ผมเคยเขียนแนวความคิดหนึ่ง ที่สำคัญไว้เมื่อต้นปี 2543
"สื่ออินเทอร์เน็ต ได้เปิดทางอย่างกว้างขวางที่สุดสำหรับนักข่าว อย่างไม่เคยมีมาก่อน
เพราะประสบการณ์ของนักข่าว และบรรณาธิการก็คือ ประสบการณ์ ที่มีอยู่ในสังคม
อย่างสำคัญในการจัดการกับสาระในอินเทอร์เน็ต ที่ดูเหมือนไม่มีประสบการณ์จากอาชีพอื่น
ที่สามารถนำมาใช้ได้อย่างใกล้เคียงกับสื่ออินเทอร์เน็ต ที่ว่า ด้วยการจัดการกับสาระ
ไม่เพียงข่าวสารในอินเทอร์เน็ตเท่านั้น หากรวมไปถึง Content ลักษณะอื่นในอินเทอร์เน็ต
ก็ล้วนต้องใช้ประสบการณ์ของการเป็นนักข่าว และบรรณาธิการทั้งสิ้น" (ส่วนหนึ่ง
หมายเหตุธุรกิจ ฉบับเดือนพฤษภาคม 2543)
ข้อความข้างต้นยังถูกอ้างในบทความของสมาคมนักข่าวแห่งประเทศไทยด้วย จะด้วยเป็นแนวคิดให้
"ความหวัง" ต่อวิชาชีพนักข่าวมากทีเดียวหรือไม่ก็ตามที
อย่างไรก็ตาม ผมยังเชื่อมั่นในทฤษฎีนี้ของผมอย่างเต็มเปี่ยม เนื่องจากได้พัฒนาจากแนวคิดนี้เป็นทฤษฎีขึ้นมาระดับหนึ่งแล้ว
ข้อเขียนจากนี้จะมีหลายตอน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของหนังสือเล่มใหม่ของผม ที่ว่า
ด้วยความสัมพันธ์อย่างแยกไม่ออกระหว่า ง Know how ในการจัดการ homepage กับสื่อสิ่งพิมพ์
ความเข้าใจเรื่องนี้ผมถือเป็นเรื่องสำคัญที่สุดในการทำให้ homepage ทั้งหมดในโลกไปสู่เป้าหมาย ที่ต้องการ
Screen & Page
จากหน้ากระดาษหนังสือพิมพ์ขนาดบรอดชีท แทบลอยด์ มาจนถึงขนาดนิตยสาร ล้วนเป็นสี่เหลี่ยม ที่มีขอบเขต ที่แน่นอน
ในการบรรจุข้อมูลข่าวสารไว้ในพื้นที่อันแน่นอน และจำกัดนี้ เช่นเดียวกับหน้าจอคอมพิวเตอร์ ที่มีขนาด
และลักษณะไม่แตกต่างกันมากนัก ซึ่งจะว่า ไปแล้ว การพัฒนาหน้าจอคอมพิวเตอร์นับเป็นการพัฒนาต่อเนื่อง
ให้สอดคล้องกับพฤติกรรมมนุษย์ในการอ่านข้อมูลข่าวสารนั่นเอง
ความสำคัญในการจัดการข้อมูลข่าวสาร ที่น่าสนใจในพื้นที่สี่เหลี่ยมอันจำกัดนี้
ไม่ว่า หนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือจอคอมพิวเตอร์ ล้วนมาจากพื้นฐานของทักษะ ที่สำคัญ
มาจากประสบการณ์ในการบริหารข่าวสารของบรรณาธิการจากสื่อสิ่งพิมพ์นั่นเอง
ทั้งนี้ทุกๆ หน้าจอคอมพิวเตอร์ไม่ว่า คุณจะระบุว่า เป็นกิจกรรมทางอินเทอร์เน็ต ที่มิใช่ขายข้อมูลข่าวสารก็ตาม
แต่แท้ ที่จริง พวกคุณกำลังขายข้อมูลข่าวสารเป็นเบื้องต้น และเป็นพื้นฐานสำคัญ
ไปสู่การขายสินค้าอื่นๆ ที่คุณตั้งใจไว้
นี่คือ Key word สำคัญในการทำความเข้าใจในเรื่องนี้ให้ลึกซึ้ง และแจ่มชัดมากขึ้น
ทักษะ และความเข้าใจในการจัดพื้นที่ให้มีน่าความสนใจหรือมีบุคลิกเฉพาะของตนเอง
ล้วนมาจากทักษะการจัดหน้าของหนังสือพิมพ์ และนิตยสารทั้งสิ้น (จะขอกล่าวถึงในรายละเอียดในตอนต่อๆ
ไป)
โดยเชื่อมโยงกับงานบรรณาธิการที่จัดวางเนื้อหา ที่สอดคล้องกับความสนใจของกลุ่มผู้อ่าน ที่แตกต่างกัน
ตามเป้าหมายของแต่ละ homepage ที่สำคัญ ที่มี "ความคิดสำคัญ" ที่ต้องใช้ทักษะของสื่อสิ่งพิมพ์ก็คือ
จะต้องชักนำไปสู่สถานการณ์ปัจจุบัน ที่อยู่ในความสนใจนั้น ๆ โดยมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
Copy & Hit
กฎอีกข้อหนึ่งของการเข้าถึงพื้นที่สี่เหลี่ยมเหล่านั้น เพื่อข้อมูลข่าวสาร ที่ต้องการ
