Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ เมษายน 2539








 
นิตยสารผู้จัดการ เมษายน 2539
"สุพจน์ ตันติจิรสกุล 30 ปี กับบทนักแสวงหาโอกาสและจังหวะ"             
โดย สมสมัย ศักดาวัฒนานนท์
 


   
search resources

สุพจน์ ตันติจิรสกุล
Commercial and business




"ย่านสำเพ็งเปรียบเสมือนเวทีแรก ที่ทำให้ผมได้เรียนรู้ประสบการณ์และตรงนั้นได้กลายเป็นจุดเริ่มที่ส่งผลมาถึงปัจจุบัน" สุพจน์ ตันติจิรสกุล ย้อนอดีตที่ผ่านพ้นมา 30 ปีให้ "ผู้จัดการ" ฟัง

สุพจน์พื้นเพดั้งเดิมเป็นคนจังหวัดนครปฐม หลังจบการศึกษาระดับมัธยม เขาก็เหมือนกับเด็กหนุ่มทั่วไปที่ต้องการดิ้นรนเข้ามาใช้ชีวิตในเมืองหลวง

ตำนานของนักธุรกิจผู้นี้เปิดฉากขึ้นที่สำเพ็งซึ่งในยุคก่อนถือเป็นย่านธุรกิจที่มความสำคัญและมีอิทธิพลต่อตลาดพอสมควร สุพจน์เข้าไปเป็นลูกจ้างในร้านค้าส่งผ้าเล็ก ๆ แวดล้อมไปด้วยร้านขายผ้าขนาดใหญ่หลังจากเรียนรู้งานได้ 3 ปี เจ้าของร้านเห็นแววก็วางมือมอบหมายให้เขาบริหารแทน

ยุคนั้นสุพจน์รู้ดีว่าโดยศักยภาพของร้านที่เขาดูแลอยู่ไม่สามารถแข่งขันกับร้านใหญ่ในละแวกสำเพ็งได้เลย ในที่สุดเขาก็แก้เกมด้วยการมองหาโอกาสและจังหวะในการสร้างยอดขายจากช่องว่างที่คู่แข่งขันมองข้าม

ขณะที่ร้านขายผ้าส่วนใหญ่พุ่งเป้าไปที่ลูกค้าต่างจังหวัด สุพจน์เริ่มหันมามองลูกค้าในเขตกรุงเทพฯ โดยเจาะกลุ่มลูกค้าย่านประตูน้ำ สะพานควาย บางกระบือ วงเวียนใหญ่ ซึ่งเป็นแหล่งรวมของเสื้อผ้าในยุคนั้น

จนมาถึงยุคไดมารูเฟื่องฟู กลายเป็นแหล่งจับจ่ายเสื้อผ้าแห่งใหม่สุพจน์ไม่รอช้าที่จะเจาะกลุ่มร้านค้าเหล่านั้นมาเป็นลูกค้า เขาเริ่มหาแนวร่วมด้วยการจับมือกับโรงงานผลิตผ้าขนาดเล็ก เพื่อร่วมกันผลิตผ้าที่มีลวดลายแตกต่างจากท้องตลาด โดยมีสัญญาผูกมัดคือผลิตเพื่อจำหน่ายให้กับร้านเขาเท่านั้น

สุพจน์เริ่มใช้ความแตกต่างด้านสินค้ามาเป็นจุดขายและเขาก็ทำได้ ประสบความสำเร็จ โดยการก๊อปปี้รูปนักร้องจากหนังสือ I.S. SONG HIT ซึ่งเป็นหนังสือที่ได้รับความนิยมจากวัยรุ่นสมัยนั้นมาพิมพ์บนลายผ้าสร้างออกมาเป็นคอลเลกชั่นต่อเนื่อง

"ตอนนั้นผมจำได้ว่าผลิตมาเท่าไหร่ก็ไม่พอขาย ทั้งย่านสำเพ็งมีแต่ร้านเราร้านเดียว" ซึ่งร้านขายผ้าที่เป็นจุดเริ่มต้นของสุพจน์ก็ยังคงเปิดกิจการในย่านสำเพ็งจนถึงทุกวันนี้

หลังจากเขาช่วยงานให้กับเถ้าแก่ได้ 3-4 ปีสุพจน์เริ่มรู้สึกอิ่มตัวและเกิดความทะเยอทะยานต้องการจะผลิตสินค้าเข้าห้าง ซึ่งในยุคนั้นคงหนีไม่พ้นห้างไดมารูประจวบเหมาะกับมีนายทุนย่านสำเพ็งเสนอไปรเจกต์มาให้

เขาจึงไม่รีรอหลังจากวนเวียนเรียนรู้วิชาในย่านสำเพ็งนานถึงเกือบ 10 ปี สุพจน์ตัดสินใจลาออกก้าวเข้าสู่สายการผลิต เขาใช้เวลา 3 ปีกับบริษัทแห่งใหม่ พอเก็บสะสมเงินได้จำนวนหนึ่ง ซึ่งพอที่จะซื้อจักรได้จึงตัดสินใจลาออกมาเป็นเถ้าแก่เอง โดยในยคุแรกดำเนินธุรกิจกันแบบอุตสาหกรรมครองครัวมีสุรัตน์ และสุทัศน์น้องชายมาช่วยงาน

"ตอนนั้นเราทำเป็นการ์เม้นต์ คือเย็บแล้วนำไปส่งตามบางลำภู รังนกใต้ พอขึ้นปีที่ 2 ผมก็เริ่มผลิตแบรนด์เป็นของตัวเอง"

