อมโยงโครงข่ายจึงจะเกิดความเท่าเทียมกันในการแข่งขัน 3.ผู้ประกอบการรายใหม่จะให้มีช่วงผ่อนปรน (Grace Period) โดยกระทรวงการคลังจะเป็นหน่วยงานที่พิจารณากำหนดกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

ดีแทคสนับสนุนแนวคิดนี้ เพราะเป็นการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการรายใหม่แข็งแรง สามารถแข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพแต่ทั้งนี้ต้องติดตามรายละเอียดเรื่องการผ่อนปรนในเรื่องระยะเวลา หรือ จำนวนลูกข่ายมาพิจารณาประกอบด้วย

4.การใช้ทรัพย์สิน ดีแทคเห็นด้วยในการให้เอกชนมีสิทธิ์ใช้ทรัพย์สินที่เอกชนได้ลงทุนไปแล้วต่อไปได้จนหมดอายุสัมปทานส่วนการดูแลให้ขึ้นอยู่กับหน่วยงานกลาง

ท้ายสุดนายพิทยาพล สรุปว่า ถ้าได้มีการดำเนินการตามรายละเอียดข้างต้นเชื่อว่าผู้ประกอบการทุกรายคงจะเห็นด้วยกับการแปรสัญญา และย้ำว่าแนวทางของรมว.กระทรวงไอซีทีนับเป็นสัญญาณที่ดีว่าในอนาคตผู้ประกอบการจะได้ดำเนินธุรกิจอยู่บนพื้นฐานของความเสมอภาคและยุติธรรม

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us