ก็คือ ความใหม่ของข้อมูล
ทุกครั้ง ที่เราซื้อหนังสือพิมพ์ หรือนิตยสารฉบับใหม่ก็จะได้รับข้อมูลที่ใหม่
และสดจากเดิม เช่นเดียวกับการเปิด homepage ทุกครั้ง จะต้องมีข้อมูลใหม่อยู่เสมอๆ
หลักการข้อนี้ยังไม่เป็นที่เข้าใจกันโดยจริงจัง เมื่อหนังสือพิมพ์รายวันมี
Internet Version ก็จะมีข้อมูลใหม่ทุกวันเช่นเดียวกับหนังสือพิมพ์ นิตยสารรายเดือนเมื่อมี
Internet Version ก็จะ Update ข้อมูลใหม่ทุกๆ เดือน
นี่เป็นความเข้าใจ ที่ผิดอย่างสำคัญ ถือว่า ไม่เข้าใจ Internet Philosophyเลยทีเดียว
การสร้างความสด และใหม่ของข้อมูลในอินเทอร์เน็ตเป็นทักษะพื้นฐาน ที่สำคัญ
ของสื่อสิ่งพิมพ์เดิม ที่ต้องพัฒนาความถี่เร็วขึ้นตามสถานการณ์ ตามความสนใจ
เรื่องนี้ถือเป็นเรื่องใหญ่อีกเรื่องหนึ่งจะอรรถาธิบายในตอนต่อๆ ไปอย่างละเอียด
Click &Turn
การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารจากหน้าหนึ่งไปอีกหน้าหนึ่ง ของสื่อสิ่งพิมพ์กับสื่ออินเททอร์เน็ตมีลักษณะคล้ายกันนั้น
ไม่มีความหมายเเพียงการคลิก หรือพลิกเท่านั้น หากหมายถึงปรัชญาสำคัญ จนถึงทักษะสำคัญ ที่มาจากพื้นฐานของสื่อสิ่งพิมพ์
ข้อมูลข่าวสารทั้งสองสื่อจะเข้าถึงได้เกิดจากความ "ยินยอมพร้อมใจ" ของผู้อ่านเป็นหลักการเบื้องต้นเนื่องจากเป็นข้อมูลที่เน้นสาระ
ต้องการความสนใจมากพอควร ผู้อ่านจะต้องเลือก ที่จะเข้าถึงข้อมูลนั้น ด้วยความสมัครใจเท่านั้น
มันแตกต่างกับงานโฆษณาตามแผ่นป้ายข้างถนน รวมไปจนถึงข่าวสารบางชนิด ที่ถูกกระตุ้นโดยไม่ตั้งใจจากวิทยุหรือทีวี
ที่เปิดทิ้งไว้
จากพื้นฐานการเขียน และการอ่าน ซึ่งถือเป็นวัฒนธรรมขั้นสูงของการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร
ทั้งนี้ผู้อ่านหรือผู้เข้าถึงข้อมูลจะต้องสมัครใจ
อีกมิติหนึ่งทักษะการสร้างความต่อเนื่อง ความสนใจ การเชื่อมโยงข้อมูลต่างๆ
ซึ่งเป็นแนวคิดสำคัญของการเชื่อมโยง ที่เรียกว่า Hypertext นั้น จำเป็นต้องใช้ทักษะในการจัดข้อมูลข่าวสาร ที่พัฒนาขึ้นในระดับสูงต่อไป
ผมเคยเสนอไว้ครั้งหนึ่งว่า สื่ออินเทอร์เน็ตมีลักษณะสำคัญ 2 ประการที่จะต้องทำความเข้าใจ
- สื่อผสม (Multimedia) หมายความว่า ในหน้าจอคอมพิวเตอร์นั้น สามารถบรรจุข้อความ
(text) เสียง (sound) และภาพเคลื่อนไหว (vedio)ได้ ซึ่งเป็นการพัฒนาครั้งสำคัญของสื่อ
แต่อย่างไรก็ตาม พื้นฐาน ที่สำคัญมากที่สุดก็คือ การเข้าถึงข้อมูลระดับพื้นฐาน
และภาพรวมได้จากการอ่าน การอ่านเป็นวิธีสำคัญในการเชื่อมโยงสื่อผสมเหล่านั้น เข้าด้วยกันอย่างกลมกลืน
นั่นหมายความว่า การอ่านจากสื่อสิ่งพิมพ์เป็นพื้นฐานสำคัญเสมอ
- สื่อสาร 2 ทาง (Interactive) ความเป็นพิเศษของอินเทอร์เน็ต ก็คือ ผู้อ่านสามารถตอบโต้ได้ทันทีกับผู้เขียน
ซึ่งรวมทั้งการสนทนาด้วย อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เป็นพื้นฐาน และเชื่อมโยงทั้งหมดเข้าสู่กระบวนการนั้น
อย่างกลมกลืน ก็คือ การเขียน และการอ่านนั่นเอง
วันนี้อินเทอร์เน็ตไม่มีข้อจำกัดในเรื่องเทคโนโลยีอีกแล้ว แต่เทคโนโลยีจะสามารถตอบสนองสาระของอินเทอร์เน็ตอย่างมีประสิทธิภาพ
ล้วนมาจากความเข้าใจ และพัฒนาความรู้เดิมจากการบริหารข้อมูลข่าวสารในสื่อสิ่งพิมพ์