"คาร์เพนเตอร์" จึงถือกำเนิดขึ้นในปี 2523 นับเป็นสินค้าแบรนด์แรกของตระกูลตันติจิรสกุล ภายใต้การบริหารงานของห้างหุ้นส่วนจำกัด ตันติภัณฑ์ โดยการยึดทำเลเคาน์เตอร์ห้างเป็นช่องทางการจำหน่ายหลัก

ห้างหุ้นส่วนจำกัด ตันติภัณฑ์ เติบโตขยายงานอย่างต่อเนื่องจากคาร์เพนเตอร์มาเป็น "ดูสปอร์ต" ซึ่งสุพจน์ลงทุนจ้างเอเยนซีทำโฆษณาจนยอดขายขยับสูงขึ้น สุพจน์ไม่ลังเลที่จะเพิ่มแบรนด์ "สเนล" เข้าสู่ตลาด แต่เมื่อสเนลเข้าสู่ตลาดยอดขายของดูสปอร์ตก็เริ่มเซ ทำให้เขาตัดสินใจเลิกผลิตดูสปอร์ต หันมาทุ่มมันสมองให้กับสเนล

ในขณะที่สเนลกำลังติดตลาด สุพนจ์เปิดตัวเสื้อผ้าแบรนด์ "แกลลอป" แต่พอทุ่มเทให้ความสำคัญกับการทำตลาดให้กับแกลลอปยอดขายของสเนลก็ตกลง ทำให้ในที่สุดเขาต้องตัดสินใจถอดสเนลออกหลังจากอยู่ในตลาดได้เพียง 2 ปี

ด้วยเหตุผลคือบุคลากรรองรับไม่ทัน โดยขณะนั้นสุรัตน์ไปศึกษาต่อด้านการตลาดที่อเมริกา

ยุคนั้นสุพจน์ได้รับการขนานนามว่า "เขาเป็นนักปั้น แต่พอปั้นตัวใหม่ตัวเก่าก็ตาย"

มาถึงยุคแกลลอป สุพจน์เริ่มรู้ปัญหาที่จะเป็นอุปสรรคในการขยายงาน เขาเริ่มทุ่มเทในเรื่องการสร้างคนเพื่อรองรับแผนการขยายธุรกิจในอนาคต

เขาเริ่มเดินทางดูตลาดเสื้อผ้าในต่างประเทศ โดยเฉพาะในตลาดฮ่องกงซึ่งสุพจน์ยอมรับว่า ตลาดฮ่องกงคือแม่แบบของพีน่ากรุ๊ปในการขยายธุรกิจจากพีน่าเฮ้าส์ จนถึงเท็น แอนด์ โค

การมีโอกาสเดินทางไปต่างประเทศบ่อยขึ้น ทำให้สุพจน์มองเห็นโอกาสและจังหวะในการสร้างความแปลกใหม่ให้กับตลาดเมืองไทย โดยเชื่อว่าการเปิดในรูปแบบชอปจะกลายเป็นแนวโน้มใหม่ ประมาณปี 2527 สุพจน์จึงตัดสินใจเรียกตัวสุรัตน์ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในต่างประเทศกลับมาช่วยวางแผนงานนานถึง 1 ปีทั้งที่ขณะนั้น สุรัตน์ ยังเรียนไม่จบ

และก่อนที่โปรเจ็กต์นี้จะเปิดตัว สุพจน์ประกาศยกเลิกการผลิตคาร์เพนเตอร์ เหตุผลก็เพราะเนื่องจากขณะนั้นบริษัทยังมีขนาดเล็กเกินไปที่จะดูแลสินค้าได้ทีเดียวหลายตัว

ปี 2528 เป็นปีที่สุพจน์เปิดมิติใหม่ให้กับวงการเสื้อผ้าไทยด้วยการเปิดชอปภายใต้ชื่อพีน่าเฮาส์ 4-5 แห่งในรูปแบบของการเซ้ง และเช่าพื้นที่โดยเขาเชื่อมั่นว่าในอนาคตอันใกล้การใช้ช่องทางการจำหน่ายในรูปแบบชอปจะเป็นช่องทางที่เอื้อต่อธุรกิจเสื้อผ้า

ความสำเร็จของพีน่าเฮาส์ ทำให้เขามั่นใจว่าแนวคิดของเขาถูกต้อง

ตลอดระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมาเขากลายเป็นนักสะสมทำเลการขายตัวยง และจุดนี้เองทำให้การขยายเครือข่ายสาขาสินค้าในเครือของเขากระทำได้อย่างรวดเร็วและมีต้นทุนต่ำกว่าคู่แข่งในตลาด

ในช่วงที่พีน่าเริ่มติดตลาด สุพจน์เริ่มชิมลางธุรกิจอาหารโดยจัดตั้งบริษัท พีน่าฟู้ดคอร์ท จำกัดเพื่อรุกสู่ธุรกิจอาหารประเภทฟาสต์ฟูดภายใต้ชื่อพีน่าคาราด้า แต่ในที่สุดก็ต้องหยุดดำเนินกิจการ เหตุผลก็คือขาดบุคลากรที่มีความชำนาญ

วันนี้อาณาจักรของพีน่ากรุ๊ปภายใต้การกำหนดทิศทางของสุพจน์ตันติจิรสกุล ดูออกจะมีความชัดเจนคือต้องการที่จะเติบโตในธุรกิจเสื้อผ้าเท่านั้น

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us